ผู้จัดการรายวัน - ม็อบเกษตรกรบุกยึดสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ใช่โซ่คล้อง ปิดล็อคไม่ให้พนักงานเข้าทำงาน อ้างเพื่อคุ้มครองข้อมูลหนี้สินเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ ก่อนนายกฯเป็นประธานประชุมบอร์ด 4 ส.ค. ขณะที่ รักษาการเลขาฯกองทุนฟื้นฟูฯ แจ้งความข้อหาบุกรุก ระบุ “เด็กสมศักดิ์” ทำสับสนอ้างสิทธิ์เป็นผู้บริหารสูงสุด เรียกประชุมพนักงาน
นายพิสิฐ พัฒนะนุกิจ รักษาการรองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการกฤษกีกาได้ตีความข้อกฎหมายระบุว่า ตนเป็นผู้มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯได้ ตั้งแต่ช่วงเที่ยง ของวันที่ 1 ส.ค.เป็นต้นมา ได้มีกลุ่มบุคคลประมาณ 50-70 คน ได้เข้าไปยึดสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งอยู่บริเวณตลาด อ.ต.ก. ถนนกำแพงเพชร โดยนำโซ่และกุญแจไปคล้องห้องสำนักงานจัดการหนี้ พร้อมกับล็อกประตูและปิดกั้นไม่ให้พนักงานเข้าปฏิบัติงาน อีกทั้งได้นำเสื่อมาปูนอนตลอดบนพื้นที่ของสำนักงานฯ ตั้งแต่ชั้น 1 ถึง ชั้น 4 โดยระบุว่าต้องการคุ้มครองข้อมูลหนี้สินของเกษตรกรที่ลงทะเบียนเอาไว้จนกว่าจะถึงวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในวันที่ 4 ส.ค.นี้
นายพิสิษฐ กล่าวว่าตนได้ไปแจ้งความไว้ที่ สน.บางซื่อ เพื่อขอให้อำนวยความสะดวกให้พนักงานได้เข้าทำงาน และจากการเจรจากับกลุ่มบุคคลที่เข้ายึดสำนักงานฯ ระบุว่าในวันที่ 3 ส.ค.จึงจะเปิดให้พนักงานเข้าทำงานได้ แต่มีเงื่อนไขไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยว กับข้อมูลหนี้เกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ และคงต้องรอดูว่าในวันที่ 3 ส.ค.นี้ กลุ่มที่ยึดสำนักงานฯไว้จะทำตามที่เจรจากันไว้หรือไม่
นายพิสิฐ กล่าวว่า จากการเข้ายึดสำนักงานฯดังกล่าวเป็นผลให้พนักงาน ไม่สามารถจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ในวันที่ 4 ส.ค.ได้ เนื่องจากเอกสารบางส่วนติดอยู่ในห้องที่ถูกคล้องโซ่และล็อคกุญแจไว้ จึงไม่เข้าใจว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้เกษตรกรได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างไร อีกทั้งยังเป็นผลให้พนักงานของสำนักงานฯกว่า 200 คนที่อยู่ในต่างจังหวัดไม่ได้รับเงินเดือนของเดือนก.ค.2548 เนื่องจากเอกสารที่ตนจะต้องเซ็นจ่ายเงินเดือน ให้ติดอยู่ในห้องนั้นด้วย
นายพิสิฐ กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา นายธนพร ศรียากูล เลขานุการส่วนตัว นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ที่คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความว่าการดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯไม่ชอบด้วยกฎหมายได้เข้ามายังสำนักงานฯพร้อมกับอ้างสิทธิ์และแสดงตนว่าเป็นพนักงานระดับสูงสุด และเรียกประชุมพนักงานเพื่อเตรียมข้อมูลการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ จนทำให้พนักงานสับสนในการปฏิบัติงานอย่างมาก
