xs
xsm
sm
md
lg

งาบพุงปลิ้น4.5แสนล้าน จาก14โครงการรัฐยุคนักการเมือง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ (7 ก.พ. ) นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า จากการรวบรวมความเสียหายที่เกิดการทุจริตในโครงการต่างๆ อย่างน้อย 10 โครงการ มูลค่าความเสียหาย 248,624 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. โครงการก่อสรางรถไฟฟ้าสายสีแดง ใช้เงินกู้จากไจก้า ประเทศญี่ปุ่น แต่มีการเพิ่มวงเงินจากราคากลาง ทำให้รัฐเสียหาย 7,500 ล้านบาท 2. โครงการงบฉุกเฉินแก้ปัญหาน้ำท่วม ปี 54 จากงบฯกลาง วงเงิน 120,000 ล้านบาท มีการเรียกรับสินบนถึง 30% ความเสียหาย 36,000 ล้านบาท
3. โครงการจัดซื้อจัดจ้างยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืชใน 24 จังหวัดภาคอีสาน ช่วงปี 55-56 เสียหาย 7,850 ล้านบาท โดยมูลค่าซื้อจริง แค่ 600 กว่าล้านบาท แต่มาบวกเพิ่มหลายเท่าตัว 4. โครงการขุดคลองสุวรรณภูมิ ซึ่งวงเงินเดิมตั้งไว้ 5,000 ล้านบาท และบานปลายเป็นหมื่นล้าน โดยใช้วิธีการประมูล รวมแบบดีไซน์แอนด์บิวท์ หรือ ออกแบบไปสร้างไป มีการทุจริตวงเงิน 1,500 ล้านบาท 5.โครงการสร้างอาคารผู้โดยสารเฟสแรก ของสนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 147,000 ล้านบาท มีการทุจริตไม่น้อยกว่า 18 โครงการ ความเสียหายที่ 40,000 ล้านบาท
6. โครงการ แอร์พอร์ตลิ้ง เสียหาย 3 กรณี คือ 1. เบิกเงินค่าธรรมเนียมเกินจากความจริง ทำให้เสียหาย 1,194 ล้านบาท 2. แทนที่จะได้ค่าปรับจากการส่ง มอบงานล่าช้าไปเกินกำหนด 2 ปี เป็นเงิน กว่า 6,000 ล้านบาท แต่ รฟท. กลับแก้ไขสัญญาเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ไม่ต้องจ่ายชดเชยให้รัฐ 3. สาเหตุจากการส่งมอบงานล่าช้า ทำให้รัฐต้องเสียดอกเบี้ยจากยอดเงินกู้ของเอกชน 25,000 ล้านบาท แต่ กลายเป็นรัฐต้องเสียดอกเบี้ยให้แทน
7.โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 วงเงินที่ ครม.อนุมัติซื้อ 2,400 ล้านบาท พร้อมการติดตั้งดูแลระบบ แต่หลังศาลแขวงแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ เปิดเผยการทุจริตสินบนข้ามชาติ มูลค่าความเสียหาย 1,200 ล้านบาท ซึ่งมีรายชื่อทั้ง คนทำผิด บอร์ดที่อนุมัติ แต่ป.ป.ช. กลับยกเรื่อง โดยอ้างว่าไม่มีรายชื่อผู้กระทำผิด เพราะสหรัฐฯไม่ให้ข้อมูล
8. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ราคากลางเกินความจริงกว่า 13,000 ล้านบาท 9. ค่าเสียหายท่อก๊าซ 32,000 ล้านบาท และ 10. การทุจริตจากกรณี กสทช.จัดประมูลคลื่นความถี่ 2,100 MHz โดยให้ 3 บริษัทประมูลโอนเบอร์ในสัมปทานเดิม คลื่น 900 MHz ของ TOT ไป เข้าบัญชีบริษัทใหม่ได้ ทาให้รัฐ TOT สูญเสียรายได้ 2 ปี พ.ศ. 2556–2557 ประมาณ 87,000 ล้านบาท
เมื่อรวมยอดเงินที่รัฐเสียหาย 10 โครงการ เป็นเงินทั้งหมด 248,624 ล้านบาท
