xs
xsm
sm
md
lg

ปทุมฯค้านเปลี่ยนแนวถนน สะพานข้ามเจ้าพระยา เอื้อทุนอสังหาฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ชาวบ้านใน จ.ปทุมธานี ร้องอธิบดีกรมทางหลวง คัดค้านและทบทวนการเปลี่ยนแนวถนนและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแนวใหม่ หวั่นสร้างภาระต่องบประมาณในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกหลายพันล้าน ซ้ำเติมให้ จ.ปทุมธานีเกิดน้ำท่วมอีก จับตาเปลี่ยนแนวถนนใหม่ เป็นการเปิดหน้าดินหลายพันไร่ให้ทุนอสังหาฯ

ชาวบ้านในจังหวัดปทุมธานีจำนวนมาก ได้มีการทำเรื่องไปถึงอธิบดีกรมทางหลวง โดยคัดค้านการเปลี่ยนแนวทางหลวงแนวใหม่ ระหว่างทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ด้านตะวันตก-จุดตัดทางหลวงหมายเลข 347 - จุดตัดทางหลวงเลข 9 ด้านตะวันออก-ทางหลวงหมายเลข 352 ซึ่งการคัดค้านดังกล่าว ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น และยังอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ต่อนายทุนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

โดยในเอกสารระบุว่า ตาที่กรมทางหลวง โดยสสำนักสำรวจและออกแบบได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท เทสโก้ จำกัด และบริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการงานสำรวจและออกแบบทางหลวงแนวใหม่ ระหว่างทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ด้านตะวันตก-จุดตัดทางหลวงหมายเลข 347-จุดตัดทางหลวงหมายเลข 9 ด้านตะวันออก- ทางหลวงหมายเลข 352 ดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการประชาสัมพันธ์และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประเทศในพื้นที่โครงการ

การเปลี่ยนแปลงแนวทางสร้างถนนและสะพานปทุมธานี จากเดิมที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกแก้ปัญหาจราจรตามโครงข่ายจราจรทำไว้เมื่อปี 2537 ซึ่งเป็นการจัดทำโดยครม.เฉพาะกิจ โดยมีนายกฯ (นายบรรหาร ศิลปอาชา) เป็นประธาน รองนายกฯ (นายสมัคร สุนทรเวช) และปลัดสำนักนายกฯ (นายยงยุทธ สารสมบัติ) เป็นเลขาธิการ อีกทั้งมติของ ครม.ครอบคลุมถนนและสะพานเชื่อมต่อชุมชนต่างระดับสามโคกไว้แล้ว ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือของสำนักงานเลขาธิการครม.แสดงมติครม.เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2539 และ 30 มิ.ย.2536 เลขที่ นร 0205/9298 ตามที่ได้กำหนดไว้ตามโครงโครงข่ายถนนวงแหวนและใยแมงมุมของกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นส่วนหนึ่งตามโครงการเชื่อมถนนจตุรทิศ ตามแนวพระราชดำริ ตามแผนโครงการถนนคร่อมคลองประปา และกรมทางหลวงได้พิมพ์แผ่นพับและหนังสือแผนที่ทางหลวงมาโดยตลอด แสดงแนวถนนและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านทางต่างระดับสามโคกเป็นแผนแม่บทตั้งแต่ปี 2544 รวมเป็นเวลานับสิบปี

โดยอาจารย์ ดร.ประพันธศักดิ์ บูรณะประภา ประธานมูลนิธิความร่วมมือเพื่อความปลอดภัยทางถนน นายกสมาคมวิทยาการจราจรและขนส่งแห่งประเทศไทย ฯลฯ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก นักวิชาการผู้ไม่มีส่วนได้เสีย ยืนยันตลอดเวลาและไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงแนวสร้างถนนและสะพานใหม่ เพราะออกแบบผิดหลักวิศวกรรมทางหลวงอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นการดำเนินการทุจริตต่อวิชาชีพและผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง จะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใช้ถนน งบประมาณการก่อสร้างมากขึ้นับพันล้านบาท และประชาชนที่มาจากแหล่งทางเหนือมีจำนวนมากกว่าประชาชนที่มาจากทางใต้ จะทำให้ประชาชนต้องสิ้นเปลืองค่าเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ขณะที่อาจารย์ ดร.อภิชาต อนุกูลอำไพ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ นายกสมาคมทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ได้ยืนยันว่าถนนใหม่ก่อสร้างผิดหลักวิศวกรรมชบประทาน เพราะจะมีถนนแนวใหม่สร้างขวางทางน้ำไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ ก่อให้เกิดปัญหาการระบายน้ำ และจะทำให้เกิดน้ำท่วมจ.ปทุมธานี อันเป็นปัญหาประจำปีของชาวปทุมธานีและอาจต่อเนื่องถึงกรุงเทพฯ และการก่อสร้างทางลอดน้ำที่กรมทางหลวง ไม่เพียงพอต่อการระบายน้ำแน่นอน นอกจากต้องทำทางยกระดับเป็นถนนลอยฟ้าตลอดสาย
"การที่กรมทางหลวงเปลี่ยนแนวถนนใหม่ผิดไปจากมติ ครม.เมื่่อวันที่ 12 ก.ค. 39 จึงเป็นการผิดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอย่างร้ายแรง อีกทั้งการเปลี่ยนแนวถนนดำเนินการโดยกรมทางหลวงนี้ ผิดหลักวิศวกรรมทางหลวงและวิศวกรรมชลประทาน โดยมีนักวิชาการอาวุโส นายกสมาคมวิชาชีพวิศวกร 2 ท่าน คัดค้านการเปลี่ยนแนวถนนดังกล่าว เพราะจะทำให้ประเทศชาติเสียหายตลอดกาล การเปลี่ยนแนวถนนใหม่เพียงเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนอสังหาริมทรัพย์ "

ชาวบ้านระบุต่อว่า หากพิจารณาดูแผนที่ทางอกาศเปรียบเทียบกับแนวถนนทั้งสองแนวทางแล้ว วิญญชนย่อมได้เห็นง่ายว่า แนวทางไหนเป็นแนวทางที่ถูกหลักวิศวกรรมทางหลวงและวิศวกรรมชลประทาน แนวทางไหนเป็นแนวทางที่ถูกหลักวิศวกรรมทางหลวงและวิศวกรรมชลประทาน อีกทั้งสะพานข้ามแม่น้ำตามแนวใหม่ยาว 440 เมตร ส่วนสะพานตามแนวเดิมกว้างเพียง 340 เมตร การกำหนดจุดเริ่มต้นที่หลักกม.ที่ 64 บนถนนกาญจนาภิเษกนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่อาจจะทุจริตในวิชาชีพของเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง

ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการตามความต้องการของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเปิดหน้าที่ดินใหม่ต่อไประหว่างถนนวงแหวนรอบนอก (ถนนกาญจนาภิเษก) กับถนนวงแหวนรอบนอกสุด เป็นการเปิดหน้าที่ดินหลายพันไร่ให้แก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อไป

ดังนั้น ชาวปทุมธานีและผู้มีส่วนได้เสีย จึงเรียนเพื่อให้อธิบดีกรมทางหลวง พิจารณาตามระเบียบสำนักนายกฯเมื่อปี 2548 ระงับการดำเนินการเปลี่ยนแนวถนนใหม่ ตามที่นักวิชาการอาวุโสซึ่งไม่มีส่วนได้เสียทั้งสองได้คัดค้าน.
กำลังโหลดความคิดเห็น