เมื่อผ่านประตูผ่านเข้าไปยังภัตตาคารของจางฮ่าวหมิง ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของปักกิ่ง คุณจะตกตะลึงกับเรือนไม้จีนโบราณสีเข้มทั้งหลัง ความสูง 2 ชั้น บนเนื้อที่ 600 ตร.ม.

ย้อนหลังไปเดือนตุลาคมในปี 2003 จางซึ่งวางแผนจะเปิดภัตตาคาร ได้เดินทางไปยังโกดังแห่งหนึ่งชานกรุงปักกิ่ง แวบแรกที่ได้เห็นส่วนประกอบของบ้านอายุราว 200 ปีที่ถูกเลาะออกเป็นชิ้นๆแล้ว เขาไม่คิดว่าท่อนไม้เหล่านี้จะทำอะไรได้ นอกจากฟืน!!
อย่างไรก็ดี หลังจากเจ้าของ ‘เศษไม้’ ซึ่งเป็นทั้งนักโบราณคดี ที่ต้องการขายชิ้นส่วนเหล่านี้แก่จาง รับรองว่าเมื่อชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกนำมาประกอบเป็นตัวบ้านใหม่อีกครั้ง จะมีความงดงามอย่างที่สุด พร้อมกับได้สาธิตนำเสาใหญ่ 4 ต้นมาวางเป็นโครงให้ดู ภาพที่เกิดในจินตนาการของจาง ทำให้จางเริ่มเกิดความมั่นใจว่าบ้านโบราณสไตล์อันฮุยอายุราว 2 ทศวรรษ จะต้องกลับมาสร้างความประทับให้กับผู้ที่พบเห็นอีกครั้ง
หนึ่งปีต่อมา เรือนไม้โบราณก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยมีมัณฑนากรและสถาปนิกจากปักกิ่ง เซินเจิ้น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ร่วมกันแต่งแต้มความงามแก่สถาปัตยกรรมโบราณ ที่สะท้อนความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณ

จากวันแรกถึงวันนี้ จางมั่นใจว่า เขาคิดไม่ผิดที่ตัดสินพลิกฟื้นเรือนไม้โบราณให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยเมื่อเร็วๆนี้ เขาได้รับการเสนอขายด้วยราคาที่แพงกว่าราคาเดิมถึง 5 เท่า
จูเหลย วัย 25 ปี เพิ่งแต่งงานและได้ซื้อเครื่องเรือนโบราณเข้าไปไว้ในอพาร์ตเมนท์หลังใหม่ของเขา ซึ่งได้แก่ประตูไม้แกะสลัก ตู้เก็บเสื้อผ้าสีแดง กรอบไม้สลักลวดลายดอกเหมย ดอกกล้วยไม้ ไผ่และดอกเบญจมาสอย่างละหนึ่ง
"ผมเพิ่งค้นพบว่าตัวเองหลงใหลในเฟอร์นิเจอร์จีนโบราณเมื่อตอนที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว" จู กล่าว "ทุกครั้งที่เดินผ่านข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ ผมจะหยุดและเข้าไปสัมผัสมันทุกครั้ง เพราะฉะนั้นผมจึงตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะซื้อเฟอร์นิเจอร์พวกนี้มาประดับบ้าน"

กระแสความนิยมในข้าวของเครื่องใช้แบบโบราณเริ่มกลับฟื้นคืนในจีนอีกครั้งหนึ่ง ดังเช่นร้านรวงในซอยดอกบัว ใกล้กับทะเลสาบสือซาไห่ ซึ่งเป็นย่านเก่าแก่แห่งหนึ่งของปักกิ่ง ก็ได้รับการอนุรักษ์กลิ่นไอของอดีตไว้เป็นอย่างดี แม้แต่ร้านกาแฟสตาร์บัค ที่ใช้สีเขียวเป็นหลัก ยังถูกแปลงโฉมให้มีเสาสีแดงและผนังสีขาว
ตงเหว่ย คณะกรรมการบริการเขตวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์ สือซาไห่ กล่าวว่า "ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ร้านอาหารหรือบาร์เหล้าไหนที่ตกแต่งแบบสมัยใหม่และไม่สอดคล้องกับภาพรวมในเขตอนุรักษ์ จะต้องดำเนินการแก้ไข"
เมื่อกระแสนิยมเครื่องเรือนแบบโบราณมีเพิ่มขึ้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า เครื่องเรือนแบบโบราณจะเข้ามาแทนที่เฟอร์นิเจอร์แบบโมเดิร์นที่มาแรงตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาหรือไม่
