xs
xsm
sm
md
lg

ตรวจเช็กสุขภาพ เข้ารับการตรวจยีนประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลายคนเปิดรับเทศกาลด้วยปาร์ตี้ งานสังสรรค์ แฮงค์เอาท์กับเพื่อนฝูง และสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ หรือสิงห์นักดื่มและสิงห์รมควันบางคนอาจตั้งเป้าเลิกเหล้าเลิกบุหรี่กันตั้งแต่ต้นปี แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ แต่รู้หรือไม่ว่ามีโรคอีกมากมายที่จะตามมา เช่น มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งกล่องเสี่ยง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้และไส้ตรง มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ความเสี่ยงการเกิดโรคเหล่านี้อาจทำให้คุณตัดสินใจลดและเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ได้ไม่ยาก ลองมาดูกันว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่จะทำร้ายอวัยวะในร่างกายของเราและเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งอย่างไรได้บ้าง



นพ.วิกรม เจนเนติสิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาและเคมีบำบัด คลินิคอายุรกรรมโรคมะเร็งและเคมีบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 1 กล่าวว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งช่องปาก ลำคอ กล่องเสียง และหลอดอาหาร เพราะเป็นอวัยวะที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน หากมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วยจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงได้มากกว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว เพราะแอลกอฮอล์จะเป็นตัวนำสารเคมีในยาสูบให้เข้าสู่เซลล์ในช่องปาก ลำคอ และหลอดอาหารได้มากขึ้นกว่าปกติ ทั้งยังยับยั้งการซ่อมแซม DNA ในเซลล์ที่เกิดความเสียหากเนื่องจากสารเคมีในยาสูบอีกด้วย


มะเร็งตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ตับเกิดความเสียหาย นำไปสู่การอักเสบและเกิดแผลในตับได้ ซึ่งสิ่งนี้เองที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับให้สูงขึ้น การหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นปัจจัยเสี่งที่เราสามารถควบคุมได้ง่ายเพื่อช่วยรักษาสุขภาพตับของเรา


มะเร็งลำไส้และไส้ตรง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงในผู้ชายได้สูงกว่า และหากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี มีประวัติลำไส้แปรปรวน ท้องผูกเป็นเวลานานติดต่อกัน รวมถึงสูบบุหรี่ ความอ้วนและการไม่ออกกำลังกาย เหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้มากขึ้น


สำหรับผู้หญิงแม้จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยต่อสัปดาห์ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายให้เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน BRCA ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงถึง 80%


นอกจากนี้ยังมี มะเร็งปอด ซึ่งการสูบบุหรี่ถือเป็นปัจจัยหลักที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด และยังรวมถึงอายุที่เพิ่มขึ้นและการสัมผัสมลภาวะต่างๆ เช่น แร่ใยหิน ก๊าซเรดอน ควันธูป เป็นต้น หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอดก็อาจมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป เพราะเกิดจากความผิดปกติของยีนที่ถ่ายทอดกันในครอบครัวแม้ไม่สูบบุหรี่ก็ตาม




ยิ่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มากเท่าไร โอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งก็มีสูงเท่านั้น นอกจากความเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมด้วย


“หากคุณเป็นอีก 1 คนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง” สามารถเข้ารับการตรวจยีนเพื่อประเมินความเสี่ยงทางพันธุกรรม หาการกลายพันธุ์ของยีนที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเต้านมได้


ด้วยเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา Next Generation Sequencing ที่สามารถช่วยตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนแบบ Germline mutations หรือ การกลายพันธุ์ของยีนที่ถูกถ่ายทอดโดยตรงจากพ่อแม่สู่ลูก จำนวนสูงสุด 52 ยีน ครอบคลุมมะเร็งมากกว่า 20 ชนิด รวมถึงมะเร็งในอวัยวะเสี่ยงรักศึกหนักปีใหม่ ผลการตรวจยีนจะช่วยให้หาแนวทางป้องกันความเสี่ยงมะเร็งที่ตรงจุดเสี่ยงและทันเวลา


หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หันมาตรวจสุขภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตรงจุดเสี่ยง และวางแนวทางการป้องกันความเสี่ยงมะเร็ง สุขภาพดีตลอดปี…เริ่มได้จากตัวคุณ




กำลังโหลดความคิดเห็น