โจวเอินไหล ได้เลือกบ้านหลังหนึ่งริมทะเลสาบโฮ่วไห่ให้เป็นที่พักในนครหลวงปักกิ่งแด่ ซ่งชิ่งหลิง โดย ซ่งชิ่งหลิง ได้ย้ายเข้ามาที่บ้านหลังนี้ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1964

บ้านหลังนั้น แต่เดิมในสมัยราชวงศ์หมิง (明代; ค.ศ.1368-1644) เป็นสวนดอกไม้ของเจ้าชาย และที่พักของข้าหลวงชั้นสูง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง (清; ค.ศ.1616-1911) ในปีที่ 14 รัชสมัยของฮ่องเต้กวงสู้ (光绪; ค.ศ.1975-1909) ก็กลายเป็นวังของเจ้าชายผู้เป็นบิดาของผู้ซึ่งกลายเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน ปูยี หรือ ผู่อี้ (溥仪) โดย องค์จักรพรรดิผู่อี้ก็ประสูติ ณ วังแห่งนี้ ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บ้านเลขที่ 46 ถนนเรียบทะเลสาบโฮ่วไห่ หลังนี้นี่เอง
ผมสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสถานที่ได้ความว่า ระหว่างปี ค.ศ.1964 อันเป็นปีที่ ซ่งชิ่งหลิง ย้ายเข้ามาจนถึง ค.ศ.1973 เธอแบ่งเวลาอยู่ที่บ้านพักในปักกิ่งหลังนี้ครึ่งหนึ่ง ส่วนเวลาอีกครึ่งหนึ่งนั้นอาศัยอยู่ที่ บ้านพักในเมืองเซี่ยงไฮ้
โดยหลัง ค.ศ.1973 มาดามซุนยัดเซ็น ก็ไม่ค่อยได้กลับไปที่เซี่ยงไฮ้อีกแล้ว ขณะที่พี่สาวและน้องสาวร่วมท้องต่างย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกากันหมด ซ่งชิ่งหลิงกลับเลือกอยู่ในเมืองจีน ประเทศบ้านเกิด และพักอยู่ที่บ้านหลังนี้เป็นหลัก ตราบจนเธอเสียชีวิต เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1981
บ้านพักหลังนี้ บริเวณภายในสวยงามมาก มีทั้งทะเลสาบเล็กๆ ตรงกลาง รายรอบไปด้วย ภูเขาหิน เก๋งจีน 2 หลัง ด้านหน้าเป็นอาคารสองชั้นหนึ่งหลังเอาไว้รับแขก ขณะที่เมื่อเดินไปด้านหลังก็จะเป็นอาคารชั้นเดียวที่เป็นห้องโถงสำหรับการประชุม และอาคารที่อยู่เกือบหลังสุดเป็น บ้านขนาด 2 ชั้น อันเป็นที่พักของเจ้าของ ปัจจุบันบริเวณและห้องต่างๆ ในบ้านหลังนี้ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว

การจัดนิทรรศการในบ้านพักแห่งนี้ทำได้อย่างเป็นสัดส่วน โดยอาคารขนาดสองชั้นด้านหน้า มีการจัดแสดง ของสะสมส่วนตัว งานฝีมือ และของกำนัลที่นานาประเทศมอบให้กับเจ้าของบ้าน กว่า 80 ชิ้น อย่างเช่น ผ้าห่มแดงที่ หนีกุ้ยเจิน (倪桂珍) มารดามอบให้ในวาระแต่งงานของ ซ่งชิ่งหลิงกับดร.ซุนยัดเซ็น, พัดขนห่านที่ซ่งชิ่งหลิงทำเองกับมือ, ผ้าปักแขวนผนัง 4 ผืน ที่โจวเอินไหลและภรรยามอบให้ รวมไปถึง หนังสือลายมือของดร.ซุนยัดเซ็น และรูปวาดคู่ระหว่างทั้งสองคน
เมื่อเดินเรื่อยเข้ามาด้านใน อาคารชั้นเดียวที่แต่เดิมเมื่อ ซ่งชิ่งหลิง ยังมีชีวิตอยู่ถูกจัดให้เป็น ห้องโถงใหญ่ที่ใช้ในการรับแขก รับประทานอาหาร และการประชุม ปัจจุบันได้ถูกตกแต่งและจัดเป็นนิทรรศการ แสดงประวัติของเธอตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต
หลังเดินชมนิทรรรศการ เดินผ่านเข้าไปยังบ้านพักขนาดสองชั้น ก็จะพบกับการตกแต่งพิพิธภัณฑ์ที่ยังคงรักษาบรรยากาศเดิมๆ และอนุรักษ์ข้าวของ เครื่องใช้ขณะที่ไว้ได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ยังมีการเก็บรักษา โต๊ะมินิบิลเลียด และเปียโนหลังเล็ก ที่ซ่งชิ่งหลิงชอบเล่นเพื่อผ่อนคลายอารมณ์
ครั้นเมื่อเดินขึ้นไปยังชั้นที่สองก็จะพบกับ ห้องหนังสือ และ ห้องนอนอันเป็นห้องทำงานในตัวของ ซ่งชิ่งหลิง โดยห้องทั้งสองปัจจุบันยังมีการตกแต่งไว้โดยคงสภาพเดิม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทำงาน ชั้นวางหนังสือหนังสือ วิทยุ หนังสือ ข้าวของเครื่องใช้ หรือเตียง
ซ่งชิ่งหลิง เสียชีวิตด้วยโรคลูคีเมีย ในช่วงค่ำของวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1981 บนเตียง ในห้องนอน ณ บ้านหลังนี้อย่างสงบ อายุรวม 88 ปี

จากสิ่งที่เธอทำมาทั้งหมด ซ่งชิ่งหลิง ได้กลายเป็น บุคคลผู้ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีผู้มีอิทธิพลที่สุดของโลกในศตวรรษที่ 20 และได้ชื่อว่า เป็นอดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของจีน หญิงสาวผู้รักชาติ ผู้ทำคุณงามความดีให้กับประเทศจีน ประชาชนจีน มากมาย จนได้รับการยกย่องจาก พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้เป็นประธานาธิบดีกิตติมศักดิ์
เช้าวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1981 เมื่อประชาชนจีนทราบข่าวการเสียชีวิตของซ่งชิ่งหลิง ก็ได้มีการลดธงชาติจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และธงชาติจีนทั่วประเทศจีนลงครึ่งเสา เป็นการไว้อาลัยแด่เธอ
..........................
หลังจากการไปเยี่ยมชมบ้านพักของซ่งชิ่งหลิง และได้อ่านประวัติของเธออย่างคร่าวๆ ผมก็เกิดคำถามขึ้นในใจว่า
ผู้ที่มีความเพียบพร้อม ทั้งฐานะทางสังคม ครอบครัว การศึกษา อย่าง ซ่งชิ่งหลิงจะต้องใช้ความพยายามมากเพียงไรในการขับดันตัวเอง ให้หลุดพ้นจากความสุขสบายส่วนตัว การแสวงหา เงินทองและอำนาจส่วนตัวที่ได้มาจากความทุกข์ยากของผู้อื่น?
ด้วยฐานะเดิมของครอบครัว และ มรดกที่บิดาทิ้งไว้ให้ เธอมีสิทธิที่จะเลือกชีวิตที่สุขสบายชั่วชีวิตในต่างประเทศ โดยไม่ต้องมากังวลถึงภาระในการกู้และฟื้นฟูชาติ ภาระที่สามีอันเป็นที่รักอุทิศชีวิตให้เป็นเวลากว่า 40 ปี และสุดท้ายก็พรากเขาไปจากเธอ
มากกว่านั้น ขณะที่ในระหว่างการกู้ชาติ พี่-น้อง ร่วมสายเลือด เลือกยืนอยู่คนละฝั่ง และการเรืองอำนาจของเจียงไคเช็กได้ผลักดันให้ตระกูลซ่งกลายเป็น หนึ่งใน 4 มหาตระกูลของจีนไปโดยอัตโนมัติ ซ่งชิ่งหลิง ในสถานะหนึ่งคือทายาทตระกูลซ่ง และ ในอีกสถานะหนึ่งคือภรรยาของ ดร.ซุนยัดเซ็น จะต้องต่อสู้ ฝ่าฟัน และอาศัยแรงใจมากเพียงไร เพื่อพิสูจน์ถึงสิ่งที่เธอ "เชื่อ" สิ่งที่เธอ "คิด" และสิ่งที่เธอ "ทำ" ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ....
