“พล.อ.สนธิ” ไม่ห่วง นปก.เคลื่อนไหวเชื่อไร้เพาเวอร์ ลั่นเลือกตั้งแน่ปลายปีนี้ ไม่ว่าร่าง รธน.จะผ่านประชามติหรือไม่ เผยหากไม่ผ่านจะนำ รธน.ปี 2540 มาแก้ไขก่อนประกาศใช้ แต่จะไม่แทรกแซงเรื่องระยะเวลาการสมัครเป็นสมาชิกพรรค โฆษกรัฐบาล อัด “ทักษิณ” ไม่สร้างสรรค์ กล่าวหา ร่าง รธน.ทำ ปชต.ถอยหลังลงคลอง ชี้เหตุที่ต้องร่าง รธน.ใหม่เพราะเกิดปัญหาการเมือง
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นความแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ ว่า จะมีการเลือกตั้งในปลายปีนี้อย่างแน่นอน ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการทำประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคม นี้หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่ผ่านการลงประชามติแล้ว ก็จำเป็นจะต้องนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาบังคับใช้ โดยจะไม่นำมาใช้ทั้งหมด ซึ่งการนำมาใช้จะต้องมีการแก้ไขบางมาตราอย่างแน่นอน แต่จะไม่มีการแก้ไขในเรื่องระยะเวลาการไปสมัครสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อกลั่นแกล้งนักการเมืองอย่างแน่นอน
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวว่ากระแสคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่ไม่อยากได้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คมช.ไม่ได้พูดคุยชัดเจนถึงประเด็นกรณีหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับฉบับปี 2550 ไม่ผ่านแล้วจะมีการหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ เพราะเชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 น่าจะผ่านการลงประชามติ เพราะผู้ที่ร่างทำการบ้าน มาอย่างดีและหวังดีกับประเทศ อย่างไรก็ตาม คมช.หวังจะให้มีการเลือกตั้งในปลายปีนี้อย่างแน่นอน หากแต่ไม่มีอะไรที่มาทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายอีก
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ถือเป็นการถอยหลังของประชาธิปไตยถือเป็นมุมมองของอดีตผู้นำในเชิงลบ น่าจะมองในเชิงสร้างสรรค์กว่านี้ เพราะร่างรัฐธรรมนูญ ปี2550 เกิดจากเหตุการณ์อะไรต่างๆ ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งมีปัญหาจากสถานการณ์การเมืองและอีกหลายๆ เรื่อง
ร.อ.นพ.ยงยุทธ ยืนยันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะการส่งเสริม ขยายสิทธิ ให้กับประชาชน ลดการผูกขาดจากอำนาจรัฐ ส่งเสริมระบบการตรวจสอบให้มีความเข้มแข็ง รัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น ร่างโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประชาชนสามารถออกเสียงลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ ตากติกาหลักของประเทศที่ตั้งเอาไว้
“ขอให้ประชาชนมองเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ แยกแยะเรื่องการเมืองออกไป รัฐบาลไม่ได้ประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งหวังหรือชี้ให้ประชาชนรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว แต่รณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ เพราะรัฐธรรมนูญถือเป็นกติกาหลักสำคัญของประเทศ ส่วนผู้ที่รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หรือคว่ำร่างรัฐธรรมนูญนั้น ไม่รู้ว่ามีนัยยะ อะไรจากผลพวงดังกล่าว แต่ขอให้ประชาชนใช้ดุลยพินิจมองภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หากมีมาตราใดไม่เป็นที่พอใจ ประชาชนก็สามารถลงชื่อจำนวน หมื่นคนเพื่อเสนอแก้ไขได้”
ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ บอกว่าผลพวงของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาจากการแก้แค้นทางการเมืองนั้น อาจเป็นการมองในเชิงลบยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้แก้แค้นใคร แต่ปัญหาเกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองและอีกหลายประการดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ท้ายที่สุดตนเชื่อว่าประชาชนจะใช้ดุลยพินิจด้วยตัวเองพิจารณาได้ ระหว่างนี้ตนขอให้ประชาชนได้ศึกษาข้อมูล เนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้แจกจ่ายไปตามครัวเรือน ก่อนที่จะไปลงประชามติในวันที่ 19 ส.ค.นี้
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ปลุกกระแสสังคมคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การที่สังคมมีความคิดเห็นต่างกัน ถือเป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อได้ยินได้ฟังข่าวสาร จะยิ่งทำให้เกิดความคิดและวิจารณญาณมากขึ้น และยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี ส่วนการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่ปฏิบัติของประชาชน หากร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ผ่านการลงประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาล จะต้องร่วมกันพิจารณาเลือกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่ง เพื่อมาปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้ ซึ่งถือเป็นแนวทางปกติอยู่แล้ว
นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ความพยายามให้ล้มร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ข่าวเป็นอย่างนั้น แต่ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้กับหู จึงไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านหลายพื้นที่โทรศัพท์เข้ามาบอกว่า มีผู้อ้างเป็นลูกศิษย์ตนออกมาเคลื่อนไหวไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ และยังบอกว่ายังเป็นลูกศิษย์ทำงานอยู่กับตน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