อีกทั้งการที่คณะกรรมการกฤษฏีกาได้ตีความออกมาล่าสุดว่า ตน คือผู้มีอำนาจ ที่แท้จริง ยิ่งเป็นผลให้นายธนพรต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะก่อนหน้านี้ในเดือน มี.ค.2548 ตนได้เซ็นคำสั่งยืนยันตามที่ นายสุริยันต์ บุญนาคค้า เลขาธิการกองทุนฯ ให้นายธนพร พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งขณะนั้นไม่มีใครเชื่อว่าตนมีอำนาจ แต่บัดนี้คณะกรรมการกฤษฏี ตีความออกมาแล้วว่าตนคือผู้มีอำนาจเท่ากับเป็นการยืนยันว่าคำสั่งที่ตนให้นายธนพรพ้นจากตำแหน่งมีผลทางกฎหมายจริง ๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรในนามกลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย กว่า 300 คน ได้เดินทางมาปิดล้อมสำนักงานกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปภายในตัวอาคาร โดยอ้างว่า เนื่องจากเอกสารสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับหนี้สินจะถูกโยกย้ายไปตามจังหวัดต่างๆ หรือถูกทำลายโดยผู้ไม่หวังดี
นายพิพัฒน์ บุญเสริมรัตน์ ชาว จ.ชัยนาท หนึ่งในแกนนำของกลุ่มดังกล่าว กล่าวว่า ทางกลุ่มไม่ได้มาเรียกร้องรัฐบาลแต่อย่างใด เพียงเพื่อต้องการปกป้อง เอกสารสำคัญต่างๆ ของเกษตรกรเพื่อไม่ให้ถูกทำลายก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะมาเป็นประธานการประชุมกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในวันที่ 4 ส.ค.นี้
“ทางกลุ่มมั่นใจว่า นายกรัฐมนตรีจะแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ และคงไม่ผิดคำสัญญาอย่างแน่นอน เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นถึงผู้นำประเทศ ทั้งนี้ทางกลุ่มยืนยันจะปิดล้อมสำนักงานดังกล่าวจนกว่าจะมีการประชุมและได้ข้อยุติที่ชัดเจนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาทันที และขณะนี้ บรรดาเหล่าแกนนำจากจังหวัดต่างๆ จะทยอยเดินทางมาสมทบอย่างต่อเนื่อง”
นายพิสิฐ พัฒนะนุกิจ รักษาการรองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการกฤษกีกาได้ตีความข้อกฎหมายระบุว่า ตนเป็นผู้มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯได้ ตั้งแต่ช่วงเที่ยง ของวันที่ 1 ส.ค.เป็นต้นมา ได้มีกลุ่มบุคคลประมาณ 50-70 คน ได้เข้าไปยึดสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งอยู่บริเวณตลาด อ.ต.ก. ถนนกำแพงเพชร โดยนำโซ่และกุญแจไปคล้องห้องสำนักงานจัดการหนี้ พร้อมกับล็อกประตูและปิดกั้นไม่ให้พนักงานเข้าปฏิบัติงาน อีกทั้งได้นำเสื่อมาปูนอนตลอดบนพื้นที่ของสำนักงานฯ ตั้งแต่ชั้น 1 ถึง ชั้น 4 โดยระบุว่าต้องการคุ้มครองข้อมูลหนี้สินของเกษตรกรที่ลงทะเบียนเอาไว้จนกว่าจะถึงวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในวันที่ 4 ส.ค.นี้
นายพิสิษฐ กล่าวว่าตนได้ไปแจ้งความไว้ที่ สน.บางซื่อ เพื่อขอให้อำนวยความสะดวกให้พนักงานได้เข้าทำงาน และจากการเจรจากับกลุ่มบุคคลที่เข้ายึดสำนักงานฯ ระบุว่าในวันที่ 3 ส.ค.จึงจะเปิดให้พนักงานเข้าทำงานได้ แต่มีเงื่อนไขไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยว กับข้อมูลหนี้เกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ และคงต้องรอดูว่าในวันที่ 3 ส.ค.นี้ กลุ่มที่ยึดสำนักงานฯไว้จะทำตามที่เจรจากันไว้หรือไม่
