xs
xsm
sm
md
lg

นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิตอลมีบทบาทสำคัญอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

Tom Bianculli
นับตั้งแต่รัฐบาลได้มีการประกาศการวางแผนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย “ประเทศไทย 4.0” ให้เป็นรูปแบบเศรษฐกิจและพัฒนาจากเศรษฐกิจในรูปแบบอุตสาหกรรมมาสู่เทคโนโลยีและมุ่งเน้นการส่งเสริมทางด้านดิจิตอล ในปีที่ผ่านมาเป็นการสนับสนุนให้นวัตกรรมจะกลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมที่ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

จากการประชุมสุดยอดนวัตกรรมเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2560 (Economist Innovation Summit 2017) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่เมืองชิคาโก Fortune 500 บริษัททั้ง 500 อันดับที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาโดยพิจารณาจากรายได้ในปีงบประมาณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ประกอบการ ต่างร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางในการผลักดันนวัตกรรมในโลกยุคดิจิตอล และมองหาประโยชน์จากโอกาสและความท้าทายในการจัดการปัญหาความเปลี่ยนแปลงของดิจิตอลในภายหลัง

Vijay Vaitheeswaran บรรณาธิการธุรกิจชาวจีน จากนิตยสาร The Economist ได้ตั้งข้อสังเกตการณ์ว่า คำว่า “นวัตกรรม” ถูกนำไปใช้อย่างฟุ่มเฟือยและถูกตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วหมายถึงอะไร เขาได้โต้แย้งว่า นวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 นั้นคือความสามารถในการมองเห็น การมอบคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นและทำในสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์อย่างแท้จริง

“ความสามารถในการมองเห็น” ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับประเทศไทยในยุค 4.0 เนื่องจากในขณะนี้เรามีความสามารถด้านเทคโนโลยีในการได้รับข้อมูลจากอุปกรณ์ที่หลากหลาย และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อได้รับข้อมูลเชิงลึกที่สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้แบบเรียลไทม์

ผู้บริหารจำนวนมากที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดนวัตกรรมเศรษฐศาสตร์ (Economist Innovation Summit) เห็นพ้องต้องกันว่าเทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของดิจิตอลในการทำงาน แต่กลับกลายเป็นทรัพยากรแรงงานมนุษย์

งานประชุมสุดยอดนวัตกรรมที่ผ่านมา ได้กล่าวถึงความเชื่อ 5 ประการของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิจิตอลที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่

· ความเชื่อที่ 1 เทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการจัดการการเปลี่ยนแปลงดิจิตอล
ทรัพยากรมนุษย์เป็นกุญแจสำคัญ เทคโนโลยีถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ แต่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวนั้นขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์ Tom Bianculli ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายเทคนิคเชื่อว่าเทคโนโลยีนั้นเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงแรงงานในยุคดิจิตอล ด้วยการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรมนุษย์และการขับเคลื่อนข้อมูลอย่างชาญฉลาด องค์กรต่างๆ สามารถเพิ่มทุนมนุษย์และปรับทิศทางการเพิ่มคุณค่าสู่การทำงาน เช่นเดียวกับการลดข้อผิดพลาด พร้อมทั้งยังเพิ่มผลผลิตและเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น

· ความเชื่อที่ 2 ความคาดหวังของลูกค้านั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และการบริการ
ซึ่งเป็นการคาดหวังที่ไม่เสมอไป ซึ่งมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น สำหรับบริษัทอูเบอร์ ไม่ว่าจะผู้ใช้บริการจะเป็นใคร ผู้บริโภค คนไข้ หรือคนทั่วไป ต่างมีความคาดหวังในระดับสูงในการที่จะได้รับการบริการที่ดีที่สุดจากผู้ให้บริการ การให้บริการที่ดีที่สุดจึงเป็นบรรทัดฐานในทุกอุตสาหกรรม แบรนด์ต่างๆ จึงลดจำนวนลงเป็นสองเท่า รวมทั้งครุ่นคิดถึงการสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า จากการศึกษาล่าสุดจากซีบรา เทคโนโลยีส์ เปิดเผยว่า เกือบ 80% ของผู้ค้าปลีกสามารถตกแต่งร้านค้าสำหรับลูกค้าได้ในปี2564 เนื่องจากผู้ค้าปลีกสามารถรู้ล่วงหน้าได้เมื่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเดินเข้ามาในร้าน สิ่งนี้จะกลายเป็นรากฐานสำหรับร้านค้าปลีกเช่นเดียวกับบริการทางการเงิน การดูแลสุขภาพ และอุตสาหกรรมอื่นๆ

· ความเชื่อที่ 3 การค้นพบเชิงสร้างสรรค์เป็นผลมาจากการวิเคราะห์เชิงลึกและเจาะจงเฉพาะอุตสาหกรรม เป็นจริงบางส่วน เนื่องจากผู้บริหารสามารถสรรหาความคล้ายคลึงกันและแรงบันดาลใจจากอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ก่อนที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ผู้บริหารควรทบทวนตัวอย่างและเกณฑ์มาตรฐานที่ดีที่สุด โดยไม่นำหน่วยงาน บริษัทอื่นๆ มารวมอยู่ในกระบวนการคิด ยกตัวอย่างเช่น จากความสามารถในการให้บริการการติดตาม NFL ซีบราได้ทำให้นักกีฬาและทีมสามารถเข้าถึงเวลาแบบเรียลไทม์ที่สามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสนาม สิ่งนี้ทำให้ผู้อำนวยการฝ่ายการอุตสาหกรรมของคลังสินค้าคิดถึงความเป็นไปได้ของการค้นพบการมองเห็นการปฏิบัติงานแบบเรียลไทม์นี้ในคลังสินค้า

· ความเชื่อที่ 4 ธุรกิจควรมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน แท้จริงแล้วเพียงแค่ 1% ของการปรับปรุงในซัปพลายเชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล และสร้างรายได้ทางโอกาสได้มากขึ้น เช่น ในการบรรทุกสินค้า ปริมาณอากาศคิดเป็น 30% ของปริมาณสินค้าบรรทุก ดังนั้นการขจัดความไร้ประสิทธิภาพในการบรรจุมวลสาร และการเชื่อมต่อของดิจิตอล ซัปพลายเชน สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปยังกระบวนการผลิตตั้งแต่แรกเริ่ม รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม ด้วยการสะสมข้อมูลจากอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ซอฟต์แวร์วิเคราะห์การบรรทุกสินค้า ทำให้ผู้จัดการโรงงานมั่นใจได้ว่ามุมมองการทำงานแบบเรียลไทม์ทำให้การบรรทุกสินค้าของพวกเขาเต็มไปด้วยความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

· ความเชื่อที่ 5 คุณเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนี้ ถือเป็นความเชื่อที่ไม่แน่นอนและชัดเจน ทั้งบริษัทที่เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของดิจิตอล บริษัทที่ปรึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารที่ตัดสินใจการลงทุน ควรคิดในแง่มุมที่แตกต่าง วัตถุประสงค์ กระบวนการ และการใช้กลยุทธ์จะนำมาสู่การเปิดรับนวัตกรรม และการทำธุรกิจแบบ B2B นั้นถือเป็นข้อดีจากการแข่งขันในรูปแบบใหม่ หนึ่งในผู้อภิปรายจาก the Economists ได้กล่าวว่า ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ควบคุมค่อนข้างยาก ซึ่งไม่ได้มาจากควบคุมความลับของข้อมูล แต่เป็นการแบ่งปันข้อมูลและใช้ประโยชน์จากการผสมผสานของคู่ค้าและลูกค้า



กำลังโหลดความคิดเห็น