xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

อีก 12 ปี โลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศา สัญญาณแจ้งเตือนครั้งสุดท้าย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

สองสามปีมานี้ ในภูมิภาคต่างๆของโลก เผชิญกับ ภัยธรรมชาติ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือเคยเมีแต่ไม่รุนแรงเท่า อย่างเช่น น้ำท่วม หลายๆประเทศในยุโรป เพราะฝนตกมากผิดปกติ อุณหภูมิที่สูงขึ้น ในหน้าร้อนของปีนี้ จนผู้คนไม่สามารถออกไปรับแสงแดด ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ดังเช่นที่เคยทำกันมาร้อยกว่าปีได้ คลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น ที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมกา อย่างน่าตกใจ พายุไต้ฝุ่น เฮอร์ริเคน ที่ถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น

ปรากฎการณ์เหล่านี้ เป็นผลจาก ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change เพราะอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จากก๊าซเรือนกระจก เป้นเรื่องที่เราได้ยินมานาน จนรู้สึกชินชา บัดนี้ ผลของมันได้แสดงตัวให้เห้นกนัอย่างชัดเจนแล้ว

เมื่อวันจันทร์ ที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการของสหประชาชาติด้านความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกหรือ IPCC ได้เผยแพร่รายงานที่เตือนว่า ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีกเพียง 12 ปีต่อจากนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และจะทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องหายนะจากธรรมชาติ เช่น ภาวะแล้งจัด ไฟป่า น้ำท่วมใหญ่ รวมทั้งการขาดแคลนอาหารสำหรับผู้คนนับล้านๆ คนทั่วโลกได้

โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมาจากระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศของโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกได้เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมแล้ว และรายงานของสหประชาชาติยังเตือนว่า การยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นกว่านี้ ต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างจริงจังในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะถ้าโลกร้อนขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมแล้ว โลกของเราก็จะพบกับปัญหาต่างๆ มากมาย นับตั้งแต่คลื่นความร้อนจัด ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ปัญหาภัยแล้ง และฝนที่ตกหนักมากผิดปกติ เป็นต้น

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามเป้า จะต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางทั้งในรูปแบบการใช้พลังงาน การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม และการอยู่อาศัยในเขตเมือง

รายงานของสหประชาชาติชิ้นนี้ระบุด้วยว่า เห็นได้ชัดว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change นั้นกำลังเกิดขึ้นให้เห็นกับตา แต่สิ่งที่จะตามมาหากไม่มีมาตรการแก้ไขและรับมืออย่างเร่งด่วนจะยิ่งส่งผลเสียหนักมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างที่เห็นได้จากภาวะแล้งจัดที่ทำให้ขาดน้ำในเมืองเคปทาวน์ของแอฟริกาใต้ คลื่นความร้อนจัดในทวีปยุโรป และฝนที่ตกอย่างหนักจากพายุเฮอร์ริเคน Harvey กับพายุเฮอร์ริเคน Florence ในสหรัฐฯ เป็นต้น

นอกจากนั้น แนวปะการัง รวมทั้งแนวปะการังยักษ์ Great Barrier Reef ของออสเตรเลีย ก็จะได้รับผลกระทบอย่างหนักด้วยเช่นกัน โดยคาดว่าปะการังของโลกจะตายลง 70% ถึง 90% จากภาวะโลกร้อน หากไม่มีการเร่งแก้ไข

รายงานของคณะกรรมการ IPCC ของสหประชาชาติ เป็นการศึกษาซึ่งใช้เวลา 3 ปี และเป็นผลจากข้อตกลงเรื่อง Climate Change ที่กรุงปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2558 ซึ่ง 197 ประเทศทั่วโลกตกลงจะร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าการตรึงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม และจะพยายามควบคุมอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรมด้วย

แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าว โดยอ้างว่าข้อตกลงนี้ไม่เป็นธรรมสำหรับสหรัฐฯ

ประธานร่วมของกลุ่มทำงานที่สามของคณะกรรมการ IPCC ของสหประชาชาติ กล่าวว่า การจำกัดและควบคุมปัญหาโลกร้อนไม่ให้ขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือกว่าระดับยุคก่อนอุตสาหกรรมนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในทางเทคนิค และจากหลักวิทยาศาสตร์ด้านเคมีกับฟิสิกส์

อย่างไรก็ตาม เรื่องที่มีความสำคัญมากกว่าและจำเป็นอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุผลที่ว่านี้ คือความตั้งใจทางการเมืองอย่างจริงจังและความร่วมมือระดับโลก เพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพื่อควบคุมผลกระทบอย่างรุนแรงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะมีต่อสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ในช่วงอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้

เมื่อหลายปีก่อน ธนาคารโลกเคยออกรายงาน ระบุว่า กรุงเทพฯ จาการ์ตา และโฮจิมินห์ซิตี้ เป็น "จุดเสี่ยง" ที่จะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พายุเขตร้อนที่รุนแรง และฝนตกหนัก เนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยยืนยันว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ความเสี่ยงที่ไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้

รายงานยังชี้ว่า กรุงเทพฯ มีโอกาสจะจมอยู่ใต้น้ำเป็นอาณาบริเวณกว้าง ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยความเสี่ยงนี้ เกิดจากภาวะโลกร้อนที่มีแนวโน้มรุนแรงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ จึงมีความจำเป็นจะต้องหาทางรับมือ

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง ทำให้กรุงเทพฯ และชาวกรุง ตกอยู่ในวิกฤต ขณะที่คนกรุงส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในเวลาเดียวกันรัฐบาลกำลังดำเนินการหลายวิธี ตั้งแต่ขุดคลอง สร้างสถานีสูบน้ำ และอุโมงค์ใต้น้ำ เพื่อระบายน้ำออกหากเกิดวิกฤต แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า นี่เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น

โลกร้อน ได้กลายมาเป็น ภัยใกล้ตัว ที่เกิดึ้ขี้นให้เห้นแล้ว เวลา 12 ปี นั้นไม่นานเลย แต่ก้ยังไม่ช้าเกินไปที่ รัฐบาลของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจ จะร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง




กำลังโหลดความคิดเห็น