นายพิสิฐ กล่าวว่า จากการเข้ายึดสำนักงานฯดังกล่าวเป็นผลให้พนักงาน ไม่สามารถจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ในวันที่ 4 ส.ค.ได้ เนื่องจากเอกสารบางส่วนติดอยู่ในห้องที่ถูกคล้องโซ่และล็อคกุญแจไว้ จึงไม่เข้าใจว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้เกษตรกรได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างไร อีกทั้งยังเป็นผลให้พนักงานของสำนักงานฯกว่า 200 คนที่อยู่ในต่างจังหวัดไม่ได้รับเงินเดือนของเดือนก.ค.2548 เนื่องจากเอกสารที่ตนจะต้องเซ็นจ่ายเงินเดือน ให้ติดอยู่ในห้องนั้นด้วย
นายพิสิฐ กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา นายธนพร ศรียากูล เลขานุการส่วนตัว นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ที่คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความว่าการดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯไม่ชอบด้วยกฎหมายได้เข้ามายังสำนักงานฯพร้อมกับอ้างสิทธิ์และแสดงตนว่าเป็นพนักงานระดับสูงสุด และเรียกประชุมพนักงานเพื่อเตรียมข้อมูลการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ จนทำให้พนักงานสับสนในการปฏิบัติงานอย่างมาก
อีกทั้งการที่คณะกรรมการกฤษฏีกาได้ตีความออกมาล่าสุดว่า ตน คือผู้มีอำนาจ ที่แท้จริง ยิ่งเป็นผลให้นายธนพรต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะก่อนหน้านี้ในเดือน มี.ค.2548 ตนได้เซ็นคำสั่งยืนยันตามที่ นายสุริยันต์ บุญนาคค้า เลขาธิการกองทุนฯ ให้นายธนพร พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งขณะนั้นไม่มีใครเชื่อว่าตนมีอำนาจ แต่บัดนี้คณะกรรมการกฤษฏี ตีความออกมาแล้วว่าตนคือผู้มีอำนาจเท่ากับเป็นการยืนยันว่าคำสั่งที่ตนให้นายธนพรพ้นจากตำแหน่งมีผลทางกฎหมายจริง ๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรในนามกลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย กว่า 300 คน ได้เดินทางมาปิดล้อมสำนักงานกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปภายในตัวอาคาร โดยอ้างว่า เนื่องจากเอกสารสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับหนี้สินจะถูกโยกย้ายไปตามจังหวัดต่างๆ หรือถูกทำลายโดยผู้ไม่หวังดี
นายพิพัฒน์ บุญเสริมรัตน์ ชาว จ.ชัยนาท หนึ่งในแกนนำของกลุ่มดังกล่าว กล่าวว่า ทางกลุ่มไม่ได้มาเรียกร้องรัฐบาลแต่อย่างใด เพียงเพื่อต้องการปกป้อง เอกสารสำคัญต่างๆ ของเกษตรกรเพื่อไม่ให้ถูกทำลายก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะมาเป็นประธานการประชุมกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในวันที่ 4 ส.ค.นี้
“ทางกลุ่มมั่นใจว่า นายกรัฐมนตรีจะแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ และคงไม่ผิดคำสัญญาอย่างแน่นอน เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นถึงผู้นำประเทศ ทั้งนี้ทางกลุ่มยืนยันจะปิดล้อมสำนักงานดังกล่าวจนกว่าจะมีการประชุมและได้ข้อยุติที่ชัดเจนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาทันที และขณะนี้ บรรดาเหล่าแกนนำจากจังหวัดต่างๆ จะทยอยเดินทางมาสมทบอย่างต่อเนื่อง”