xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ดัชนีคอร์รัปชั่นประเทศไทย จะดีขึ้นมากกว่านี้ ถ้า ......

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) เปิดเผยคะแนนดัชนีคือ ค่าคะแนนดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน Corruption Perceptions Index (CPI) ประจำปี 2560 ประเทศไทย ได้ 37 คะแนน อยู่ในอันดับ 96 จากทั้งหมด 180 ประเทศ ร่วมกับ ประเทศบราซิล โคลัมเบีย อินโดนีเซีย ปานามา เปรู และแซมเบีย

คะแนนสูงขึ้น อันดับดีกว่าเดิม จากปี 2559 ที่ได้ 35 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 101

ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับแรกได้แก่ นิวซีแลนด์ 89 คะแนน, เดนมาร์ก 88 คะแนน , ฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ 85 คะแนน ครองอันดับ3ร่วม , สิงคโปร์ สวีเดน 84 คะแนน ครองอันดับ6ร่วม, แคนาดา ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ 82 คะแนน ครองอันดับ 8 ร่วม

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้มีการจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี พ.ศ.2560 ไว้ โดยมีประเด้นสำคัญ 4 ประการคือ

1. แหล่งการประเมินที่ได้รับคะแนนน้อยที่สุดในปี 2559 ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี2560 ประเทศไทยมีแหล่งการประเมินที่คะแนนเพิ่มขึ้นทั้งหมด 3 แหล่งการประเมินประกอบด้วย GI (+13 คะแนน) WEF (+5 คะแนน) และ WJP (+3 คะแนน) โดย 2 ใน 3 แหล่งการประเมินที่เพิ่มขึ้นคือWEF กับ GI นั้นเป็นแหล่งการประเมินที่เกี่ยวข้องกับการการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ การทุจริตติดสินบน ดังนั้นแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ความมุ่งมั่นจริงจังในการดำเนินการของประเทศไทยในการดำเนินการสร้างความสะดวกทางธุรกิจต่อต้านการทุจริตติดสินบนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเร่งรัดการดำเนินการตามประกาศคณะรัฐมนตรี ให้ปี พ.ศ.2560 เป็นปีแห่งการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจต่อต้านการรับสินบนทุกรูปแบบ

2. แหล่งการประเมินที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย การใช้ตำแหน่งอำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ มีคะแนนลดลงเล็กน้อย ประเทศไทยมีแหล่งการประเมินที่คะแนนลดลงทั้งหมด 3 แหล่งการประเมิน คือ BF (TI) (- 3 คะแนน) VDEM (- 1 คะแนน) และ IMD (-1 คะแนน) โดยแหล่งการประเมินที่มีคะแนนลดลงมากที่สุด คือ BF (TI) ซึ่งเป็นแหล่งการประเมินที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน มีการถูกลงโทษหรือหรือไม่

ดังนั้นสะท้อนให้เห็นว่า ในสายตานานาชาติเกิดความไม่เชื่อมั่นในการกระบวนการนำตัวผู้ที่กระทำการทุจริตมาลงโทษในเรื่องของการใช้ตำแหน่งอำนาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของระบบอุปถัมภ์ที่ยังมีอยู่มากในสังคมไทย

3. ประเทศไทยควรมีการกำหนดกลไกให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการประเมินผลคะแนนดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน CPI เป็นการประเมินการรับรู้การทุจริตจากหลายแหล่ง ซึ่งมีรูปแบบการสำรวจที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับความน่าเชื่อถือที่สำคัญในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งที่คะแนน CPI ของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอดโดยมีช่วงคะแนนอยู่ที่ 35 - 38 คะแนน มาจากภาพลักษณ์การรับรู้ระบบราชการไทย สังคมไทยทั้งในสายตาประชาชนไทย นักลงทุนตลอดจนนักวิชาการนานาชาติ ว่า สังคมไทยยังมีกับดักในเรื่องของระบบอุปถัมภ์ การติดสินบนเจ้าหน้าที่ การจ่ายเงินใต้โต๊ะ การใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่า ไม่มีธรรมาภิบาล

ดังนั้น ถ้าประเทศไทยมีความต้องการอย่างจริงจังจะยกระดับค่าดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน CPI ให้มีระดับคะแนนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำเป็นต้องดึงแนวร่วมทุกภาคส่วนเข้ามาดำเนินการร่วมกันเพิ่มกลไกให้อำนาจบทบาทในการดำเนินการของภาคส่วนต่างๆนอกภาครัฐให้สูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันจิตสำนึกของประชาชนไทยในเรื่องการต่อต้านการทุจริตของไทยมีระดับสูงขึ้นมากแล้ว

4. สถานการณ์การทุจริตของไทยนับว่า ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก จากสถานการณ์การทุจริตส่วนใหญ่ของทั่วโลกจะเห็นได้ว่าผลคะแนนส่วนใหญ่มีลักษณะคงที่ จากระดับคะแนนเฉลี่ยที่อยู่ในระดับคะแนน 43 คะแนนเท่ากับการประเมินเมื่อปี 2560 ขณะที่เมื่อเทียบคะแนนของประเทศ ไทยกับประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก (อันดับ 18 จาก 31 ประเทศ) หรือ กับประเทศในกลุ่มอาเซียน (อันดับ 5จาก 11 ประเทศ) คะแนนของประเทศไทยมีระดับคะแนนอยู่ในลำดับใกล้เคียงกับลำดับเดิมในปี 2559

ดังนั้นสถานการณ์การทุจริตของไทย ซึ่งประเมินจากผลคะแนน CPI 2560 จึงสามารถสรุปได้สถานการณ์การทุจริตของไทยว่าดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก




กำลังโหลดความคิดเห็น