ตู้เผิงเฟย อาจารย์มหาวิทยาลัย วัย 34 กล่าวว่า เมื่อไหร่ที่ ครึ่งหนึ่งของเครื่องใช้ในบ้านคนจีนเป็นแบบโบราณ เมื่อนั้นคงเป็นเวลาที่เครื่องเรือนแนวโมเดิร์น บอกลา
ภายในบ้านของตู้ มีโต๊ะวาดภาพขนาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของห้องนั่งเล่น ซึ่งทำจากส่วนหนึ่งของประตูไม้โบราณ เช่นเดียวกับจู เขาได้ซื้อมันมาจากหมู่บ้านเครื่องเรือนโบราณเกาเปยเตี้ยน ริมฝั่งแม่น้ำทงฮุ่ยเหอ ทางตะวันออกของกรุงปักกิ่ง
เล่ากันว่า ร้านหลู่ปัน ที่ตั้งชื่อตามปรมาจารย์งานไม้ของจีน เป็นร้านแรกที่มาตั้งในบริเวณนี้ โดยในช่วงทศวรรษที่ 70 เจ้าเสี่ยวเปย เจ้าของร้านดังกล่าว ทำงานเป็นช่างไม้ของโรงงานแห่งหนึ่งและซ่อมเฟอร์นิเจอร์โบราณเป็นงานอดิเรก แต่10 ปีต่อมา เขามีรายได้จากงานอดิเรกนี้เพียงอย่างเดียวถึง 6,000 หยวนต่อปีหรือราว 500 หยวนต่อเดือน ขณะที่ลูกจ้างรัฐยังมีเงินเดือนไม่ถึง 100 หยวน เขาจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ แล้วหันมาทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เก่าอย่างเต็มตัว
ธุรกิจของเจ้า เริ่มจากการซื้อเฟอร์นิเจอร์เก่าราคาถูกทั่วปักกิ่งและบริเวณใกล้เคียง ก่อนที่จะบรรทุกใส่รถสามล้อถีบไปเร่ขายในย่านที่ตั้งของสถานทูต ในเวลานั้น เขาสามารถทำกำไรจากสินค้าที่นำมาขายถึง 3 เท่า
เมื่อกิจการเริ่มทำกำไรมากขึ้น เจ้าได้เปิดแผงขายเฟอร์นิเจอร์เก่าในย่านซันหลี่ถุน ก่อนจะย้ายมาที่เกาเปยเดี้ยน และเป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวต่างประเทศที่ทำงานตามสถานทูต หลังจากนั้นร้านๆต่างจึงทยอยมาเปิดกันที่นี่ ปัจจุบันเกาเปยเตี้ยนเป็นที่ชุมนุมของร้านขายเฟอร์นิเจอร์โบราณขนานแท้ ตลอดจนผลิตสินค้าเลียนแบบของเก่ากว่า 200 ร้าน
หลี่เหวินเจี้ย ผู้จัดการทั่วไปของบริษัททงหุ่ย เกาเปยเดี้ยน คลาสิก เฟอร์นิเจอร์ กล่าวว่า ร้านค้าส่วนใหญ่ยังคงขายได้ เพราะจำนวนลูกค้าไม่ได้ลดน้อยลงจากในอดีต แม้ว่านักสะสมบางส่วนจะหายหน้าหายตาไปบ้าง
อย่างไรก็ตามกลุ่มของลูกค้าได้เปลี่ยนไป ทั้งนี้จากข้อมูลของทางเว็บไซต์หมู่บ้านเฟอร์นิเจอร์โบราณเกาเปยเตี้ยน แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 1986-1992 ลูกค้าส่วนมากเป็นชาวต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 1992-1997 ลูกค้าจีนครองสัดส่วน 30% และตั้งแต่ปี1997 เป็นต้นมา 70% ของลูกค้าเป็นคนในประเทศ นอกจากนี้ เฟอร์นิเจอร์เก่าที่ทำจากไม้ที่แพงและหายากก็เริ่มพบเห็นได้น้อยลง ขณะที่สินค้าคุณภาพปานกลาง อายุประมาณ 150-200 ปี ราคาประมาณ 1,000 หยวน (ราว 5,000 บาท) ก็ยังมีให้เลือกหาอย่างจุใจ
เรียบเรียงจากไชน่าอิโคโนมิกเน็ต
ย้อนหลังไปเดือนตุลาคมในปี 2003 จางซึ่งวางแผนจะเปิดภัตตาคาร ได้เดินทางไปยังโกดังแห่งหนึ่งชานกรุงปักกิ่ง แวบแรกที่ได้เห็นส่วนประกอบของบ้านอายุราว 200 ปีที่ถูกเลาะออกเป็นชิ้นๆแล้ว เขาไม่คิดว่าท่อนไม้เหล่านี้จะทำอะไรได้ นอกจากฟืน!!
