ศาลล้มลายกลางดับฝันคลังตั้งกรรมการใหม่และเรียกประชุมบอร์ดทีพีไอแทนผู้ถือหุ้น โดยศาลฯยกคำร้องบทเฉพาะกาลข้อที่ 56 และ 57 ที่ให้อำนาจผู้บริหารแผนฯในการดำเนินการ ยันกฎหมายกำหนดให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นทำได้ต่อเมื่อทีพีไอออกจากการฟื้นฟูกิจการแล้วเท่านั้น คาดจะส่งผลสะเทือนถึงการขายหุ้นให้พันธมิตร เหตุปตท.ยืนกรานจ่ายเงินค่าหุ้นต่อเมื่อทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟู ด้าน"ประเสริฐ"บิ๊กปตท.นัดจับเข่าคุยผู้บริหารแผนฯทีพีไอ เพื่อหาทางออกสัปดาห์หน้า
วานนี้ (16 ก.ย.) ศาลล้มละลายกลางอ่านคำสั่งตามคำร้องของผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด(มหาชน) หรือทีพีไอ ในเรื่องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท โดยศาลได้พิเคราะห์ประกอบคำคัดค้านของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ โดยให้ยกคำร้องบทเฉพาะกาล ข้อที่ 56 ที่ผู้บริหารแผนฯเสนอเพิ่มเติม ที่ให้ผู้บริหารแผนของบริษัทฯเป็นผู้ใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลง และแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมจากจำนวนกรรมการที่มีอยู่เดิมตามจำนวนที่เห็นสมควร
โดยผู้บริหารแผนฯอาจจัดหรือเรียกให้มีการประชุมคณะกรรมการได้ และบทเฉพาะกาล ข้อที่ 57 ระบุว่า ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ การเรียกประชุมคณะกรรมการบริษัทฯจะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากผู้บริหารแผนฯบริษัทก่อน
นายกมล ธีรเวชพลกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง กล่าวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมบทเฉพาะกาลข้อที่ 56 และข้อ 57 ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท และในช่วงที่ลูกหนี้อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งกรรมการบริษัทแทนกรรมการที่ว่างลง และเมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ผู้บริหารแผนฯมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินและกิจการคืนให้กับผู้บริหารลูกหนี้โดยเร็ว
โดยกรณีที่ศาลยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ แต่บริษัทฯมีกรรมการว่างจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ ตามกฎหมายได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเพื่อแต่งตั้งกรรมการใหม่ รวมทั้งผู้บริหารแผนฯจะใช้สิทธิ์ของผู้ถือหุ้นได้ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยสิทธิลงคะแนนแต่งตั้งกรรมการเป็นสิทธิขอผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะ ผู้บริหารแผนฯไม่สามารถอ้างข้อกำหนดที่ให้ผู้บริหารแผนฯดำเนินการจัดการทรัพย์สิน กิจการของลูกหนี้มาตั้งกรรมการใหม่ได้
นอกจากนี้ การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีเพื่อแต่งตั้งกรรมการใหม่ จะดำเนินการได้ต่อเมื่อบริษัทออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งเห็นชอบให้แก้ไขข้อบังคับบริษัทฯในข้อที่ 15 ที่ให้คณะกรรมการบริษัทฯมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดต้องอยู่ในประเทศไทย และกรรมการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปอาจร้องขอให้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการได้ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทเพื่อมีผลผูกพันกับบริษัทได้โดยลงชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ รวมทั้งอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงตราสำคัญของทีพีไอได้
ทนายความฝ่ายผู้บริหารลูกหนี้ กล่าวว่า การที่ศาลยกคำร้องบทเฉพาะกาลของคณะผู้บริหารจะทำให้กระทรวงการคลังไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการใหม่ที่มาจากพันธมิตรเข้ามาได้จนกว่าทีพีไอ ออกจากขบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว และจะส่งผลให้การขายหุ้นเพิ่มทุนทีพีไอล่าช้าออกไป เนื่องจากปตท.ในฐานะพันธมิตรรายใหญ่ที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะต้องเป็นกรรมการบริษัทและจะชำระเงินค่าหุ้นต่อเมื่อทีพีไอออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว
ดังนั้น ทางออกของปตท.คือ ต้องจ่ายเงินชำระค่าหุ้นทีพีไอก่อน โดยยังไม่มีสิทธิในการเข้าเป็นกรรมการ จนกว่าจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ แล้วเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯขึ้นใหม่ หากปตท.ตัดสินใจแนวทางนี้ก็ต้องตอบผู้ถือหุ้นให้ได้ เพราะอาจเป็นความเสี่ยงที่ใส่เงินลงทุนแล้วแต่ไม่มีอำนาจดูแลจัดการได้
ด้านนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สัปดาห์หน้าปตท.จะไปหารือกับผู้บริหารแผนฯทีพีไอถึงแนวทางการดำเนินการต่อไป โดยย้ำว่า ปตท.จะจ่ายค่าหุ้นเพิ่มทุนหลังจากทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูแล้ว
ขณะเดียวกันนายประชัย ในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง ให้มีคำสั่งชะลอคำสั่งให้คลังขายหุ้นทีพีไอออกไปจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งออกมา เมื่อวานนี้ (16 ก.ย.)