บ้านหลังนั้น แต่เดิมในสมัยราชวงศ์หมิง (明代; ค.ศ.1368-1644) เป็นสวนดอกไม้ของเจ้าชาย และที่พักของข้าหลวงชั้นสูง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง (清; ค.ศ.1616-1911) ในปีที่ 14 รัชสมัยของฮ่องเต้กวงสู้ (光绪; ค.ศ.1975-1909) ก็กลายเป็นวังของเจ้าชายผู้เป็นบิดาของผู้ซึ่งกลายเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน ปูยี หรือ ผู่อี้ (溥仪) โดย องค์จักรพรรดิผู่อี้ก็ประสูติ ณ วังแห่งนี้ ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บ้านเลขที่ 46 ถนนเรียบทะเลสาบโฮ่วไห่ หลังนี้นี่เอง
ผมสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสถานที่ได้ความว่า ระหว่างปี ค.ศ.1964 อันเป็นปีที่ ซ่งชิ่งหลิง ย้ายเข้ามาจนถึง ค.ศ.1973 เธอแบ่งเวลาอยู่ที่บ้านพักในปักกิ่งหลังนี้ครึ่งหนึ่ง ส่วนเวลาอีกครึ่งหนึ่งนั้นอาศัยอยู่ที่ บ้านพักในเมืองเซี่ยงไฮ้
โดยหลัง ค.ศ.1973 มาดามซุนยัดเซ็น ก็ไม่ค่อยได้กลับไปที่เซี่ยงไฮ้อีกแล้ว ขณะที่พี่สาวและน้องสาวร่วมท้องต่างย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกากันหมด ซ่งชิ่งหลิงกลับเลือกอยู่ในเมืองจีน ประเทศบ้านเกิด และพักอยู่ที่บ้านหลังนี้เป็นหลัก ตราบจนเธอเสียชีวิต เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1981
บ้านพักหลังนี้ บริเวณภายในสวยงามมาก มีทั้งทะเลสาบเล็กๆ ตรงกลาง รายรอบไปด้วย ภูเขาหิน เก๋งจีน 2 หลัง ด้านหน้าเป็นอาคารสองชั้นหนึ่งหลังเอาไว้รับแขก ขณะที่เมื่อเดินไปด้านหลังก็จะเป็นอาคารชั้นเดียวที่เป็นห้องโถงสำหรับการประชุม และอาคารที่อยู่เกือบหลังสุดเป็น บ้านขนาด 2 ชั้น อันเป็นที่พักของเจ้าของ ปัจจุบันบริเวณและห้องต่างๆ ในบ้านหลังนี้ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว
การจัดนิทรรศการในบ้านพักแห่งนี้ทำได้อย่างเป็นสัดส่วน โดยอาคารขนาดสองชั้นด้านหน้า มีการจัดแสดง ของสะสมส่วนตัว งานฝีมือ และของกำนัลที่นานาประเทศมอบให้กับเจ้าของบ้าน กว่า 80 ชิ้น อย่างเช่น ผ้าห่มแดงที่ หนีกุ้ยเจิน (倪桂珍) มารดามอบให้ในวาระแต่งงานของ ซ่งชิ่งหลิงกับดร.ซุนยัดเซ็น, พัดขนห่านที่ซ่งชิ่งหลิงทำเองกับมือ, ผ้าปักแขวนผนัง 4 ผืน ที่โจวเอินไหลและภรรยามอบให้ รวมไปถึง หนังสือลายมือของดร.ซุนยัดเซ็น และรูปวาดคู่ระหว่างทั้งสองคน
เมื่อเดินเรื่อยเข้ามาด้านใน อาคารชั้นเดียวที่แต่เดิมเมื่อ ซ่งชิ่งหลิง ยังมีชีวิตอยู่ถูกจัดให้เป็น ห้องโถงใหญ่ที่ใช้ในการรับแขก รับประทานอาหาร และการประชุม ปัจจุบันได้ถูกตกแต่งและจัดเป็นนิทรรศการ แสดงประวัติของเธอตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต
หลังเดินชมนิทรรรศการ เดินผ่านเข้าไปยังบ้านพักขนาดสองชั้น ก็จะพบกับการตกแต่งพิพิธภัณฑ์ที่ยังคงรักษาบรรยากาศเดิมๆ และอนุรักษ์ข้าวของ เครื่องใช้ขณะที่ไว้ได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ยังมีการเก็บรักษา โต๊ะมินิบิลเลียด และเปียโนหลังเล็ก ที่ซ่งชิ่งหลิงชอบเล่นเพื่อผ่อนคลายอารมณ์
ครั้นเมื่อเดินขึ้นไปยังชั้นที่สองก็จะพบกับ ห้องหนังสือ และ ห้องนอนอันเป็นห้องทำงานในตัวของ ซ่งชิ่งหลิง โดยห้องทั้งสองปัจจุบันยังมีการตกแต่งไว้โดยคงสภาพเดิม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทำงาน ชั้นวางหนังสือหนังสือ วิทยุ หนังสือ ข้าวของเครื่องใช้ หรือเตียง
ซ่งชิ่งหลิง เสียชีวิตด้วยโรคลูคีเมีย ในช่วงค่ำของวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1981 บนเตียง ในห้องนอน ณ บ้านหลังนี้อย่างสงบ อายุรวม 88 ปี
จากสิ่งที่เธอทำมาทั้งหมด ซ่งชิ่งหลิง ได้กลายเป็น บุคคลผู้ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีผู้มีอิทธิพลที่สุดของโลกในศตวรรษที่ 20 และได้ชื่อว่า เป็นอดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของจีน หญิงสาวผู้รักชาติ ผู้ทำคุณงามความดีให้กับประเทศจีน ประชาชนจีน มากมาย จนได้รับการยกย่องจาก พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้เป็นประธานาธิบดีกิตติมศักดิ์
เช้าวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1981 เมื่อประชาชนจีนทราบข่าวการเสียชีวิตของซ่งชิ่งหลิง ก็ได้มีการลดธงชาติจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และธงชาติจีนทั่วประเทศจีนลงครึ่งเสา เป็นการไว้อาลัยแด่เธอ
..........................
หลังจากการไปเยี่ยมชมบ้านพักของซ่งชิ่งหลิง และได้อ่านประวัติของเธออย่างคร่าวๆ ผมก็เกิดคำถามขึ้นในใจว่า
ผู้ที่มีความเพียบพร้อม ทั้งฐานะทางสังคม ครอบครัว การศึกษา อย่าง ซ่งชิ่งหลิงจะต้องใช้ความพยายามมากเพียงไรในการขับดันตัวเอง ให้หลุดพ้นจากความสุขสบายส่วนตัว การแสวงหา เงินทองและอำนาจส่วนตัวที่ได้มาจากความทุกข์ยากของผู้อื่น?
ด้วยฐานะเดิมของครอบครัว และ มรดกที่บิดาทิ้งไว้ให้ เธอมีสิทธิที่จะเลือกชีวิตที่สุขสบายชั่วชีวิตในต่างประเทศ โดยไม่ต้องมากังวลถึงภาระในการกู้และฟื้นฟูชาติ ภาระที่สามีอันเป็นที่รักอุทิศชีวิตให้เป็นเวลากว่า 40 ปี และสุดท้ายก็พรากเขาไปจากเธอ
มากกว่านั้น ขณะที่ในระหว่างการกู้ชาติ พี่-น้อง ร่วมสายเลือด เลือกยืนอยู่คนละฝั่ง และการเรืองอำนาจของเจียงไคเช็กได้ผลักดันให้ตระกูลซ่งกลายเป็น หนึ่งใน 4 มหาตระกูลของจีนไปโดยอัตโนมัติ ซ่งชิ่งหลิง ในสถานะหนึ่งคือทายาทตระกูลซ่ง และ ในอีกสถานะหนึ่งคือภรรยาของ ดร.ซุนยัดเซ็น จะต้องต่อสู้ ฝ่าฟัน และอาศัยแรงใจมากเพียงไร เพื่อพิสูจน์ถึงสิ่งที่เธอ "เชื่อ" สิ่งที่เธอ "คิด" และสิ่งที่เธอ "ทำ" ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ....