xs
xsm
sm
md
lg

รัฐเร่งเครื่อง MOU ลงทุน 5 บิ๊กโปรเจกต์อีอีซี 4 แสนล้าน ก.ย. 61

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“อุตตม” นั่งหัวโต๊ะประชุมอีอีซีไฟเขียว EEC Track หวังเร่งเครื่องลงนามร่วมทุน 5 บิ๊กโปรเจกต์ในอีอีซี 4 แสนล้านบาทภายในกันยายน 2561 ปลุกการลงทุนบิ๊กล็อต พร้อมชงบอร์ดใหญ่ทำแผนพัฒนาบุคลากรรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรมเป็นประธาน ว่าที่ประชุมได้เห็นชอบสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. แผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี 2. หลักการสำหรับแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา และรับทราบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 (EEC Track ) และประกาศลำดับรอง 5 ฉบับ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะมีการขออนุมัติและรายงานเพื่อทราบต่อที่ประชุมบอร์ดใหญ่อีอีซีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 22 พ.ย.นี้

ทั้งนี้ หลังจากขั้นตอนทางระเบียบการร่วมทุนมีความชัดเจนก็จะเร่งให้เกิดการลงนามการร่วมทุนกับเอกชนใน 5 โครงการหลักอีอีซี ภายในเดือนกันยายน 2561 ประกอบด้วย (1. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Aerotropolis) (2. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (3. โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะ 3 (4. โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะ 3 และ (5. โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา มูลค่าลงทุน 4 แสนล้านบาท

สำหรับแผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี รองรับความต้องการแรงงานสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของประเทศในพื้นที่อีอีซี รวม 63,567 คน ภายใน 5 ปี (ปี 2560-64) เนื่องจากอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตส่วนใหญ่ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญรองรับโดยระยะสั้นตั้งแต่เดือนนี้จะทำโครงการศึกษาหลักสูตรและฝึกอบรม 4 หลักสูตรตั้งแต่ระดับปริญญาตรี อาชีวศึกษา การพัฒนาครูฝึก และการขยายผลให้มีครูฝึกมากขึ้นโดย รมว.อุตสาหกรรม เร่งให้ทำแผนโครงการเพื่อเสนอต่อบอร์ดใหญ่อีอีซี 22 พ.ย.นี้

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานอนุกรรมการจัดทำระเบียบการร่วมทุนเอกชน กล่าวว่า โครงการที่จะเริ่มได้ก่อน 2 โครงการ คือ 1. ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยจะรายงานนายกฯ 22 พ.ย. 60 ถึงการพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (TG MRO Campus) วงเงินลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท ที่ บมจ.การบินไทยร่วมมือกับแอร์บัส เริ่มลงทุนปี 2561 ตั้งเป้าหมายเริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์ซ่อมบำรุงได้ภายในปี 2564
กำลังโหลดความคิดเห็น