xs
xsm
sm
md
lg

จีน 2025 : ว่าด้วยการผลิตที่พาจีนก้าวกระโดดแล้วบิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

เทนเซ็นต์ หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนผู้พัฒนาแอปพลิเคชันวีแชท สามารถพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติได้แล้ว และอยู่ระหว่างการทดสอบระบบโปรโตไทป์ ซึ่งถ้าผลออกมาด้วยดี ก็คาดว่าจะช่วยให้เทนเซ็นต์สามารถไล่ตามไป่ตู้ (Baidu) คู่แข่งสัญชาติเดียวกันที่มีการเปิดตัวโครงการอะพอลโล (Apollo) รถอัจฉริยะที่ร่วมทุนกับ BAIC Group พร้อมงบประมาณในการลงทุน 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองในเลเวล 4 ให้ได้ภายในปี 2021 ด้วย (ภาพไชน่าเดลี)
เอเจนซี - กล่าวไปแล้วทุกประเทศในโลก ยังไม่มีใครที่จะเป็นคู่แข่งจีนได้ได้สถานะผู้ผลิต หรือโรงงานของโลก จีนได้รับการยอมรับในความเป็นศูนย์การผลิตที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใดๆ รวมถึงสินค้าเทคโนโลยีไฮเทคทุกราย ตั้งแต่ ไอโฟน ไปจนถึงทีวีจอแบน, แผงพลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดจนอุปกรณ์ทันสมัยอื่นๆ

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บรรดานักวิชาการ, ที่ปรึกษาธุรกิจ, นักวิจัยตลาด แม้กระทั่งรัฐบาลจีนเอง ก็เริ่มตั้งคำถามถึงความยั่งยืนในการเป็นผู้นำการแข่งขันด้านการผลิตของจีน

นายดีเออร์ เอิร์นส์ ผู้อาวุโสกลุ่ม East-West Center กล่าวว่า "แรงงานที่กำลังถดถอยลงเรื่อยๆ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น และปัญหาทักษะความสามารถในการแข่งขันของจีนที่เริ่มลดต่ำนับแต่ต้นศตวรรษใหม่

จากข้อมูลดัชนี “2016 Global Manufacturing Competitive Index” ของ ดีลอยต์ บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ระบุว่า มี 5 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ มาเลเซีย, อินเดีย, ไทย, อินโดนิเซีย และเวียดนาม ได้รับการคาดหมายว่าจะเขยิบขึ้นมาอยู่ในกลุ่ม 15 ประเทศแนวหน้าการผลิตภายในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ และอาจจะมีสถานะดั่ง "จีนใหม่" หรือ "New China" ในด้านแรงงานต้นทุนต่ำ ความคล่องตัวในศักยภาพการผลิต, ประโยชน์จากฐานประชากร, การตลาด และการเติบโตของเศรษฐกิจ

เอิร์นส์ กล่าวว่า "หลังจากหลายทศวรรษแห่งการเติบโตอย่างรวดเร็ว จีนใช้แบบจำลอง "โรงงานทั่วโลก" มีความได้เปรียบด้านปัจจัยค่าแรงต่ำ แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง คงไม่เพียงพอที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาว

ภายใต้นโยบายใหม่นี้ จีนจึงหวังจะหันโต๊ะออกจากการแข่งขันด้านแรงงานที่มีต้นทุนต่ำ พร้อมกับมุ่งนโยบ่าย "เมดอินไชน่า 2025" (Made in China) เพื่อยกระดับคำว่า เมดอินไชน่าให้เป็นนิยามแห่งการผลิตระดับสูง

พิเศษยิ่งไปกว่านั้น จีนยังหวังคว้าโอกาสในการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยุคใหม่ 4.0 ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต, จักรกลปัญญาประดิษฐ์, หุ่นยนต์, เครื่องรวบรวมและประมวลข้อมูล

เห็นได้ชัดว่าถึงเวลาแล้ว ที่คงไม่อาจเหมารวมผลิตภัณฑ์จีนแบบเซินเจิ้น ดังอดีต เพราะสิ่งที่แน่นอนคือ ภาพของสินค้าที่เรียกว่า "การผลิตขั้นสูง" ในประเทศจีนกำลังจะมาแทน

เว็บไซต์ EE Times ได้สำรวจผลกระทบของ "Made in China 2025" ในบริบททั่วโลก การก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ครั้งล่าสุดของจีน ไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและเทคโนโลยี หากแต่ส่วนที่เหลือของโลกล้วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่านักออกแบบ, วิศวกร, ผู้บริหารการจัดการ และนักลงทุน

มิเชล ดรูว์ โรดิเกรซ หัวหน้าศูนย์ค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกจากดีลอยต์ เซอร์วิส กล่าวกับ EE Times ว่า "มันไม่ใช่แค่ย้อนกลับมาแบบสมัยนิยม ​​แต่มันกลายเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม"

เธอเสริมว่า "การผลิตจำนวนมากมองว่า โรงงานผลิตกำลังเป็นสถานที่ที่เทคโนโลยีทางกายภาพและดิจิทัลผสานเข้าด้วยกัน และยังมองว่าเป็นแนวโน้มที่ยิ่งใหญ่ของยุคสมัย"

ในยุคการบริหารของโอบามา สหรัฐอเมริกาได้เปิดตัวโครงการความร่วมมือด้านการผลิตขั้นสูง Advanced Manufacturing Partnership (AMP) ในปี 2554 เยอรมนี ก็ริเริ่มโครงการอุตสาหกรรม 4.0 ปีเดียวกันนั้น บริษัท ต่างๆ เช่น AT & T, Cisco, General Electric, IBM และ Intel เปิดตัว Industrial Internet Consortium (IIC) ในปีที่แล้ว (พ.ศ.2559)

พื้นโรงงานกำลังถูกกำหนดให้เป็นสมรภูมิสำหรับผู้นำทางด้านหุ่นยนต์, AI, วงจรรวมและ 5G แน่นอนว่า จีนต้องการแบ่งปันความปรารถนาเหล่านี้อย่างแท้จริง มันเป็นความกระตือรือร้นสำหรับการต่อสู้

ชัค กรินด์สตัฟฟ์ ประธานบริหารของซีเมนส์ PLM Software ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจของ Siemens Digital Factory Division ได้กล่าวถึงแนวโน้มใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรมดิจิทัล ว่าเป็น "การเปลี่ยนแปลงจากการผลิตแบบปริมาณมาก (Mass Production) ไปสู่การผลิตตามความต้องการเฉพาะ (Customization) หรือ Craft Production อันเป็นการผลิตที่ต้องอาศัยช่างผู้ชํานาญงาน เปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถกําหนดความต้องการและคุณสมบัติของสินค้า สับเปลี่ยนข้อเสนอของสินค้าหรือบริการได้ตามความพอใจ

เอิร์นส์ กล่าวว่า ความใหม่ของ เมดอินไชน่า 2025 อยู่ที่การผลิตขั้นสูง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีน ที่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่องยาวนาน แต่คราวนี้ไม่เหมือนใครตรงที่ ยุทธศาสตร์เมดอินไชน่า 2025 ก้าวไปไกลกว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่คือการพยายามที่จะยกระดับกระบวนการทั้งหมดของห่วงโซ่อุปทาน กับอุปสงค์อุตสาหกรรมของจีน โดยมุ่นเน้นอย่างชัดเจนในการยกระดับอุตสาหกรรมที่มูลค่าต่ำด้วย (อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก, สิ่งทอ)

เมดอินไชน่า 2025 ยังมาพร้อมกับวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทุ่มเทผลักดันสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับอุตสาหกรรม (เน้นวิจัยและพัฒนา และจดสิทธิบัตรฯ) การปรับปรุงคุณภาพและการเร่งประสิทธิภาพการผลิต, การขยายอุตสาหกรรมสารสนเทศดิจิทัล และ การพัฒนาสีเขียว ซึ่งมุ่งใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดมลพิษ


กำลังโหลดความคิดเห็น