ต่อมาใน สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. คณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิขอบ สปท. ได้ศึกษาเปรียบเทียบ กรณี ที่โครงการของรัฐเสียเปรียบหน่วยงานเอกชน และการศึกษาการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด ได้รับรายงานให้ทำการศึกษา รวม 4 เรื่อง
1. กรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ สั่งให้แก้ไขสัญญาอนุญาตสัมปทานคลื่น โทรศัพท์เคลื่อนที่รวม 5 ครั้ง เสียหายกว่า 88,000 ล้านบาท และกรณีการออก พ.ร.ก.สรรพสามิต โดยศาลพิพากษาว่าเป็นคำสั่ง โดยมิชอบ ทำรัฐเสียหายอีก 36,000 ล้านบาทเศษ รวมยอดเสียหายทั้งสิ้น 120,000 ล้านบาท
2. กรณีการเลี่ยงภาษีจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ของนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร คนละ 7,941 ล้านบาทเศษ รวมเป็นเงิน 15,882 ล้านบาท
3. กรณีทุจริต และค่าโง่ในโครงการก่อสร้างบ่อบัดน้ำเสียคลองด่าน แบ่งเป็นงบการก่อสร้างที่ผิดกฎหมายที่รัฐจ่ายไปแล้ว 24,000 ล้านบาท
4. การทุจริตในโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เช่น โครงการอนุญาตให้บริษัท คิง เพาเวอร์ เช่าพื้นที่ และแบ่ง รายได้ 15% จากยอดขายสินค้าและบริการให้การท่าฯ (ทอท.) แต่ไม่เชื่อมต่อระบบการบันทึกการขายและตัดยอดสินค้าใน คลังทันที ( พีโอเอส) ตามบันทึกข้อตกลง (ทีโออาร์) และสัญญาที่ต้องแจ้งให้ ทอท.ทราบเป็นเวลาถึง 9 ปี เสียหายไม่น้อยกว่า 40,000 ล้านบาท และต้องเสียค่าโง่ ตามคำพิพากษาศาลอีก 9,000 ล้านบาท ซึ่ง ครม.รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มีมติตามที่คณะอนุกมธ.ฯ สปท. เสนอให้ยุติการจ่ายเงิน ที่เหลืออีก 6,000 ล้านบาท และให้สำนักงนป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้ายึดอายัดทรัพย์ตามมูลฐานความผดทุจริตและฟอกเงิน รวมทั้งกรณีคิงเพาเวอร์ ความเสียหาย 4 โครงการ รวมทั้งสิ้น 202,882 ล้านบาท

*** ครม.ยังไม่เคาะกม.รับสินบน
นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึง กรณีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน โดยใช้มาตรา 44 ลดโทษอาญาคนให้สินบน ว่า ที่ประชุมครม.ไม่ได้มอบหมายให้ไปศึกษา แต่มีการพูดคุยกันเพื่อให้ดูในหลายมิติ แต่ยังไม่ได้พูดถึงการลดโทษ เพียงหารือร่วมกันจะให้ระบบดังกล่าวเข้มข้ม และมีความชัดเจนขึ้น มีแต่คุยกันว่าจะให้ระบบดังกล่าวเข้มข้นและมีความชัดเจนขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังไม่ชัดเจน
"ข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจน มีการพูดกันไปต่างๆ นานา ซึ่งข้อกฎหมายจำเป็นต้องให้มีข้อเท็จจริงชัดเจนก่อน ขณะนี้ก็มีการสอบข้อเท็จจริงกันอยู่ ทั้งนี้เรามีระบบอยู่แล้วและค่อนข้างดีและอยู่อยู่ระหว่างปรับปรุงให้สมบูรณ์ ดังนั้นเราต้องมั่นใจในระบบเราอันไหนไม่ดีก็ว่ากัน" นายดิษทัต กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น