xs
xsm
sm
md
lg

แพ้คดี-กระทบรายได้ “ช่อง 3” แถลงปัดข้อเสนอ “กสทช.”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

“ช่อง 3” แถลงแจงออกอากาศคู่ขนานไม่ได้ แต่ถ้า กสทช. ยอมก็ต้องห้ามแตะโฆษณา ลั่นหมดสิทธิ์เป็นเพย์ทีวีแน่ เพราะจะแพ้คดี - กระทบรายได้
สรยุทธ สุทัศนะจินดา หนึ่งในผู้ดำเนินรายการของช่อง 3 ระหว่างการทำหน้าที่ในรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา
ยังคงคาราคาซังกันอยู่สำหรับการออกอากาศในระบบอนาล็อกของช่อง 3 ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถจะเผยแพร่ภาพผ่านทางระบบทีวีดาวเทียม/เคเบิลได้แล้ว นับตั้งแต่หลังเที่ยงคืน 1 กันยายน ที่ผ่านมา จากการประกาศของมติบอร์ด กสทช. หากแต่ถึงวันนี้ในปัจจุบัน ทั้งทีวีดาวเทียม - เคเบิลทีวี ก็ยังคงมีการเผยแพร่ของช่อง 3 เหมือนเดิม

โดยที่ผ่านมา กสทช. เองได้มีความพยายามที่จะหาทางออกอากาศให้กับเรื่องนี้ด้วยการเรียกร้องให้ช่อง 3 ออกอากาศแบบคู่ขนานเหมือนกับที่ช่อง 5, ช่อง 7, ช่อง 9, ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส ทำ หรือไม่เช่นนั้นก็ให้ช่อง 3 เองเข้าสู่ระเบียบของการออกอากาศผ่านทีวีดาวเทียม - เคเบิล ในรูปแบบของเพย์ทีวี แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด

ล่าสุด ช่อง 3 เองก็ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การที่ช่อง 3 ไม่สามารถออกอากาศแบบคู่ขนานได้ก็เป็นเพราะว่าช่อง 3 ในระบบอนาล็อกนั้นดำเนินงานโดย บ.บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ในขณะที่ช่อง 3 ในระบบดิจิตอลทั้ง ช่อง 3 แฟมิลี่, ช่อง 3 SD และช่อง 3 HD นั้น ดำเนินงานโดย บ.บีอีซี มัลติมีเดีย เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถนำเอาเนื้อหาไปออกอากาศในระบบคู่ขนานได้

แต่ทั้งนี้ หาก กสทช. เองยอมที่จะให้ช่อง 3 ออกอากาศคู่ขนานจริงๆ เนื้อหาที่ออกอากาศนั้นจะต้องไม่ถูกดัดแปลงใดๆ เพราะไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบต่อเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆ รวมถึงยังมีขั้นตอนต่างๆ ที่ทั้งทาง บ.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ และ บ.บีอีซี มัลติมีเดีย จะต้องไปหารือเพื่อทำความตกลงกับทาง กสทช. ต่อไป

1. ช่อง 3 โดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ไม่ได้เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล เนื่องจากติดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานเดิม ช่อง 3 จึงไม่มีใบอนุญาตช่องรายการในระบบดิจิตอล

2. บริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด ซึ่งประมูลได้ช่องทีวีดิจิตอลมา 3 ช่อง ก็ไม่สามารถจะนำช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนานได้ เนื่องจากผิดกฎกติกาของ กสทช. เอง ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต จะต้องดำเนินการด้วยตนเอง

3. ถ้า กสท. จะอนุญาตให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด นำรายการของช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนาน (Pass Through) โดยที่สัญญาณ เนื้อหารายการและโฆษณาของช่อง 3 จะต้องไม่ถูกดัดแปลง แก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาแก่ช่อง 3 ในเรื่องลิขสิทธิ์รายการ จากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ และยังมีขั้นตอนที่ ทั้ง บีอีซี มัลติมีเดีย และบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ต้องไปดำเนินการระหว่างกันให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องไปหารือทำความตกลงกับ กสท. ในเรื่องการขออนุญาต ค่าประมูล ค่าสัมปทาน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎและเป็นธรรมต่อไป

เช่นเดียวกับการเข้าสู่ระบบเพย์ทีวีที่จะทำให้ช่อง 3 สามารถออกอากาศผ่านทางทีวีดาวเทียม - เคเบิลทีวี ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้น ทางช่อง 3 เองก็ไม่สามารถดำเนินการได้เช่นกัน เพราะช่อง 3 มีเรื่องฟ้องร้องกับทาง กสทช. อยู่ หากช่อง 3 เข้าสู่สภาพการเป็นเพย์ทีวีแล้วย่อมจะทำให้ช่อง 3 นั้นแพ้คดีอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ การออกอากาศในรูปแบบของเพย์ทีวีนั้นยังทำให้ช่อง 3 เองต้องเสียค่าลิขสิทธิ์และค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น รวมถึงยังมีเรื่องของกฎระเบียบต่างๆ ที่จะกระทบในเรื่องของโฆษณาอีกด้วย เพราะฉะนั้นในกรณีนี้จึงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน

1. ช่อง 3 ไปร้องศาลว่า มติ กสท. ในเรื่องห้ามโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลเอาสัญญาณช่อง 3 ไปออกอากาศนั้นเป็นมติที่ไม่ชอบ เรื่องนี้ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าใครถูกใครผิด ถ้าช่อง 3 ไปขออนุญาตเป็นเพย์ทีวีจะส่งผลให้ช่อง 3 แพ้คดีนี้

ก่อนที่ศาลจะตัดสินเรื่องนี้ หาก กสท. ด่วนใช้อำนาจบังคับใช้กฎหมาย ทำให้ช่อง 3 จอดำ ก็ขอให้ทราบว่าเป็นเรื่องที่ กสท. ตัดสินดำเนินการทั้งๆ ที่มีทางเลือกอื่นเช่นการขยายเวลาบังคับใช้มติหรือรอคำสั่งศาลปกครอง เป็นต้น

2. แม้ช่อง 3 จะไปขออนุญาตเป็นเพย์ทีวีตามที่ กสท. แนะนำ เพื่อให้โครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลเอาสัญญาณของช่อง 3 ไปออกอากาศได้นั้น เจ้าของลิขสิทธิ์รายการของช่อง 3 จะถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ประเภทเพย์ทีวีจะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ใหม่ และค่าธรรมเนียมใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการดัดแปลงแก้ไขสัญญาณเนื้อหารายการหรือโฆษณาหรือไม่ก็ตาม จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะไปขออนุญาตเป็นเพย์ทีวี

“ช่อง 3” แถลงอ้างคำสั่ง “คสช.” ปกป้อง

“ช่อง 3” ลั้นลา ออกอากาศตามปกติ

แฉช่องโหว่ทุจริตทีวีดิจิตอล ช่อง 3 สุดแสบแทงกั๊กดึงโฆษณาอื้อ
กำลังโหลดความคิดเห็น