อย่างไรก็ดี หลังจากเจ้าของ ‘เศษไม้’ ซึ่งเป็นทั้งนักโบราณคดี ที่ต้องการขายชิ้นส่วนเหล่านี้แก่จาง รับรองว่าเมื่อชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกนำมาประกอบเป็นตัวบ้านใหม่อีกครั้ง จะมีความงดงามอย่างที่สุด พร้อมกับได้สาธิตนำเสาใหญ่ 4 ต้นมาวางเป็นโครงให้ดู ภาพที่เกิดในจินตนาการของจาง ทำให้จางเริ่มเกิดความมั่นใจว่าบ้านโบราณสไตล์อันฮุยอายุราว 2 ทศวรรษ จะต้องกลับมาสร้างความประทับให้กับผู้ที่พบเห็นอีกครั้ง
หนึ่งปีต่อมา เรือนไม้โบราณก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยมีมัณฑนากรและสถาปนิกจากปักกิ่ง เซินเจิ้น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ร่วมกันแต่งแต้มความงามแก่สถาปัตยกรรมโบราณ ที่สะท้อนความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณ
จากวันแรกถึงวันนี้ จางมั่นใจว่า เขาคิดไม่ผิดที่ตัดสินพลิกฟื้นเรือนไม้โบราณให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยเมื่อเร็วๆนี้ เขาได้รับการเสนอขายด้วยราคาที่แพงกว่าราคาเดิมถึง 5 เท่า
จูเหลย วัย 25 ปี เพิ่งแต่งงานและได้ซื้อเครื่องเรือนโบราณเข้าไปไว้ในอพาร์ตเมนท์หลังใหม่ของเขา ซึ่งได้แก่ประตูไม้แกะสลัก ตู้เก็บเสื้อผ้าสีแดง กรอบไม้สลักลวดลายดอกเหมย ดอกกล้วยไม้ ไผ่และดอกเบญจมาสอย่างละหนึ่ง
"ผมเพิ่งค้นพบว่าตัวเองหลงใหลในเฟอร์นิเจอร์จีนโบราณเมื่อตอนที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว" จู กล่าว "ทุกครั้งที่เดินผ่านข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ ผมจะหยุดและเข้าไปสัมผัสมันทุกครั้ง เพราะฉะนั้นผมจึงตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะซื้อเฟอร์นิเจอร์พวกนี้มาประดับบ้าน"
กระแสความนิยมในข้าวของเครื่องใช้แบบโบราณเริ่มกลับฟื้นคืนในจีนอีกครั้งหนึ่ง ดังเช่นร้านรวงในซอยดอกบัว ใกล้กับทะเลสาบสือซาไห่ ซึ่งเป็นย่านเก่าแก่แห่งหนึ่งของปักกิ่ง ก็ได้รับการอนุรักษ์กลิ่นไอของอดีตไว้เป็นอย่างดี แม้แต่ร้านกาแฟสตาร์บัค ที่ใช้สีเขียวเป็นหลัก ยังถูกแปลงโฉมให้มีเสาสีแดงและผนังสีขาว
ตงเหว่ย คณะกรรมการบริการเขตวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์ สือซาไห่ กล่าวว่า "ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ร้านอาหารหรือบาร์เหล้าไหนที่ตกแต่งแบบสมัยใหม่และไม่สอดคล้องกับภาพรวมในเขตอนุรักษ์ จะต้องดำเนินการแก้ไข"
เมื่อกระแสนิยมเครื่องเรือนแบบโบราณมีเพิ่มขึ้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า เครื่องเรือนแบบโบราณจะเข้ามาแทนที่เฟอร์นิเจอร์แบบโมเดิร์นที่มาแรงตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาหรือไม่
