"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
ถ้ารัฐบาลชวน หลีกภัย 2 ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไม่บอกเลิกสัญญาก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ เมื่อต้นปี 2541 สัมปทาน ของโฮปเวลล์ ซึ่งมีอายุ 30 ปี จะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
ภายใต้สัมปทาน โฮปเวลล์ มีสิทธิใช้พื้นที่ แนวเส้นทางรถไฟใน กรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ที่ดินสองข้างทาง และที่ดินการรถไฟฯ ที่มักกะสัน บางซื่อ และหัวลำโพง อีก ราวๆ 2 00 ไร่ ตามสัญญา ซึ่งหมายความว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่กำลังก่อสร้างใกล้จะเสร็จอยู่แล้ว สถานีกลางบางซื่อ รวมทั้ง รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของโฮปเวลล์ ถูกฟ้องร้องแน่
การยกเลิกสัญญาสัมปทานโฮปเวลล์ จึงเป็นความจำเป็น เพราะหากไม่เลิก การลงทุนในระบบรางของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เห็นกันอยู่ในตอนนี้ จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก มีโฮปเวลล์ เป็นหมาหวงก้างอยู่ กล่าวงคือ แม้กอร์ดอน วู จะไม่ทำโครงการต่อแล้ว แต่สัญญาสัมปทานยังคุ้มครองสิทธิ การใช้พื้นที่ เหนือรางรถไฟ และพื้นที่สองข้างทางอยู่
รัฐบาลชวน 2 โดยนายสุเทพ บอกเลิกสัญญา เพราะโฮปเวลล์หยุดก่อสร้างไปนานแล้ว และตอนนั้น ประเทศไมยกำลังจะเป้นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ ตอนปลายปี 2541 กระทรวงคมนาคมต้องการสร้าง ถนนโลคัลโรด จากหัวหมาก มาถึงยมราช เพื่ออรองรับการจราจร ซึ่งโลคัลโรดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ แต่โฮปเวลล์ ไมได้ส้ราง เมื่อรัฐบาลเข้าไปสร้าง ก็ถูกโฮปเวลล์ฟ้องว่า ละเมิดสิทธิ
การถามหา ผู้รับผิดชอบ ในการบอกเลิกสัญญาสัมปทานโฮปเวลล์ ซึ่งเป็นเหตุให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องจ่ายเงินที่โฮปเวลล์ลงทุนไปแล้ว รวม 11,800 ล้านบาท และดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน และต่อไป จนกว่าจะชำระเงินครบ ตามคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด จึงไม่ถูก
ผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับค่าโง่จำนวนมหาศาลนี้ คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการทำให้โคงรงการโฮปเวลล์ เกิดขึ้นมา เมื่อ 30 ปีก่อน คือ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ที่มีนายมนตรี พงษ์พานิช สส .อยุธยา พรรคกิจสังคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายกอร์ดอน วู นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจก่อสร้าง ชาวฮ่องกง เป็นเจ้าของไอเดีย สร้างทางยกระดับสามชั้น เหนือรางรถไฟในกรุงเทพ เพื่อแก้ปัญหา จุดตัดของทางรถไฟกับถนน จำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาการจราจร
ชั้นที่ 1 เป็นทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ชั้นที่ 2 เป็นรถไฟชุมชน ของโฮปเวล์ ซึ่งเหมือนกับรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ชั้น 3 เป็นทางด่วน สำหรับรถยนต์ ทั้งหมดนี้ การรถไฟฯ ไม่ต้องลงทุนสักบาท กอร์ดอน วู ลงทุนเองทั้งหมด แถมยังจ่ายค่าตอบแทนให้การรถไฟฯ เป็นเงินก้อนใหญ่ แบ่งชำระเป็นงวด แลกกับ การนำที่ดินการรถไฟฯประมาร 200ไร่ ไปพัฒนาหารายได้
ตอนนั้น ประเทศไทย เพิ่งเปลี่ยนจาก ระบอบอมาตยาธิปไตย ประชาธิปไตยครึ่งใบ ที่มีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีนานถึง 8 ปี มาเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เศรษฐกิจกำลังทะยานขึ้น จากรากฐานอันมั่นคงที่ระบอบอมาตยาธิปไตยสร้างไว้ และนโยบายเปลี่ยนการค้าเป็นสนามรบ ของพลเอกชาติชาย
ควบคู่กับ การเบ่งบานของประชาธิปไตย ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ คือ การทุจริต คอร์รัปชั่น ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง จนรัฐบาลพลเอกชาติชาย ได้ฉายาว่า “ บุฟเฟ่ต์คาบิเนต” ซึ่งมีความหมายว่า ใครใคร่โกง โกง ใคร ใคร่ กินกิน
โครงการโฮปเวลล์ ก็เป็นหนึ่งในเมนูในไลน์ บุฟเฟต์ของรัฐบาลชาติชาย ที่มีแต่ความฝัน ไม่มีรายละเอียดโครงการ การออกแบบ การก่อสร้าง สร้างไปออกแบบไป จึงทำให้มีปัญหาในเรื่องการก่อสร้างอยู่ตลอดเวลา และไม่มีแผนการเงินที่ชัดเจน สร้างไปหาเงินไป จึงทำให้เมื่อ แนวโน้มธุรกิอสังหาริมทรัพย์อันเป็นหัวใจสำคัญของโครงการในช่วงหลังจากปี 2535 เริ่มเข้าสู่ขาลง โครงการโฮปเวลล์ในสายตาสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างชาติ เป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง
กอร์ดอน วู สามารถทำให้พลเอกชาติชาย และนายมนตรี อนุมัติโครงการได้ แม้ว่า จะไม่มีรายละเอียดใดๆเลย โดยมีการเซ็นสัญญา กันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 หลังจากนั้น อีก เพียง 3 เดือน รัฐบาลพลเอกชาติชาย ก็ถูกรัฐประหาร โดยคณะ รสช. ของกลุ่มนายทหาร จปร รุ่น 5 และมีการตั้ง รัฐบาล ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี นายนุกุล ประจวบเหมาะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
โครงการโฮปเวลล์ เป็นโครงการหนึ่งที่รัฐบาลอานันท์ ตรวจสอบ และถูกยกเลิก การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร และสิทธิอื่น ที่รัฐบาลชาติชายรับปากไว้ รวมทั้งการสั่งให้เลิกโครงการ เพราะมีที่มาไม่โปรง่ใส แต่ก็ไม่มีมติ ครม อย่างชัดเจน ทำให้โครงการโฮปเวลล์ ยังคงเดินหน้าต่อไป แบบลูกผีลูกคน มาอีก หลายปี ก่อนจะยุติการก่อสร้าง และถูกยกเลิกสัญญาเมื่อต้นปี 2541
การบอกเลิกสัญญาของรัฐบาลชวน 2 เป็นการดำเนินการต่อ จาก มติ ครม. รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งมีมติ ครม. วันที่ 30 กันยายน 2540 แต่หลังจากนั้นเพียง 5 สัปดาห์ พลเอกชวลิต ก็ลาออก เพราะทนต่อแรงกดดันจาก วิกฤติต้มยำกุ้งไม่ไหว พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาล และนายชวนกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2
เสาตอม่อ โครงสร้างขนาดใหญ่ 100 กว่าต้น ของโครงการโฮปเวลล์ บนเส้นทางรถไฟ จากดอนเมือง มาจนถึงแถวๆบางเขน คือ อนุสรณ์การโกงกินอย่างมโหฬาร ในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ เวลาพูดถึงโฮปเวลล์ คนทีททันยุคนั้น นะนึกถึง ชื่อ มนตรี พงษ์พานิช แต่ถ้าพลเอกชาติชายไม่สั่ง หรือไม่พยักหน้า นายมนตรีจะทำได้หรือ
เสาตอม่อเหล่านี้ ถูกรื้อถอนไปเมื่อไม่นานมานี้ เพราะมีการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง บางซื่อ รังสิต
บัดนี้ เรามีอนุสรณ์ใหม่ คือ ค่าโง่โฮปเวลล์ 12000 ล้านบาท ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากยุคประชาธิปไตยเต็มใบ