รอยเตอร์/เอเอฟพี - ภาพวาดสีน้ำมันที่จิตรกรเอกชาวสเปน “ปาโบล ปิกัสโซ” รังสรรค์ขึ้นในปี 1955 กลายเป็นงานศิลปะราคาแพงที่สุดชิ้นใหม่ของโลก หลังมีเศรษฐีใจป้ำทุ่มเงินซื้อผ่านเวทีประมูลของบริษัทคริสตีส์สูงถึง 179.4 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 6,058 ล้านบาท
คริสตีส์ได้ประเมินราคาภาพวาด Les femmes d’Alger (Version ‘O’) เอาไว้ราว 140 ล้านดอลลาร์ แต่ปรากฏว่ามีผู้สนใจโทรศัพท์เข้ามาเสนอราคาแข่งกันหลายรายจนราคาพุ่งถึง 160 ล้านดอลลาร์ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ตัวเลข 179,365,000 ดอลลาร์ รวมค่าคอมมิชชัน 12 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาในการแข่งขันเสนอราคาทั้งสิ้น 11 นาทีครึ่ง
บริษัทจัดการประมูลชื่อโด่งดังระดับโลกแห่งนี้ระบุว่า นี่เป็นราคาสูงที่สุดเป็นสถิติใหม่สำหรับงานศิลปะซึ่งนำออกมาประมูลแข่งขันกัน ทว่ายังคงห่างไกลจากราคาการซื้อขายกันเป็นการภายใน ซึ่งมีรายงานว่า กาตาร์ยอมควักเงินถึง 300 ล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อภาพวาด When will you marry? ของ ปอล โกแกง ศิลปินยุคโพสต์อิมเพรสชั่นนิสต์ชาวฝรั่งเศสเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
ในอีกไม่กี่นาทีต่อมา รูปปั้นบรอนซ์ชื่อ L’homme au doigt หรือ “ชายชี้นิ้ว” ที่ปั้นโดย อัลแบร์โต จีอาโกเมตตี ศิลปนชาวสวิส ในปี 1947 ก็สร้างสถิติโลกใหม่สำหรับงานประติมากรรมด้วยราคาประมูลสูงถึง 141.3 ล้านดอลลาร์ ไม่ห่างนักจากราคาเบื้องต้นที่คริสตีส์ประเมินเอาไว้ 130 ล้านดอลลาร์
นอกจากนั้น ในงานนี้ยังมีงานศิลปะอีกหลายชิ้นที่ได้ราคาประมูลเป็นสถิติใหม่ของโลก สำหรับผลงานของศิลปินหลายๆ คน ได้แก่ เคดี้ โนแลนด์, ฌอง ดูบุฟเฟต์, ไดแอน อาร์บัส, คายิม ซุทีน, และ ปีเตอร์ ดอยก์
คริสตีส์ไม่เปิดเผยชื่อบุคคลที่ชนะการประมูลผลงานเหล่านี้ โดยบอกเพียงว่ามีลูกค้าทั้งจากเอเชีย, อ่าวอาหรับ, รัสเซีย, ยุโรป, และสหรัฐฯ เข้าร่วมแข่งขัน ทั้งนี้ผู้ที่เสนอราคามาจากประเทศต่างๆ 35 ประเทศทีเดียว
การที่ตลาดงานศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดผลงานยุคโมเดิร์น และผลงานร่วมสมัย มีการเติบโตขยายตัวอย่างมากมายเช่นนี้ สาเหตุสำคัญมาจากมีนักลงทุนเอกชนจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสนใจจากเอเชียและอ่าวอาหรับซึ่งแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับผลงานศิลปะที่เคยครองสถิติขายในงานประมูลได้ราคาสูงสุด คือ ชุดภาพเขียน Three studies of Lucian Freud ของ ฟรานซิส เบคอน จิตรกรชาวอังกฤษ ซึ่งได้ราคา 142.4 ล้านดอลลาร์ ในปี 2013
ส่วนงานประติมากรรมที่ราคาแพงที่สุดในโลกในการประมูล ชิ้นก่อนหน้านี้ ก็คือ รูปปั้น “Homme qui marche I” ฝีมือ จีอาโกเมตตี อีกเช่นกัน โดยครองสถิติด้วยราคา 104.3 ล้านดอลลาร์ มาตั้งแต่ปี 2010
ภาพวาด ปิกัสโซ นั้น ถือเป็นสินค้าไฮไลต์ของการประมูลซึ่งจัดขึ้นในวันจันทร์ (11 พ.ค.) ที่นครนิวยอร์ก ภายใต้ชื่อ “มองสู่อดีต” (Looking Forward to the Past) ซึ่งเป็นการเปิดประมูลผลงานของศิลปินชื่อก้องโลกตั้งแต่ โมเนต์ ยัน แอนดี วอร์ฮอล รวม 35 ชิ้น โดยคริสตีส์ได้ตั้งราคาประเมินรวมไว้ที่ 500 ล้านดอลลาร์ แต่ได้ราคาจริงๆ รวมกว่า 705 ล้านดอลลาร์
