xs
xsm
sm
md
lg

กทช. ตัวปัญหา 3G

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยัง X Ray อยู่ที่ "3G" ขุมทรัพย์มหาศาล ที่อาจจะตกอยู่ในมือ "กทช." กับ "เอกชนหน้าเดิม" ทั้งๆ ที่ตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม สัญญาสัมปทานที่เอกชนรับไป กำหนดให้ยุติภายในปี 53 หนทางที่ชอบธรรม การประมูลใบอนุญาตประกอบการใหม่ ภาคเอกชนทุกรายต้อง "เท่าเทียมกัน" และต้องจับตาการผูกขาดเพื่อโอนย้ายลูกค้า 2G ไปสู่ 3G เพราะมัดมือชกลูกค้า เอื้อต่อการทุจริต "วัวเคยค้า ม้าเคยขี่"!!!

ทีโอทีมีรายได้จากสัญญาสัมปทาน (AIS) ประมาณ 23,000 ล้านบาทต่อปี สิ้นสุดสัญญาปี 58 เหลืออีก 7 ปี รายได้ส่วนนี้ไม่น้อยกว่า 160,000 ล้าน ส่วน กสท. มีรายได้ประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี (AIS 1800 สัญญาหมดปี 56 DTAC 800 - 1,800 สัญญาหมดปี 61 TRUE 1,800 สัญญาหมดปี 56) คิดเฉลี่ยทุกสัญญา 4–9 ปี รายได้น่าจะรวมแล้วกว่า 100,000 ล้าน! รวมรายได้มือถือที่เป็นส่วนแบ่งให้กับรัฐฯ เกือบ 200,000 ล้าน!!!

สิ่งที่ต้องทำคือต้องแปรมูลค่าของสัญญาตามอายุที่เหลือ 200,000 ล้าน นี้ มาเป็นมูลค่าปี 53 ถึงไม่อาจตกลงกันง่ายๆ เพราะหลังปี 53 เอกชนจะประกอบกิจการต่อได้อย่างไร แบบไหน ใช้ใบอนุญาตออกโดยใคร เพราะเมื่อสัญญาสัปทานสิ้นสุดลง ผู้ประกอบการต้องมีใบอนุญาตใบใหม่มาใช้ในการประกอบกิจการการต่อ "แต่ถ้าอุปสรรคได้รับการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนการประมูล การออกใบอนุญาตใหม่ 3G ของ กทช.จะทำได้ง่ายขึ้น" สัมปทานรัฐอื่นๆ ไม่ว่าสัญญาเช่าที่ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลที่ลาดพร้าวกับการรถไฟ หรือสัญญาสัมปทานช่อง 3 กับ อสมท แม้สัญญายังไม่สิ้นสุดก็มีเจรจากันก่อน ถ้าเตรียมพร้อมล่วงหน้าสุดท้ายจบได้ แต่ทำไม 3G ถึงไม่ทำ คำตอบไม่ยาก ก็ผลประโยชน์มหาศาล นั่นไง....

"กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ" เสนอว่าประเทศจะได้ประโยชน์สูงสุด กทช.ก็ต้องร่วมมือกับทางราชการ กำหนดหลักการประมูลค่าใบอนุญาต 3Gสำหรับผู้ประกอบการเจ้าประจำ ต้องมีมูลค่าไม่น้อยไปกว่ารายได้ที่รัฐได้จากสัญญาสัมปทาน ผู้ประมูลต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงหรือทางอ้อมกับเอกชนที่มีสัญญาสัมปทาน ดังนั้นใบอนุญาตออกให้เฉพาะผู้ประกอบการต้องอยู่ภายใต้หลักการเป็น "รายใหม่" หมายถึงรายเก่าประมูลก็ได้ แต่ต้องมีข้อยุติในเรื่องของสัญญาสัมปทานเดิมที่มีกับภาครัฐเสียก่อน...

ไปดูนักวิชาการ "ประชา คุณธรรมดี" อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ตั้ง 3 เงื่อนไขเหมาะสม ประเด็นแรก วัตถุประสงค์ของการประมูลควรเป็นไปเพื่อประชาชนอย่างเดียว ด้วยการเปิดให้ประมูลใบอนุญาตเพียง 2 ใบไม่ใช่ 4 ใบ พร้อมกับกำหนดราคา ควบคุมค่าบริการ และพิจารณาราคาเริ่มต้นการประมูลที่รัฐได้ประโยชน์อย่างแท้จริงโดยราคาน่าจะสูงกว่าราคาที่ กทช.กำหนดไว้คือไลเซนส์ 10 Mhz ราคา 4,600 ล้าน และไลเซ่นส์ 15 MHz ราคา 5,200 ล้าน "ราคาน่าจะมากกว่า 15,000 ล้าน" ซึ่งเป็นมูลค่าของความถี่ 2G เดิม...

ประเด็นที่ 2 เสนอให้กระทรวงการคลังเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับการโอนย้ายลูกค้าในระบบ 2G เดิมไปยังเครือข่ายใหม่ 3G ในอัตราเดียวกับที่จ่ายส่วนแบ่งให้รัฐตามสัญญาสัมปทานซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 18-25 % เพื่อให้รัฐยังได้ประโยชน์ที่ควรจะได้จากสัมปทานเดิม และ 3 เสนอให้ชะลอการประมูลออกไปอีกอย่างน้อย 1-2 เดือน "เพื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกกรรมการ กทช.ชุดใหม่จำนวน 4 คน" แทนกรรมการที่หมดวาระและลาออกให้แล้วเสร็จ เพื่อลดข้อครหาเรื่องอำนาจหน้าที่และมารยาทของ กทช.ชุดปัจจุบันที่มีตัวจริงเพียง 3 คน "องค์กรอิสระที่ถูกแทรกแซงด้วยผลประโยชน์" ประเทศชาติกับประชาชน เสียหายอย่างแท้จริง...
กำลังโหลดความคิดเห็น