xs
xsm
sm
md
lg

หัวเว่ยอัดฉีด Huawei Mobile Services โชว์ฐานผู้ใช้ประจำ 490 ล้านรายทั่วโลก

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หัวเว่ยกระตุ้นแพลตฟอร์ม Huawei Mobile Services ชู HUAWEI AppGallery เป็นแอปพลิเคชันสโตร์ที่ชาวสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตใช้งานประจำผ่านการล็อกอินด้วย HUAWEI ID ย้ำปัจจุบันมีนักพัฒนาทั่วโลกกว่า 1.8 ล้านรายที่ได้ลงทะเบียนเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบนแพลตฟอร์มให้แก่ผู้ใช้งานประจำกว่า 490 ล้านรายทั่วโลก และยังมียอดดาวน์โหลดสูงถึง 261,000 ล้านครั้งในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา

มินทร์ อัศวโชค ที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิศวกรรมเทคนิค หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวในงานประชุมนักพัฒนาแอปพลิเคชันแห่งปี Android Bangkok Conference 2020 พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีใหม่บนแพลตฟอร์ม Huawei Mobile Services (HMS) และ HUAWEI AppGallery โดยเชิญชวนนักพัฒนาแอปพลิเคชันให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์บริการทางดิจิทัลผ่านอีโคซิสเต็มของหัวเว่ย ด้วยชุดเครื่องมือครบครันที่พร้อมอำนวยความสะดวกแบบรอบด้าน พร้อมยกระดับประสบการณ์อันชาญฉลาดขึ้นไปอีกระดับให้แก่ผู้บริโภค

สำหรับแพลตฟอร์ม Huawei Mobile Services ของหัวเว่ย มี HUAWEI AppGallery เป็นแอปพลิเคชันสโตร์ที่ใช้งานได้กับทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ผ่านการล็อกอินด้วย HUAWEI ID โดยปัจจุบัน มีนักพัฒนาทั่วโลกกว่า 1.8 ล้านรายที่ได้ลงทะเบียนเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบนแพลตฟอร์มให้แก่ผู้ใช้งานประจำกว่า 490 ล้านรายทั่วโลก และยังมียอดดาวน์โหลดสูงถึง 261,000 ล้านครั้งในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา นอกจากนั้นตลาดสมาร์ทโฟนในระดับโลกในปี 2563 หัวเว่ยยังครองอันดับหนึ่ง ด้วยสัดส่วนยอดขายที่เติบโตขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์ จากอันดับที่สองในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ด้วยยอดขายที่เติบโตขึ้น 17.7 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม Huawei Mobile Services พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดการสร้างสรรค์อีโคซิสเต็มครบวงจรเพื่อ “ชีวิตเอไอไร้รอยต่อ” หรือ Seamless AI Life ผ่านกลยุทธ์ 1+8+N ซึ่งเป็นกลยุทธ์ด้าน hardware ecosystem และยังมี application ecosystem ที่มี HMS Core เป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังแอปอื่นที่อยู่ในอีโคซิสเต็มได้ด้วย เช่น HUAWEI AppGallery, HUAWEI Music, HUAWEI Video และรวมแอปจากนักพัฒนาทั่วไปก็สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งได้ด้วยเช่นกัน ด้วยการนำ SDK เข้ามาเชื่อมต่อกับ HMS

หนึ่งในกลยุทธ์เพื่อส่งมอบชีวิตเอไอไร้รอยต่อให้สมบูรณ์แบบ คือ HUAWEI AppGallery ศูนย์รวมแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนอย่างเป็นทางการของหัวเว่ย ที่มีถึง 18 หมวดหมู่ ที่ค้นหาง่าย และตอบโจทย์การใช้งานครอบคลุมทุกรูปแบบไลฟ์สไตล์โปรด ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านเกม การศึกษา ไลฟ์สไตล์ ชีวิตประจำวัน แฟชั่น และอื่นๆ พร้อมแอปล่าสุด ที่ชาวไทยนิยมใช้งาน ทั้ง เป๋าตัง, foodpanda, LINE MAN, PUBG และ Rabbit Rewards


ผู้ใช้งานยังสามารถเพลิดเพลินกับฟีเจอร์และกิจกรรมพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมใน HUAWEI AppGallery ได้ เช่น คะแนนสะสม HUAWEI Points บัตรกำนัลและแคมเปญพิเศษ และยังมีช่องทาง wish list ที่ผู้ใช้งานสามารถแจ้งความต้องการแอปใหม่ได้โดยตรง ทั้งหมดนี้ HUAWEI AppGallery ถูกออกแบบมาบนมาตรฐานความปลอดภัยถึง 4 ชั้น ตั้งแต่การตรวจจับพฤติกรรมที่เป็นอันตราย การตรวจสอบความเป็นส่วนตัว การสแกนหาข้อผิดพลาดของระบบ และการตรวจสอบความปลอดภัยด้วยชื่อจริงของผู้ใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่าแอปบนแพลตฟอร์ม AppGallery ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน

นักพัฒนาที่ต้องการเริ่มสร้างสรรค์แอปพลิเคชันใหม่หรือนำผลงานที่มีอยู่เดิมขึ้นสู่แพลตฟอร์ม HMS และ HUAWEI AppGallery สามารถเริ่มต้นได้ที่การลงทะเบียนบน https://developer.huawei.com/ จากนั้น นักพัฒนาจะต้องลงชื่อเข้าใช้บนแพลตฟอร์ม AppGallery Connect ไปที่ My Apps เพื่อสร้างแอปใหม่ โดยเลือกแพกเกจ

แอปพลิเคชันแบบ APK กรอกข้อมูลเกี่ยวกับแอป และอัปโหลดแพกเกจแอปพลิเคชันขึ้นไปบนระบบ ทั้งยังรองรับการพัฒนาแอปในรูปแบบ app bundle และ .abb อีกด้วย เมื่ออัปโหลดแอปขึ้นระบบ นักพัฒนาก็จะสามารถตรวจเช็กความถูกต้องเรียบร้อย และปล่อยแอปพลิเคชันให้สามารถดาวน์โหลดบน HUAWEI AppGallery ได้ทันที ทั้งหมดนี้ เพื่อทำให้นักพัฒนามั่นใจได้ว่าสามารถพัฒนาแอปได้ทุกรูปแบบ

ล่าสุด หัวเว่ย ได้เปิดตัวบริการ HMS Core 5.0 สำหรับนักพัฒนาทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์ Huawei Developer นำเสนอบริการต่างๆ ใน 7 ส่วนหลัก ได้แก่ App Services, Graphics, Media, AI, Smart Device รวมถึง Security System เพื่อช่วยให้นักพัฒนาได้ใช้ศักยภาพ “chip-device-cloud” ของหัวเว่ยเองอย่างเต็มที่ พัฒนาต่อยอดจาก HMS Core 4.0 โดยเพิ่มความสามารถใหม่มากกว่า 20 รายการ ต่อยอดจากด้าน AI และระบบรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่แล้วด้วยชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา เช่น Computer Graphics (CG) Kit, AR Engine, Accelerate Kit, Scene Kit  ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเพิ่มฐานนักพัฒนาในอนาคต หัวเว่ยจึงดำเนินการสร้างห้องปฏิบัติการจำนวน 3 แห่ง ในประเทศรัสเซีย โปแลนด์และเยอรมนี เพื่อเปิดให้นักพัฒนาจากทั่วโลกใช้งาน ทดสอบ และให้บริการในด้านการรับรองระบบ รวมถึงจัดตั้งศูนย์บริการนักพัฒนาระดับโลกอีก 5 แห่งในประเทศโรมาเนีย มาเลเซีย อียิปต์ เม็กซิโก และรัสเซีย

นอกจากการเปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้ลองใช้ชุดเครื่องมือต่างๆ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์บน HMS แล้ว หัวเว่ยยังนำเสนอ Migration Solution ที่สะดวกสบาย สามารถแปลงโค้ดของแอปพลิเคชันที่มีอยู่เดิมให้รองรับได้ทั้ง HMS และ GMS โดยอัตโนมัติ ผ่านทาง HMS Toolkit ซึ่งเป็น Plugin ติดตั้งใช้งานกับ Android Studio ได้ โดยชุดเครื่องมือนี้สามารถจับคู่ SDK จาก GMS SDK เข้ากับ HMS SDK ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากันได้ ก่อนจะนำไปตั้งค่าต่อบน AppGallery Connect และตั้งค่าแพกเกจแอปพลิเคชันต่อได้ที่ My Projects และ Manage APIs ได้อย่างง่ายดาย


หนึ่งในบริการของ HMS Toolkit ที่อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือ Cloud Debugging ที่มี emulator หรือชุดจำลองดีไวซ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาทดสอบและแก้ไขจุดบกพร่องของแอปพลิเคชันบนสมาร์ทดีไวซ์หลากหลายรุ่นของหัวเว่ยได้แบบทางไกลผ่านการ plug-in และไม่จำเป็นต้องมีตัวดีไวซ์เครื่องจริงอยู่ในมือ โดยแพลตฟอร์มทดสอบแอปพลิเคชันนี้เปิดให้นักพัฒนาเลือกดีไวซ์สำหรับทดสอบได้มากมายหลายรุ่น ทั้งยังรองรับระบบปฏิบัติการหลายเวอร์ชันเพื่อการทดสอบที่ทั่วถึงและแม่นยำ เพื่อการค้นหาและแก้ไขจุดบกพร่องในแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ปัจจุบัน บริการนี้สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนรุ่นเรือธงอย่าง HUAWEI P Series และ HUAWEI Mate Series โดยนักพัฒนาสามารถเข้าถึงผ่านเว็บไซต์ Huawei Developer ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น

ทางด้านชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาที่ HMS Core 5.0 มีให้บริการ รวมชุดเครื่องมือหลักๆ อย่าง HUAWEI Ads Kit ชุดบริการที่รวม HUAWEI Ads Publisher Service ที่ให้ความช่วยเหลือในการจัดทำโฆษณารูปแบบต่างๆ บนแอปพลิเคชัน ร่วมกับแบรนด์คู่ค้า โดยมีเครื่องมือในการติดตามผล และปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ สำหรับแอปพลิเคชันที่มีการซื้อ-ขาย ภายในแอป HUAWEI In-App Purchases (IAP) ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านระบบการเงินบนแอป ระบบการจัดการผลิตภัณฑ์ (PMS) ที่ดูแลเรื่องราคา และการเปลี่ยนภาษาให้ตรงกับ Location ของผู้ใช้

ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หัวเว่ยก็มี HUAWEI ML Kit ที่สนับสนุนนักพัฒนาในด้าน Machine Learning ให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันที่รองรับฟังก์ชัน AI อัจฉริยะ เช่น การอ่านข้อความจากภาพ การสแกนบัตรเครดิต หรือการแปลภาษาอัตโนมัติ พร้อมฟีเจอร์ใหม่คือ Visual Search หรือการค้นหาจากรูปภาพ โดยหัวเว่ยจะแสดงคลิปวิดีโอการใช้งานและข้อดีของแอป “Banggood” ได้รับจากการนำ ML Kit ไปใช้งานในตัวแอปอีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น