xs
xsm
sm
md
lg

ก.อุตฯ ระดมสมอง สอจ.ทั่วประเทศ จัดทำแผน-แนวทางการตรวจติดตามประเมินผล ขับเคลื่อน Industry 4.0

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การตรวจราชการและติดตามประเมินผล เพื่อขับเคลื่อน Industry 4.0” (เมื่อ 14 ธ.ค.59) ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 300 คน ว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ Industry 4.0 และสอดรับกับแนวทางการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจึงต้องปรับบทบาทเพื่อรองรับกับแผนการพัฒนาดังกล่าว โดยเฉพาะสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ซึ่งถือเป็นผู้แทนกระทรวงฯที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรมให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย
โดยภารกิจหลักของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การปรับบทบาทการกำกับดูแลสถานประกอบกิจการโรงงานและเหมืองแร่จากผู้กำกับดูแลตามกฎหมาย”Regulator” เป็นผู้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการประกอบกิจการ”Promoter&Facilitator” โดยเฉพาะโครงสร้างของ สอจ.ทุกจังหวัด ที่ให้มีหน่วยงานพี่เลี้ยงด้านวิชาการต่างๆในพื้นที่บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง รวมถึงปรับบทบาทภารกิจเพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบาย Industry 4.0 ภายใต้โมเดล Thailand 4.0 ของรัฐบาล ทั้งด้านการกำกับดูแลโรงงานและเหมืองแร่ ด้วยการปรับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ให้เอื้อต่อการลงทุน/การประกอบกิจการ การให้ Third Party มาช่วยปฏิบัติงาน การจัดทำแผนกำกับดูแลโรงงานและเหมืองแร่เชิงยุทธศาสตร์/บริหารจัดการเรื่องร้องเรียน และเหตุฉุกเฉินโดยฉับพลัน/สร้างเครือข่ายในพื้นที่/สร้างการรับรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน การดำเนินการตามคู่มือประชาชน (พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ) โดยเคร่งครัด รวมทั้งการปรับฐานข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม “เป็นฐานข้อมูลเดียว” (โดยใช้ฐานของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม) และเตรียมพร้อมรับเหตุภาวะฉุกเฉิน เช่น IUU ภัยแล้ง ภัยหนาว น้ำท่วม ฯลฯ
นอกจากนี้ ในส่วนของการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรม SMEs และ OTOP : Promoter สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรมทุกระดับ กระทรวงอุตสาหกรรมได้แต่งตั้งคณะกรรมการชี้นำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการเพิ่มผลิตภาพ นวัตกรรม และมาตรฐาน(Spring Board) เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ส่งเสริมผลิตภาพ และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปรับโครงสร้าง (Institutional Role) เพื่อกำหนดแนวทางปรับโครงสร้างสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรมในภาพรวม ด้านการบูรณาการ (Integration Role) มีบทบาทในการประสานงานตลอดจนสร้างช่องทาง (Platform) ในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนามาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรมในเชิงประชารัฐ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถ (Capacity Building Role) เป็นการกำหนดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อส่งเสริมศักยภาพ SMEs ผ่านโครงการ SMEs SPRING UP ส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve/ New S-Curve) เข้าสู่เขตเศรษฐกิจ Cluster/Super ส่งเสริม SMEs Spring Up/Start Up และหมู่บ้านอุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (OTOP Culture Village)/มผช.) รวมทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน / ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor)
อีกทั้ง การบริหารจัดการองค์กรเพื่อรองรับการปฏิบัติงานยุค Industry 4.0 สู่ “Smart Office” ที่มุ่งหวังปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับ Industry 4.0 และให้ข้าราชการมีความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจยุคดิจิตัล โดยมีแผนพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมและโปร่งใส
สิ่งสำคัญที่สุดคือ สอจ.ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยเน้นการทำงานเชิงรุก เพื่อให้สามารถทำงานทดแทนช่วยเหลือกันได้ในระดับหนึ่ง นำระบบพี่สอนน้องมาพัฒนาองค์ความรู้ในฝ่ายตนเอง สร้าง KM ในองค์กร การหมั่นใฝ่หาความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง นำรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานและการบริการประชาชนให้มากขึ้น การให้บริการด้วยใจ และปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย การดึงภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งภารกิจดังกล่าว สอจ.ไม่สามารถดำเนินงานได้เพียงหน่วยงานเดียว จำเป็นต้องบูรณาการกับหน่วยงานในภูมิภาคอย่างใกล้ชิด เพื่อความเป็นเอกภาพ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ และเหนือสิ่งอื่นใด คือ การทำให้โรงงานและประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย
กำลังโหลดความคิดเห็น