ตู้เผิงเฟย อาจารย์มหาวิทยาลัย วัย 34 กล่าวว่า เมื่อไหร่ที่ ครึ่งหนึ่งของเครื่องใช้ในบ้านคนจีนเป็นแบบโบราณ เมื่อนั้นคงเป็นเวลาที่เครื่องเรือนแนวโมเดิร์น บอกลา
ภายในบ้านของตู้ มีโต๊ะวาดภาพขนาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของห้องนั่งเล่น ซึ่งทำจากส่วนหนึ่งของประตูไม้โบราณ เช่นเดียวกับจู เขาได้ซื้อมันมาจากหมู่บ้านเครื่องเรือนโบราณเกาเปยเตี้ยน ริมฝั่งแม่น้ำทงฮุ่ยเหอ ทางตะวันออกของกรุงปักกิ่ง
เล่ากันว่า ร้านหลู่ปัน ที่ตั้งชื่อตามปรมาจารย์งานไม้ของจีน เป็นร้านแรกที่มาตั้งในบริเวณนี้ โดยในช่วงทศวรรษที่ 70 เจ้าเสี่ยวเปย เจ้าของร้านดังกล่าว ทำงานเป็นช่างไม้ของโรงงานแห่งหนึ่งและซ่อมเฟอร์นิเจอร์โบราณเป็นงานอดิเรก แต่10 ปีต่อมา เขามีรายได้จากงานอดิเรกนี้เพียงอย่างเดียวถึง 6,000 หยวนต่อปีหรือราว 500 หยวนต่อเดือน ขณะที่ลูกจ้างรัฐยังมีเงินเดือนไม่ถึง 100 หยวน เขาจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ แล้วหันมาทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เก่าอย่างเต็มตัว
ธุรกิจของเจ้า เริ่มจากการซื้อเฟอร์นิเจอร์เก่าราคาถูกทั่วปักกิ่งและบริเวณใกล้เคียง ก่อนที่จะบรรทุกใส่รถสามล้อถีบไปเร่ขายในย่านที่ตั้งของสถานทูต ในเวลานั้น เขาสามารถทำกำไรจากสินค้าที่นำมาขายถึง 3 เท่า
เมื่อกิจการเริ่มทำกำไรมากขึ้น เจ้าได้เปิดแผงขายเฟอร์นิเจอร์เก่าในย่านซันหลี่ถุน ก่อนจะย้ายมาที่เกาเปยเดี้ยน และเป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวต่างประเทศที่ทำงานตามสถานทูต หลังจากนั้นร้านๆต่างจึงทยอยมาเปิดกันที่นี่ ปัจจุบันเกาเปยเตี้ยนเป็นที่ชุมนุมของร้านขายเฟอร์นิเจอร์โบราณขนานแท้ ตลอดจนผลิตสินค้าเลียนแบบของเก่ากว่า 200 ร้าน
หลี่เหวินเจี้ย ผู้จัดการทั่วไปของบริษัททงหุ่ย เกาเปยเดี้ยน คลาสิก เฟอร์นิเจอร์ กล่าวว่า ร้านค้าส่วนใหญ่ยังคงขายได้ เพราะจำนวนลูกค้าไม่ได้ลดน้อยลงจากในอดีต แม้ว่านักสะสมบางส่วนจะหายหน้าหายตาไปบ้าง
อย่างไรก็ตามกลุ่มของลูกค้าได้เปลี่ยนไป ทั้งนี้จากข้อมูลของทางเว็บไซต์หมู่บ้านเฟอร์นิเจอร์โบราณเกาเปยเตี้ยน แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 1986-1992 ลูกค้าส่วนมากเป็นชาวต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 1992-1997 ลูกค้าจีนครองสัดส่วน 30% และตั้งแต่ปี1997 เป็นต้นมา 70% ของลูกค้าเป็นคนในประเทศ นอกจากนี้ เฟอร์นิเจอร์เก่าที่ทำจากไม้ที่แพงและหายากก็เริ่มพบเห็นได้น้อยลง ขณะที่สินค้าคุณภาพปานกลาง อายุประมาณ 150-200 ปี ราคาประมาณ 1,000 หยวน (ราว 5,000 บาท) ก็ยังมีให้เลือกหาอย่างจุใจ
เรียบเรียงจากไชน่าอิโคโนมิกเน็ต