ส่วนเหตุใดการเคลื่อนไหวของกลุ่มไทยรักไทย-นปก. และกระแสข่าวของอดีตนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ถือเป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ นายเสนาะ กล่าวว่า ไม่ขอตอบ แต่เชื่อว่าสื่อมวลชนคงเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นความแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ ว่า จะมีการเลือกตั้งในปลายปีนี้อย่างแน่นอน ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการทำประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคม นี้หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่ผ่านการลงประชามติแล้ว ก็จำเป็นจะต้องนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาบังคับใช้ โดยจะไม่นำมาใช้ทั้งหมด ซึ่งการนำมาใช้จะต้องมีการแก้ไขบางมาตราอย่างแน่นอน แต่จะไม่มีการแก้ไขในเรื่องระยะเวลาการไปสมัครสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อกลั่นแกล้งนักการเมืองอย่างแน่นอน
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวว่ากระแสคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่ไม่อยากได้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คมช.ไม่ได้พูดคุยชัดเจนถึงประเด็นกรณีหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับฉบับปี 2550 ไม่ผ่านแล้วจะมีการหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ เพราะเชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 น่าจะผ่านการลงประชามติ เพราะผู้ที่ร่างทำการบ้าน มาอย่างดีและหวังดีกับประเทศ อย่างไรก็ตาม คมช.หวังจะให้มีการเลือกตั้งในปลายปีนี้อย่างแน่นอน หากแต่ไม่มีอะไรที่มาทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายอีก
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ถือเป็นการถอยหลังของประชาธิปไตยถือเป็นมุมมองของอดีตผู้นำในเชิงลบ น่าจะมองในเชิงสร้างสรรค์กว่านี้ เพราะร่างรัฐธรรมนูญ ปี2550 เกิดจากเหตุการณ์อะไรต่างๆ ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งมีปัญหาจากสถานการณ์การเมืองและอีกหลายๆ เรื่อง
ร.อ.นพ.ยงยุทธ ยืนยันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะการส่งเสริม ขยายสิทธิ ให้กับประชาชน ลดการผูกขาดจากอำนาจรัฐ ส่งเสริมระบบการตรวจสอบให้มีความเข้มแข็ง รัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น ร่างโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประชาชนสามารถออกเสียงลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ ตากติกาหลักของประเทศที่ตั้งเอาไว้
“ขอให้ประชาชนมองเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ แยกแยะเรื่องการเมืองออกไป รัฐบาลไม่ได้ประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งหวังหรือชี้ให้ประชาชนรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว แต่รณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ เพราะรัฐธรรมนูญถือเป็นกติกาหลักสำคัญของประเทศ ส่วนผู้ที่รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หรือคว่ำร่างรัฐธรรมนูญนั้น ไม่รู้ว่ามีนัยยะ อะไรจากผลพวงดังกล่าว แต่ขอให้ประชาชนใช้ดุลยพินิจมองภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หากมีมาตราใดไม่เป็นที่พอใจ ประชาชนก็สามารถลงชื่อจำนวน หมื่นคนเพื่อเสนอแก้ไขได้”
ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ บอกว่าผลพวงของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาจากการแก้แค้นทางการเมืองนั้น อาจเป็นการมองในเชิงลบยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้แก้แค้นใคร แต่ปัญหาเกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองและอีกหลายประการดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ท้ายที่สุดตนเชื่อว่าประชาชนจะใช้ดุลยพินิจด้วยตัวเองพิจารณาได้ ระหว่างนี้ตนขอให้ประชาชนได้ศึกษาข้อมูล เนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้แจกจ่ายไปตามครัวเรือน ก่อนที่จะไปลงประชามติในวันที่ 19 ส.ค.นี้
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ปลุกกระแสสังคมคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การที่สังคมมีความคิดเห็นต่างกัน ถือเป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อได้ยินได้ฟังข่าวสาร จะยิ่งทำให้เกิดความคิดและวิจารณญาณมากขึ้น และยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี ส่วนการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่ปฏิบัติของประชาชน หากร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ผ่านการลงประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาล จะต้องร่วมกันพิจารณาเลือกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่ง เพื่อมาปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้ ซึ่งถือเป็นแนวทางปกติอยู่แล้ว
นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ความพยายามให้ล้มร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ข่าวเป็นอย่างนั้น แต่ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้กับหู จึงไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านหลายพื้นที่โทรศัพท์เข้ามาบอกว่า มีผู้อ้างเป็นลูกศิษย์ตนออกมาเคลื่อนไหวไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ และยังบอกว่ายังเป็นลูกศิษย์ทำงานอยู่กับตน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
ส่วนเหตุใดการเคลื่อนไหวของกลุ่มไทยรักไทย-นปก. และกระแสข่าวของอดีตนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ถือเป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ นายเสนาะ กล่าวว่า ไม่ขอตอบ แต่เชื่อว่าสื่อมวลชนคงเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว