xs
xsm
sm
md
lg

เศรษฐกิจรถไฟ เริ่มต้นที่ คสช. พรรคพลังประชารัฐสานต่อ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

ยุทธศาสตร์รถไฟ หรือ เศรษฐกิจรถไฟ เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งครั้งนี้

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ อธิบายว่า คือ การเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมขนส่ง จากระบบถนน มาเป็นการใช้ระบบราง ด้วยรถไฟเป็นหลักแทน และเร่งสร้างให้ระบบรางรถไฟ มีเส้นทางการคมนาคมที่ครอบคลุมโยงใยทั่วประเทศ จนสามารถกลายเป็นการคมนาคมหลักของประเทศ

นอกจากนั้นยังหมายถึง การส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรม ผลิตรถไฟ ตู้รถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ แทนการนำเข้าจากตางประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยี่

นับว่าเป็นนโยบาย ที่ดูมีเหตุผล ทำได้มากที่สุด ในบรรดานโยบายทั้งหมดของพรรคอนาคตใหม่

ยุทธศาสตร์รถไฟ หรือเศรษฐกิจรถไฟนี้ เป็นเรื่องที่ รัฐบาลปัจจุบัน ที่ถูกนายธนาธร ตราหน้าว่า เป็นเผด็จการ ไม่เคยพูด แตว่า ได้ลงมือทำ จนเริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

การพัฒนาระบบราง เป็นผลงานชิ้นสำคัญของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผลักดันโดยทีมเศรษฐกิจ ของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ทั้งระบบรางในเมือง คือ รถไฟฟ้าสีต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ที่เปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาลงทุนยรวมกับรัฐ ไปจนเกือบจะครบทุกสายตามแผนแม่บทรถไฟฟ้าแล้ว และครอบคลุมทั้งกรุงเทพ ทั้งยังเชื่อมต่อกันได้ทุกระบบด้วย

ในระดับประเทศ นับเป็นครั้งแรก ในรอบเกือบ 100 ปี ที่มีการลงทุนสร้างทางรถไฟเพิ่ม คือ รถไฟทางคู่ ทั่วประเทศ และสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่มอีกสองเส้นทางคือ สายเหนือจาก อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ไปสิ้นสุดที่อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย และสายอีสาน จากอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ไปสิ้นสุดที่จังหวัดนครพนม

รถไฟทางคู่เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะทำให้การเดินทางโดยรถไฟในรัศมีไม่เกิน 500 กิโลเมตรจากกรุงเทพ ใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง การขนส่งสินค้าจะถูกเคลื่อนย้ายจากรถบรรทุกบนถนน มาใช้รถไฟที่เร็วขึ้น ถูกกว่า ลดปริมาณการเจรจาบทถนน

การพัฒนาระบบราง ที่เกิดขึ้นแล้วในยุค คสช. จะเปลี่ยนโฉมหน้าการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย และจะสร้างอานิสงค์ต่อเนื่องไปอีกนับชั่วอายุคน

ล่าสุด กระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรม กำลังจะเสนอให้ คณะรัฐมนตี กำหนดหลักเกณฑ์ การลงทุนระบบรางในอนาคตว่า ผู้ลงทุน ไม่ว่า รัฐหรือเอกชน จะต้องใช้รถไฟ ตู้รถโดยสาร อุปกรณ์อาณัติสัญญาณ ที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น

เจตนาของการเสนอให้ ครม กำหนดเงื่อนไขนี้ ก็เพื่อให้ อุคตสาสหกรรมรถไฟฟ้า แจ้งเกิดได้ เพราะขณะนี้ การพัฒนาระบบราง ได้ทำให้ปริมาณความต้องการใข้รถไฟฟ้า ตุ้โดยสาร ในประเทศ มีมากขึ้น จนถึงจุดที่คุ้มกับการลงทุนตั้งโรงงานผลิต แล้ว

ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีรถโดยสารประมาณ 1,183 ตู้ ส่วนรถไฟฟ้าทุกระบบมีประมาณ 413 ตู้ และคาดการณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีความต้องการตู้รถไฟไม่น้อยกว่า 1,000 ตู้ ซึ่งข้อมูลอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟของไจก้า ระบุว่าจุดคุ้มทุนในการตั้งโรงงานประกอบรถไฟอยู่ที่ 300 ตู้/โรงงาน/ปี

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ กล่าวว่า เมื่อมีการตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าแล้ว จะมีการกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด จะต้องพิจารณาจากผู้ผลิตในประเทศที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามโครงการส่งเสริมการผลิตรถไฟ หรือรถไฟฟ้า หรืออุปกรณ์หรือชิ้นส่วน (เฉพาะระบบราง) จากบีโอไอ โดยจะสรุปข้อมูลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และกำหนดเป็นเงื่อนไขในทีโออาร์เปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าต่อไป และคาดว่าจะเริ่มใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ระบบการเดินรถที่ใช้รูปแบบ PPP และการจัดหารถไฟของ รฟท.

โดยตามเป้าหมายดังกล่าว กำหนดไว้ดังนี้ ภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด จะกำหนดให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศหรือบริษัทที่มีแผนจะลงทุนผลิตในประเทศ , ภายในปี 2565 จะขยายข้อกำหนดการจัดซื้อจัดจ้างให้มีการส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศ ภายในปี 2567 การจัดซื้อจัดจ้าง จะกำหนดให้ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด โดยใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ไม่น้อยกว่า 40% ของราคารถไฟและรถไฟฟ้า และตั้งแต่ปี 2568 การจัดซื้อจัดจ้าง จะกำหนดให้ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling System) ที่ผลิตในประเทศทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักที่เป็นสาระสำคัญ ได้แก่ 1.ระบบตัวรถ ทั้งโครงสร้างหลัก , ตู้โดยสาร , ห้องควบคุมรถ 2.ระบบช่วงล่างของโครงสร้างตัวรถ ได้แก่ โบกี้ , ระบบห้ามล้อ และอุปกรณ์เชื่อมต่อตู้โดยสาร 3.ระบบขับและควบคุม ได้แก่ ระบบไฟฟ้าและระบบจ่ายไฟ , ระบบขับเคลื่อน , ระบบสื่อสาร ระบบควบคุมและอาณัติสัญญาณ

ผลการศึกษา พบว่า การผลิตรถไฟทุก 1,000 ตู้ จะทำให้เกิดการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท/ปี ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40% จะลดการนำเข้าได้มูลค่า 18,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมบำรุงและค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศได้ 4,300 ล้านบาท/ปี

พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจะเสนอชื่อ พลเอกประยุทธ์ และนายสมคิด เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และ 2 แม้จะ ไม่มีคำว่า เศรษฐกิจรถไฟ หรือยุทธศาสตร์รถไฟ ในนโยบายพรรค แต่ ตั้งแต่หัวหน้าพรรค ลงมาาจนถึงกรรมการพรรคที่เคยร่วมรัฐบาล มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน การพัฒนาระบบราง

หนึ่งในนโยบาย 7-7-7 เรื่อง สังคมประชารัฐ การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างเมืองน่าอยู่ คือ คำตอบว่า การพัฒนาระบบรางที่อดีตรัฐมนตรีที่มาทำงานการเมืองในนามพรรคพลังประชารัฐมีส่วนริเริ่ม ผลักดัน จะถูกสานต่อ ให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง



กำลังโหลดความคิดเห็น