คริสตีส์ได้ประเมินราคาภาพวาด Les femmes d’Alger (Version ‘O’) เอาไว้ราว 140 ล้านดอลลาร์ แต่ปรากฏว่ามีผู้สนใจโทรศัพท์เข้ามาเสนอราคาแข่งกันหลายรายจนราคาพุ่งถึง 160 ล้านดอลลาร์ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ตัวเลข 179,365,000 ดอลลาร์ รวมค่าคอมมิชชัน 12 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาในการแข่งขันเสนอราคาทั้งสิ้น 11 นาทีครึ่ง
บริษัทจัดการประมูลชื่อโด่งดังระดับโลกแห่งนี้ระบุว่า นี่เป็นราคาสูงที่สุดเป็นสถิติใหม่สำหรับงานศิลปะซึ่งนำออกมาประมูลแข่งขันกัน ทว่ายังคงห่างไกลจากราคาการซื้อขายกันเป็นการภายใน ซึ่งมีรายงานว่า กาตาร์ยอมควักเงินถึง 300 ล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อภาพวาด When will you marry? ของ ปอล โกแกง ศิลปินยุคโพสต์อิมเพรสชั่นนิสต์ชาวฝรั่งเศสเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
ในอีกไม่กี่นาทีต่อมา รูปปั้นบรอนซ์ชื่อ L’homme au doigt หรือ “ชายชี้นิ้ว” ที่ปั้นโดย อัลแบร์โต จีอาโกเมตตี ศิลปนชาวสวิส ในปี 1947 ก็สร้างสถิติโลกใหม่สำหรับงานประติมากรรมด้วยราคาประมูลสูงถึง 141.3 ล้านดอลลาร์ ไม่ห่างนักจากราคาเบื้องต้นที่คริสตีส์ประเมินเอาไว้ 130 ล้านดอลลาร์
นอกจากนั้น ในงานนี้ยังมีงานศิลปะอีกหลายชิ้นที่ได้ราคาประมูลเป็นสถิติใหม่ของโลก สำหรับผลงานของศิลปินหลายๆ คน ได้แก่ เคดี้ โนแลนด์, ฌอง ดูบุฟเฟต์, ไดแอน อาร์บัส, คายิม ซุทีน, และ ปีเตอร์ ดอยก์
คริสตีส์ไม่เปิดเผยชื่อบุคคลที่ชนะการประมูลผลงานเหล่านี้ โดยบอกเพียงว่ามีลูกค้าทั้งจากเอเชีย, อ่าวอาหรับ, รัสเซีย, ยุโรป, และสหรัฐฯ เข้าร่วมแข่งขัน ทั้งนี้ผู้ที่เสนอราคามาจากประเทศต่างๆ 35 ประเทศทีเดียว
การที่ตลาดงานศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดผลงานยุคโมเดิร์น และผลงานร่วมสมัย มีการเติบโตขยายตัวอย่างมากมายเช่นนี้ สาเหตุสำคัญมาจากมีนักลงทุนเอกชนจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสนใจจากเอเชียและอ่าวอาหรับซึ่งแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับผลงานศิลปะที่เคยครองสถิติขายในงานประมูลได้ราคาสูงสุด คือ ชุดภาพเขียน Three studies of Lucian Freud ของ ฟรานซิส เบคอน จิตรกรชาวอังกฤษ ซึ่งได้ราคา 142.4 ล้านดอลลาร์ ในปี 2013
ส่วนงานประติมากรรมที่ราคาแพงที่สุดในโลกในการประมูล ชิ้นก่อนหน้านี้ ก็คือ รูปปั้น “Homme qui marche I” ฝีมือ จีอาโกเมตตี อีกเช่นกัน โดยครองสถิติด้วยราคา 104.3 ล้านดอลลาร์ มาตั้งแต่ปี 2010
ภาพวาด ปิกัสโซ นั้น ถือเป็นสินค้าไฮไลต์ของการประมูลซึ่งจัดขึ้นในวันจันทร์ (11 พ.ค.) ที่นครนิวยอร์ก ภายใต้ชื่อ “มองสู่อดีต” (Looking Forward to the Past) ซึ่งเป็นการเปิดประมูลผลงานของศิลปินชื่อก้องโลกตั้งแต่ โมเนต์ ยัน แอนดี วอร์ฮอล รวม 35 ชิ้น โดยคริสตีส์ได้ตั้งราคาประเมินรวมไว้ที่ 500 ล้านดอลลาร์ แต่ได้ราคาจริงๆ รวมกว่า 705 ล้านดอลลาร์