xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

รถไฟความเร็วสูง อีอีซี มาทีหลังแต่เร็วกว่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย การพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันอก หรือ บอร์ดอีอีซี ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบในหลักการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา มูลค่าการลงทุน ประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยจะเปิดประมูลให้เอกชนเป็นผู้ลงทมุนหลักร่วมกับรัฐ หรือพีพีพี

หลังจากนี้แล้ว ก็จะต้อง เสนอให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ ก่อนจะเปิดประมูล โดยตั้งใจจะเร่งรัดดำเนินการให้เร็วที่สุด ตั้งเป้าไว้ว่า จะเซ็นสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูลให้ได้ ภายในปีนี้ หรือ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง

แม้จะมาทีหลัง รถไฟความเร็วสูงไทย จีน และรถไฟความเร็วสูงไทยญี่ปุ่น แต่รถไฟความเร็วสุงเชื่อมสนามบิน หรือรถไฟความเร็วสูงอีอีซี ทำท่าว่าจะมาแรง แซงหน้าถึงสถานีปลายทาง ก่อนรถไฟไทยจีน และรถไฟไทยญี่ปุ่นเสียแล้ว

รถไฟความเร็งสูงไทยจีน เดิมเป็นถไฟความเร็วปานกลาง จากหนองคายถึงกรุงเทพ และจากแก่งคอยแยกไปมาบตาพุด เป็นโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน เซ็นเอ็มโอยูไปเมื่อปลายปี 2557 แต่เวลาผ่านไป 2 -3ปี ก็ไม่มีความคืบห้นาแต่อยางใด เพราะตกลงกันไม่ได้เรื้องรูปแบบการร่วมทุน

สุดท้าย พลเอกประยุทธ์ ทุบโต๊ะ เอามาทำเอง แต่ด้วยข้อผูกพันตามเอ็มโอยู ข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ ว่า จะพัฒนาร่วมกัน จึงต้องใช้เทคโนโลยี่รถไฟความเร็วสูงของจีน ให้จีนออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และซื้อรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ จากจีน โดยเปลี่ยนรูปแบบจากรถไฟความเร็วปานกลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กิดลเมตรต่อชั่วโมง และลดระยะทางจากกรุงเทพ - หนองคาย เหลือเพียง กรุงเทพ - นครราชสีมา

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสุง กรุงเทพ -นครราชสีมา ได้เริ่มขึ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคมปีที่แล้ว แต่ยังเป็นแค่การถมพื้นที่ ระยะทางเพียง 3.5 กิโลเมตร จากสถานีกลางดง ถึงปางอโศกเท่านั้น โดยการถไฟแห่งประเทศไทย ว่าจ้างกรมทาวงหลวงเป็นผู้ถมที่ เพราะการออกแบบอื่นๆยังไม่เสร็จ และเมื่อจีนออกแบบเสร็จก็ต้องให้ฝ่ายไทยเห็นชอบ หลังจากนั้น จึงจะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้าง

โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ นครราชสีมา จึงเป็นเพียงการเริ่มต้นในเชิงสัญยลักษณ์เท่านั้น ยังไม่มีการลงมือก่อสร้างจริงๆ ซึ่งยังไม่รู้ว่า จะเริ่มได้เมือ่ไร และจะมีข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับจีนเหมือนในช่วง สามปีที่ผ่านมาอีกหรือไม่

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ เชียงใหม่ หรือ รถไฟญี่ปุ่ เพราะญี่ปุ่นเป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ ก็เพิ่งจะศึกษาความเป็นไปได้ของเส้นทางจากกรุงเทพ - พืษณุโลก เท่านั้น ยังไม่มีข้อยุติว่า ใครจะเป็นผู้ลงทุน ไทยต้องการให้ญึ่ปุ่นร่วมทุนด้วย เพราะต้องใช้เงินลงทุนสุง แต่ญี่ปุ่นไม่ต้องการลงทุนด้วย ขอให้เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำเท่านั้น

โครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซีมาทีหลัง หลังจากที่รัฐบาลตดผลึกความคิดว่า จะต้องพัฒนาเระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยรถไฟความเร็วสูง อีอีซี เป็นหนึ่งใน 5 โครงการ โครงสร้างพื้นฐาน เร่งด่วน ที่จะต้องเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อรองรับ และเป็นแม่เหล๋กดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเจข้ามายังพื้นที่อีอีซี

รถไฟความเร็วสูงอีอีซี มีระยะทาง 220 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพ ถึง อู่ตะเภา เพียง 45 นาที ประกอบด้วย 5 สถานีคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสนามบินอู่ตะเภา ใช้แนวเส้นทางรถฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ในปัจจุบัน จากพญาไท ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ โดยขยายเส้นทางจากพญาไท ไปถึงสนามบินดอนเมือง และ จากสนามบินสุวรรณภูมิไปถึงสนามบินอู่ตะเภา

โครงการนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะมีผลต่อการดึงดูดการลงทุนในอีอีซี จึงกำหนดเงื่อนไขที่เป็นแรงจูใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน คือ ให้สิทธิพัฒนาพื้นที่รอบๆสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 100 ไร่ เพื่อให้ผุ้ลงทุนมีราไยด้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย เพราะการลงทุนก่อสร้างรถไฟ ต้องใช้ระยะเวลาคืนทุนนานมาก และยังให้ผุ้ลงมุนเลือกทำเลที่ตั้งของสถานีได้ด้วย

ด้วยแรงผลักดันอย่างจริงจังจากรัฐบาล และเงื่อนไขจูงใจ สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร ที่ให้กับผู้ลงทุนในอีอีซี สิทธิในการพัฒนาที่ดินมักกะสัน และศรีราชา ทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี แม้จะมาทีหลัง รถไฟความเร็วสูงไทยจีน และรถไฟความเร็วสูงไทยญี่ปุ่น เป็นโครงการที่มีคามชัดเจน และออกตัว เดินหน้าไปถึงสถานปลายทางได้รวดเร็วกว่า





กำลังโหลดความคิดเห็น