วานนี้ (16 ก.ย.) ศาลล้มละลายกลางอ่านคำสั่งตามคำร้องของผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด(มหาชน) หรือทีพีไอ ในเรื่องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท โดยศาลได้พิเคราะห์ประกอบคำคัดค้านของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ โดยให้ยกคำร้องบทเฉพาะกาล ข้อที่ 56 ที่ผู้บริหารแผนฯเสนอเพิ่มเติม ที่ให้ผู้บริหารแผนของบริษัทฯเป็นผู้ใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลง และแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมจากจำนวนกรรมการที่มีอยู่เดิมตามจำนวนที่เห็นสมควร
โดยผู้บริหารแผนฯอาจจัดหรือเรียกให้มีการประชุมคณะกรรมการได้ และบทเฉพาะกาล ข้อที่ 57 ระบุว่า ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ การเรียกประชุมคณะกรรมการบริษัทฯจะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากผู้บริหารแผนฯบริษัทก่อน
นายกมล ธีรเวชพลกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง กล่าวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมบทเฉพาะกาลข้อที่ 56 และข้อ 57 ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท และในช่วงที่ลูกหนี้อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งกรรมการบริษัทแทนกรรมการที่ว่างลง และเมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ผู้บริหารแผนฯมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินและกิจการคืนให้กับผู้บริหารลูกหนี้โดยเร็ว
โดยกรณีที่ศาลยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ แต่บริษัทฯมีกรรมการว่างจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ ตามกฎหมายได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเพื่อแต่งตั้งกรรมการใหม่ รวมทั้งผู้บริหารแผนฯจะใช้สิทธิ์ของผู้ถือหุ้นได้ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยสิทธิลงคะแนนแต่งตั้งกรรมการเป็นสิทธิขอผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะ ผู้บริหารแผนฯไม่สามารถอ้างข้อกำหนดที่ให้ผู้บริหารแผนฯดำเนินการจัดการทรัพย์สิน กิจการของลูกหนี้มาตั้งกรรมการใหม่ได้
นอกจากนี้ การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีเพื่อแต่งตั้งกรรมการใหม่ จะดำเนินการได้ต่อเมื่อบริษัทออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้วเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งเห็นชอบให้แก้ไขข้อบังคับบริษัทฯในข้อที่ 15 ที่ให้คณะกรรมการบริษัทฯมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดต้องอยู่ในประเทศไทย และกรรมการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปอาจร้องขอให้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการได้ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทเพื่อมีผลผูกพันกับบริษัทได้โดยลงชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ รวมทั้งอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงตราสำคัญของทีพีไอได้
ทนายความฝ่ายผู้บริหารลูกหนี้ กล่าวว่า การที่ศาลยกคำร้องบทเฉพาะกาลของคณะผู้บริหารจะทำให้กระทรวงการคลังไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการใหม่ที่มาจากพันธมิตรเข้ามาได้จนกว่าทีพีไอ ออกจากขบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว และจะส่งผลให้การขายหุ้นเพิ่มทุนทีพีไอล่าช้าออกไป เนื่องจากปตท.ในฐานะพันธมิตรรายใหญ่ที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน จะต้องเป็นกรรมการบริษัทและจะชำระเงินค่าหุ้นต่อเมื่อทีพีไอออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว
ดังนั้น ทางออกของปตท.คือ ต้องจ่ายเงินชำระค่าหุ้นทีพีไอก่อน โดยยังไม่มีสิทธิในการเข้าเป็นกรรมการ จนกว่าจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ แล้วเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯขึ้นใหม่ หากปตท.ตัดสินใจแนวทางนี้ก็ต้องตอบผู้ถือหุ้นให้ได้ เพราะอาจเป็นความเสี่ยงที่ใส่เงินลงทุนแล้วแต่ไม่มีอำนาจดูแลจัดการได้
ด้านนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สัปดาห์หน้าปตท.จะไปหารือกับผู้บริหารแผนฯทีพีไอถึงแนวทางการดำเนินการต่อไป โดยย้ำว่า ปตท.จะจ่ายค่าหุ้นเพิ่มทุนหลังจากทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูแล้ว
ขณะเดียวกันนายประชัย ในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง ให้มีคำสั่งชะลอคำสั่งให้คลังขายหุ้นทีพีไอออกไปจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งออกมา เมื่อวานนี้ (16 ก.ย.)