ความใฝ่ฝันคือสิ่งไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์ปรุงแต่ง
แล้วจะมีองค์ประกอบใดเล่า จักสนับสนุนให้สำเร็จสมใจได้
ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ความฝัน แต่มันอยู่ที่อิทธิบาท 4 หรือ องค์ประกอบ 4 อย่างแห่งความสำเร็จ อันได้แก่ ฉันทะ จิตตะ วิริยะ วิมังสา
ฉันทะ หมายถึง ความรักความพอใจในสิ่งที่ตนมุ่งหวังและงานที่ตนกระทำนั้น
เมื่อคนเรามีความฝันอยากจะทำอะไรให้สำเร็จ ปัจจัยแรก เราต้องมีความรักความพอใจต่อสิ่งที่เรากระทำเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น และมีความ รักความพอใจกับเป้าหมายที่จะได้นั้นด้วย การเดิน ไปสู่เป้าหมายใดๆ มันต้องผ่านการกระทำหลายๆ อย่างเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น ถ้าตลอดเวลาที่เรากระทำอยู่นั้น เราขาดซึ่งความรักความพอใจในการกระทำต่างๆ เหล่านั้น เราไม่มีทางที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ความฝันหรือเป้าหมายก็เช่นกัน ต้องเป็นเป้าหมายที่เราพอใจที่จะได้ โดยพอใจในเนื้อหาสาระของเป้าหมายนั้นจริงๆ มันจึงจะเรียกว่าฉันทะ ไม่ใช่การรักหรือพอใจในสิ่งที่ไม่ใช่สาระของเป้าหมาย อย่างนี้ก็ไม่ถือว่ามีฉันทะ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากเป็นหมอ เราก็ต้องรักต้องพอใจในการที่จะเป็นหมอ สาระของการเป็นหมอก็คือ การ ที่จะได้รักษาคน,ช่วยเหลือคนให้พ้นจากทุกข์ทางกายหรือใจที่เขามีอยู่ นั่นเป็นสิ่งที่เราผู้อยากเป็นหมอต้องรักและพอใจที่จะเป็น ไม่ใช่ว่าฝันอยากเป็น หมอเพราะคิดว่าเป็นหมอแล้วรวยดี มีเกียรติ มีคนนับหน้าถือตา อันนั้นมันไม่ใช่สาระของการเป็นหมอ มันไม่ใช่ประเด็นสำคัญหรือประเด็นหลักของการเป็นหมอ ถ้าอย่างนี้ก็ไม่เรียกว่ามีฉันทะในการเป็นหมอ เป้าหมายแบบนั้นมันเป็นเป้าหมายของอารมณ์เป็นความฝันของกิเลสไม่ใช่ความฝันโดยปัญญามันจึงยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ถึงแม้จะเรียนสำเร็จจบเป็นหมอได้ก็เป็นหมอที่ดีเป็นหมอจริงๆ ไม่ได้
นอกจากจะต้องมีความรักความพอใจในคุณค่าสาระของการเป็นหมอแล้ว ก็ต้องมีความรักความพอใจในการงานหรือการกระทำเพื่อจะให้ เป็นหมอนั้นด้วย หมายความว่างานในปัจจุบันขณะนั้นที่เรากำลังกระทำอยู่เพื่อความเป็นหมอ เรา ก็ต้องมีความรักความพอใจในการกระทำนั้นอยู่เสมอๆ และตลอดไปจนบรรลุเป้าหมาย มันจึงจะประสบความสำเร็จได้ง่าย เช่นถ้าเราจะเป็นหมอ กำลังศึกษาเป็นนักเรียนแพทย์ เราก็ต้องรักต้องพอใจกระทำในหน้าที่ของนักเรียนแพทย์ ในการที่ จะอ่านหนังสือ การศึกษาเล่าเรียน การดูแลคนไข้ มีความรักความพอใจอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จึงจะสำเร็จ ได้ง่าย จบการศึกษาเป็นหมอได้สมดังปรารถนา และเมื่อเป็นหมอแล้วก็ต้องมีความรักความพอใจในการที่จะดูแลผู้ป่วย ช่วยเหลือผู้ป่วย ช่วยเหลือ ผู้ที่ทุกข์ยาก อย่างนี้มันก็จะสำเร็จสู่ความเป็นหมอ ที่ดี เป็นหมอจริงๆ ได้ ไม่ใช่ว่ารักอยากเป็นหมอก็จริง แต่เราไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ขยันศึกษาหา ความรู้ ไม่ชอบดูแลผู้ป่วย อย่างนี้มันก็สำเร็จได้ยาก หรือถ้าสำเร็จได้อาจด้วยการกดดันบังคับตน ด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่ยังไม่ชอบดูแลผู้ป่วย ไม่ ชอบช่วยเหลือคน อย่างนี้ก็ไม่สำเร็จเป็นหมอที่ดีได้ และไม่อาจมีความสุขกับการเป็นหมอนั้นเลย
ขั้นแรกแห่งการก้าวไปสู่ความสำเร็จ จึงต้อง มีความรักและความพอใจในเหตุปัจจุบันนั้น รักในการกระทำของปัจจุบันนั้นในอันที่จะนำไปสู่เป้าหมาย และมีความรักความพอใจมั่นคงต่อเป้าหมายอันจะเป็นเข็มทิศทางเดินของเราต่อไป ฉันทะนี้อาจจะไม่เกิดอย่างเต็มที่ในตอนแรกๆ แต่เมื่อกระบวนการแห่งการกระทำดำเนินไป เกิดผลขึ้นในระดับหนึ่งก็จะช่วยหล่อหลอมให้เกิดฉันทะที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามมา
จิตตะ หมายถึง ความมุ่งมั่นตั้งใจ จดจ่อ ไม่โลเล ต่องานที่กระทำเพื่อไปสู่ความสำเร็จ และต่อเป้าหมายที่มุ่งหวังไว้นั้นด้วย
คนเราจะทำอะไรให้สำเร็จได้ ปัจจัยที่สำคัญประการที่สองก็คือ ความต่อเนื่องของการกระทำเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมายที่มุ่งหวังนั้น ความต่อเนื่อง ของการกระทำเป็นผลมาจาก ความมุ่งมั่นตั้งใจต่องานที่กระทำนั้นอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่า จิตตะ ถ้าเราเป็นคน โลเล วอกแวกเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย อยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวไปทำนู่น เดี๋ยวไปทำนี่ เดี๋ยวอยากเป็นนู่น เดี๋ยวอยากเป็นนี่ ไม่มีความแน่นอน มั่นคงในเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง มันเป็นเหตุให้การกระทำของเรามันไม่ต่อเนื่อง อันเป็นเหตุสำคัญแห่งความล้มเหลว การทำงานให้สำเร็จจึงต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่น มั่นคงในงานและเป้าหมายนั้น ต่อสู้กับปัญหาอย่างไม่ท้อถอย ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายและการกระทำบ้างบางอย่าง ก็ควรเป็นเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น เหมาะสมกับเหตุปัจจัยมากขึ้น แต่แนวทางหลักแนวทางเดิมที่เราต้องการก็ต้องคงอยู่ จิตใจต้องตั้งมั่น ไม่โลเล งานจึงดำเนินไปได้ดีจนถึงเป้าหมาย นั้น เหมือนเรือที่มุ่งหน้าเดินทางไปยังจุดหมาย จะปรับเปลี่ยนจุดหมายบ่อยก็ไม่อาจไปถึงที่ได้สักที จะมัวโลเล เดินไปซ้าย ไปขวา หันหน้าหันหลังอยู่อย่างนั้นก็ไม่อาจจะไปถึงเป้าหมายใดๆ ได้เช่นกัน จิตตะความตั้งใจอย่างต่อเนื่อง ความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง จึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นอันที่สองในความสำเร็จของงานนั้น
วิริยะ หมายถึง ความเพียรพยายามกระทำอย่างต่อเนื่องไม่ลดละ จนประสบความสำเร็จ
อันนี้ก็ความหมายตรงตัวอยู่แล้ว ความเพียร พยายามคือการลงมือกระทำด้วยความขยันตั้งใจ ถ้าเราไม่ทำอะไรอย่างต่อเนื่องมันไม่มีทางจะประสบความสำเร็จแน่นอน งานอันใดเป้าหมายอันใดจะเป็นเป้าหมายในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง หรือ เป้าหมายของวันนี้ที่กำลังทำอยู่ จะสำเร็จลุล่วงได้ ก็ด้วยการลงมือกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนสำเร็จ ความมุ่งมั่นตั้งใจ หรือ จิตตะ จะมีส่วนส่งเสริมให้เราลงมือกระทำได้อย่างต่อเนื่อง การลงมือ กระทำจะต่อเนื่องได้ก็ต้องอาศัย ความมุมานะ ขยันขันแข็ง อดทนต่อสู้กับปัญหาต่างๆ อย่างไม่ลดละจึงจะต่อเนื่องได้ ความเพียรพยายามกระทำคือความต่อเนื่องทางกาย ทางการกระทำ ส่วนความมุ่งมั่นตั้งใจหรือจิตตะ คือความต่อเนื่องทางใจ สององค์ประกอบนี้ต้องมาคู่กันและมีส่วนช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิดในการไปสู่ความสำเร็จ
วิมังสา หมายถึง ปัญญาใคร่ครวญ
การใช้ปัญญาตั้งแต่ในการศึกษา การวางแผน การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และปรับปรุงแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด เป็นองค์ประกอบสุดท้ายและสำคัญยิ่งของความสำเร็จ จริงๆ แล้วมันเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอันดับแรกเสียด้วยซ้ำ ที่ควรจะมีก่อนองค์ประกอบอื่นๆ เพราะการตั้ง เป้าหมายด้วยฉันทะก็ดี การมีจิตใจตั้งมั่นจดจ่อด้วยจิตตะก็ดี ความเพียรพยายามกระทำอย่างต่อ เนื่องก็ดี ล้วนจำเป็นต้องมีปัญญากำกับควบคู่อยู่เสมอ ปัญญาเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในทุกขั้นตอนแห่งความสำเร็จ ปัญญาในที่นี้ หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความมีเหตุมีผล ความมีหลักการ ความ สามารถในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแก้ไขกลวิธีต่างๆ ความไตร่ตรองด้วยความละเอียดรอบคอบและเหมาะสม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นผลของปัญญาอันจะเป็นตัวคอยกำกับควบคู่ไปกับการกระทำงานทุกชนิดทุกขั้นตอน เป้าหมายทุกอย่างที่ต้องการความสำเร็จต้องอาศัยปัญญาใน การกำหนดด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความเหมาะสมกับเหตุปัจจัย ไม่ใช่กำหนดโดยใช้แต่อารมณ์ความ ชอบความต้องการอย่างเดียว แบบนั้นโอกาสสำเร็จจะมีน้อยมาก ปัญญาในการดำเนินงานจะใช้มากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของงานนั้นๆ และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น งานบางอย่างต้องใช้การกระทำมากใช้ปัญญาน้อย แต่เมื่อมีปัญหาที่ต้องแก้ไขก็ต้องใช้ปัญญาเป็นสิ่งสนับสนุนช่วยเหลือแก้ไขอยู่ดี ปัญญาเกิดมาจากการเรียนรู้ ศึกษา ฝึกฝนการใช้ความคิดพินิจพิจารณาแก้ไข
การมองปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ด้วยความปราศจากอคติ ปราศจากอารมณ์ทางบวกหรือ อารมณ์ทางลบ การเผชิญปัญหาด้วยใจที่สงบเย็น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนส่งเสริมให้ปัญญานั้นเดินได้คล่องตัว เฉียบคม ผู้ที่ฝึกฝนการใช้ปัญญาการพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆ ก็ควรจะฝึกการทำให้จิตใจสงบเป็นสมาธิอยู่บ่อยๆ เช่นกัน สองสิ่งนี้จะทำงานประสานกันทำให้มีความสามารถในการนำปัญญามาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีมากขึ้น (อ่านต่อสัปดาห์หน้า
อุปสรรคของการก้าวไปสู่ความสำเร็จ)
แล้วจะมีองค์ประกอบใดเล่า จักสนับสนุนให้สำเร็จสมใจได้
ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ความฝัน แต่มันอยู่ที่อิทธิบาท 4 หรือ องค์ประกอบ 4 อย่างแห่งความสำเร็จ อันได้แก่ ฉันทะ จิตตะ วิริยะ วิมังสา
ฉันทะ หมายถึง ความรักความพอใจในสิ่งที่ตนมุ่งหวังและงานที่ตนกระทำนั้น
เมื่อคนเรามีความฝันอยากจะทำอะไรให้สำเร็จ ปัจจัยแรก เราต้องมีความรักความพอใจต่อสิ่งที่เรากระทำเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น และมีความ รักความพอใจกับเป้าหมายที่จะได้นั้นด้วย การเดิน ไปสู่เป้าหมายใดๆ มันต้องผ่านการกระทำหลายๆ อย่างเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น ถ้าตลอดเวลาที่เรากระทำอยู่นั้น เราขาดซึ่งความรักความพอใจในการกระทำต่างๆ เหล่านั้น เราไม่มีทางที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ความฝันหรือเป้าหมายก็เช่นกัน ต้องเป็นเป้าหมายที่เราพอใจที่จะได้ โดยพอใจในเนื้อหาสาระของเป้าหมายนั้นจริงๆ มันจึงจะเรียกว่าฉันทะ ไม่ใช่การรักหรือพอใจในสิ่งที่ไม่ใช่สาระของเป้าหมาย อย่างนี้ก็ไม่ถือว่ามีฉันทะ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากเป็นหมอ เราก็ต้องรักต้องพอใจในการที่จะเป็นหมอ สาระของการเป็นหมอก็คือ การ ที่จะได้รักษาคน,ช่วยเหลือคนให้พ้นจากทุกข์ทางกายหรือใจที่เขามีอยู่ นั่นเป็นสิ่งที่เราผู้อยากเป็นหมอต้องรักและพอใจที่จะเป็น ไม่ใช่ว่าฝันอยากเป็น หมอเพราะคิดว่าเป็นหมอแล้วรวยดี มีเกียรติ มีคนนับหน้าถือตา อันนั้นมันไม่ใช่สาระของการเป็นหมอ มันไม่ใช่ประเด็นสำคัญหรือประเด็นหลักของการเป็นหมอ ถ้าอย่างนี้ก็ไม่เรียกว่ามีฉันทะในการเป็นหมอ เป้าหมายแบบนั้นมันเป็นเป้าหมายของอารมณ์เป็นความฝันของกิเลสไม่ใช่ความฝันโดยปัญญามันจึงยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ถึงแม้จะเรียนสำเร็จจบเป็นหมอได้ก็เป็นหมอที่ดีเป็นหมอจริงๆ ไม่ได้
นอกจากจะต้องมีความรักความพอใจในคุณค่าสาระของการเป็นหมอแล้ว ก็ต้องมีความรักความพอใจในการงานหรือการกระทำเพื่อจะให้ เป็นหมอนั้นด้วย หมายความว่างานในปัจจุบันขณะนั้นที่เรากำลังกระทำอยู่เพื่อความเป็นหมอ เรา ก็ต้องมีความรักความพอใจในการกระทำนั้นอยู่เสมอๆ และตลอดไปจนบรรลุเป้าหมาย มันจึงจะประสบความสำเร็จได้ง่าย เช่นถ้าเราจะเป็นหมอ กำลังศึกษาเป็นนักเรียนแพทย์ เราก็ต้องรักต้องพอใจกระทำในหน้าที่ของนักเรียนแพทย์ ในการที่ จะอ่านหนังสือ การศึกษาเล่าเรียน การดูแลคนไข้ มีความรักความพอใจอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จึงจะสำเร็จ ได้ง่าย จบการศึกษาเป็นหมอได้สมดังปรารถนา และเมื่อเป็นหมอแล้วก็ต้องมีความรักความพอใจในการที่จะดูแลผู้ป่วย ช่วยเหลือผู้ป่วย ช่วยเหลือ ผู้ที่ทุกข์ยาก อย่างนี้มันก็จะสำเร็จสู่ความเป็นหมอ ที่ดี เป็นหมอจริงๆ ได้ ไม่ใช่ว่ารักอยากเป็นหมอก็จริง แต่เราไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ขยันศึกษาหา ความรู้ ไม่ชอบดูแลผู้ป่วย อย่างนี้มันก็สำเร็จได้ยาก หรือถ้าสำเร็จได้อาจด้วยการกดดันบังคับตน ด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่ยังไม่ชอบดูแลผู้ป่วย ไม่ ชอบช่วยเหลือคน อย่างนี้ก็ไม่สำเร็จเป็นหมอที่ดีได้ และไม่อาจมีความสุขกับการเป็นหมอนั้นเลย
ขั้นแรกแห่งการก้าวไปสู่ความสำเร็จ จึงต้อง มีความรักและความพอใจในเหตุปัจจุบันนั้น รักในการกระทำของปัจจุบันนั้นในอันที่จะนำไปสู่เป้าหมาย และมีความรักความพอใจมั่นคงต่อเป้าหมายอันจะเป็นเข็มทิศทางเดินของเราต่อไป ฉันทะนี้อาจจะไม่เกิดอย่างเต็มที่ในตอนแรกๆ แต่เมื่อกระบวนการแห่งการกระทำดำเนินไป เกิดผลขึ้นในระดับหนึ่งก็จะช่วยหล่อหลอมให้เกิดฉันทะที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามมา
จิตตะ หมายถึง ความมุ่งมั่นตั้งใจ จดจ่อ ไม่โลเล ต่องานที่กระทำเพื่อไปสู่ความสำเร็จ และต่อเป้าหมายที่มุ่งหวังไว้นั้นด้วย
คนเราจะทำอะไรให้สำเร็จได้ ปัจจัยที่สำคัญประการที่สองก็คือ ความต่อเนื่องของการกระทำเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมายที่มุ่งหวังนั้น ความต่อเนื่อง ของการกระทำเป็นผลมาจาก ความมุ่งมั่นตั้งใจต่องานที่กระทำนั้นอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่า จิตตะ ถ้าเราเป็นคน โลเล วอกแวกเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย อยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวไปทำนู่น เดี๋ยวไปทำนี่ เดี๋ยวอยากเป็นนู่น เดี๋ยวอยากเป็นนี่ ไม่มีความแน่นอน มั่นคงในเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง มันเป็นเหตุให้การกระทำของเรามันไม่ต่อเนื่อง อันเป็นเหตุสำคัญแห่งความล้มเหลว การทำงานให้สำเร็จจึงต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่น มั่นคงในงานและเป้าหมายนั้น ต่อสู้กับปัญหาอย่างไม่ท้อถอย ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายและการกระทำบ้างบางอย่าง ก็ควรเป็นเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น เหมาะสมกับเหตุปัจจัยมากขึ้น แต่แนวทางหลักแนวทางเดิมที่เราต้องการก็ต้องคงอยู่ จิตใจต้องตั้งมั่น ไม่โลเล งานจึงดำเนินไปได้ดีจนถึงเป้าหมาย นั้น เหมือนเรือที่มุ่งหน้าเดินทางไปยังจุดหมาย จะปรับเปลี่ยนจุดหมายบ่อยก็ไม่อาจไปถึงที่ได้สักที จะมัวโลเล เดินไปซ้าย ไปขวา หันหน้าหันหลังอยู่อย่างนั้นก็ไม่อาจจะไปถึงเป้าหมายใดๆ ได้เช่นกัน จิตตะความตั้งใจอย่างต่อเนื่อง ความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง จึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นอันที่สองในความสำเร็จของงานนั้น
วิริยะ หมายถึง ความเพียรพยายามกระทำอย่างต่อเนื่องไม่ลดละ จนประสบความสำเร็จ
อันนี้ก็ความหมายตรงตัวอยู่แล้ว ความเพียร พยายามคือการลงมือกระทำด้วยความขยันตั้งใจ ถ้าเราไม่ทำอะไรอย่างต่อเนื่องมันไม่มีทางจะประสบความสำเร็จแน่นอน งานอันใดเป้าหมายอันใดจะเป็นเป้าหมายในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง หรือ เป้าหมายของวันนี้ที่กำลังทำอยู่ จะสำเร็จลุล่วงได้ ก็ด้วยการลงมือกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนสำเร็จ ความมุ่งมั่นตั้งใจ หรือ จิตตะ จะมีส่วนส่งเสริมให้เราลงมือกระทำได้อย่างต่อเนื่อง การลงมือ กระทำจะต่อเนื่องได้ก็ต้องอาศัย ความมุมานะ ขยันขันแข็ง อดทนต่อสู้กับปัญหาต่างๆ อย่างไม่ลดละจึงจะต่อเนื่องได้ ความเพียรพยายามกระทำคือความต่อเนื่องทางกาย ทางการกระทำ ส่วนความมุ่งมั่นตั้งใจหรือจิตตะ คือความต่อเนื่องทางใจ สององค์ประกอบนี้ต้องมาคู่กันและมีส่วนช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิดในการไปสู่ความสำเร็จ
วิมังสา หมายถึง ปัญญาใคร่ครวญ
การใช้ปัญญาตั้งแต่ในการศึกษา การวางแผน การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และปรับปรุงแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด เป็นองค์ประกอบสุดท้ายและสำคัญยิ่งของความสำเร็จ จริงๆ แล้วมันเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอันดับแรกเสียด้วยซ้ำ ที่ควรจะมีก่อนองค์ประกอบอื่นๆ เพราะการตั้ง เป้าหมายด้วยฉันทะก็ดี การมีจิตใจตั้งมั่นจดจ่อด้วยจิตตะก็ดี ความเพียรพยายามกระทำอย่างต่อ เนื่องก็ดี ล้วนจำเป็นต้องมีปัญญากำกับควบคู่อยู่เสมอ ปัญญาเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในทุกขั้นตอนแห่งความสำเร็จ ปัญญาในที่นี้ หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความมีเหตุมีผล ความมีหลักการ ความ สามารถในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแก้ไขกลวิธีต่างๆ ความไตร่ตรองด้วยความละเอียดรอบคอบและเหมาะสม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นผลของปัญญาอันจะเป็นตัวคอยกำกับควบคู่ไปกับการกระทำงานทุกชนิดทุกขั้นตอน เป้าหมายทุกอย่างที่ต้องการความสำเร็จต้องอาศัยปัญญาใน การกำหนดด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความเหมาะสมกับเหตุปัจจัย ไม่ใช่กำหนดโดยใช้แต่อารมณ์ความ ชอบความต้องการอย่างเดียว แบบนั้นโอกาสสำเร็จจะมีน้อยมาก ปัญญาในการดำเนินงานจะใช้มากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของงานนั้นๆ และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น งานบางอย่างต้องใช้การกระทำมากใช้ปัญญาน้อย แต่เมื่อมีปัญหาที่ต้องแก้ไขก็ต้องใช้ปัญญาเป็นสิ่งสนับสนุนช่วยเหลือแก้ไขอยู่ดี ปัญญาเกิดมาจากการเรียนรู้ ศึกษา ฝึกฝนการใช้ความคิดพินิจพิจารณาแก้ไข
การมองปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ด้วยความปราศจากอคติ ปราศจากอารมณ์ทางบวกหรือ อารมณ์ทางลบ การเผชิญปัญหาด้วยใจที่สงบเย็น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนส่งเสริมให้ปัญญานั้นเดินได้คล่องตัว เฉียบคม ผู้ที่ฝึกฝนการใช้ปัญญาการพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆ ก็ควรจะฝึกการทำให้จิตใจสงบเป็นสมาธิอยู่บ่อยๆ เช่นกัน สองสิ่งนี้จะทำงานประสานกันทำให้มีความสามารถในการนำปัญญามาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีมากขึ้น (อ่านต่อสัปดาห์หน้า
อุปสรรคของการก้าวไปสู่ความสำเร็จ)