ไทยเตรียมนำมาตรการกีดกันการนำเข้ากุ้งเข้าหารือกับออสเตรเลียอีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของดับเบิลยูทีโอ หลังเจรจาไปแล้ว ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเข้าข่ายกีดกันการค้าอย่างชัดเจน แถมไร้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มารองรับ พร้อมระบุหากจำเป็นอาจนำเรื่องฟ้องดับเบิลยูทีโอ
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หลังหน่วยไบโอซีเคียวริตี้ของออสเตรเลียได้ทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งนำเข้าจากประเทศไทยพร้อมร่างมาตรการเข้มงวด เช่น เนื้อกุ้งต้องต้มในอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส คณะผู้แทนทั้งไทย 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเจรจาเรื่องนี้แล้ว โดยจะต้องทำความเข้าใจว่า ไทยมีวิธีการทำให้กุ้งปลอดภัยโดยไม่ต้องใช้มาตรการดังกล่าว เพราะจะกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทยไปออสเตรเลีย ซึ่งมีมูลค่า 2,290 ล้านบาท ในปี 2549 และไทยไม่เคยมีประวัติว่าก่อให้เกิดการแพร่เชื้อในฟาร์มกุ้งของประเทศผู้นำเข้า เนื่องจากกรมประมงเข้มงวดอยู่แล้ว
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า ไทยจะยกเรื่องนี้เข้าหารือกับออสเตรเลียอีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชภายใต้องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-1 มีนาคมนี้ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากมาตรการของออสเตรเลียถือเป็นการกีดกันการค้าที่ชัดเจน เพราะไม่มีข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนมาตรการดังกล่าว และกระทรวงพาณิชย์กำลังตรวจสอบความปลอดภัยภายใต้กฎเกณฑ์ดับเบิลยูทีโอ หากจำเป็นอาจนำเรื่องฟ้องดับเบิลยูทีโอในที่สุด
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวถึงการจัดตั้งกองทุนบรรเทาผลกระทบจากข้อตกลงเอฟทีเอ ว่า จะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอเงินงบประมาณปี 2551 จำนวน 500 ล้านบาท มาอุดหนุนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอ โดยอยู่ในกรอบความช่วยเหลือด้านงานวิจัย ฝึกอบรม สัมมนาดูงานแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ใช่รูปเงินสด
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หลังหน่วยไบโอซีเคียวริตี้ของออสเตรเลียได้ทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งนำเข้าจากประเทศไทยพร้อมร่างมาตรการเข้มงวด เช่น เนื้อกุ้งต้องต้มในอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส คณะผู้แทนทั้งไทย 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเจรจาเรื่องนี้แล้ว โดยจะต้องทำความเข้าใจว่า ไทยมีวิธีการทำให้กุ้งปลอดภัยโดยไม่ต้องใช้มาตรการดังกล่าว เพราะจะกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทยไปออสเตรเลีย ซึ่งมีมูลค่า 2,290 ล้านบาท ในปี 2549 และไทยไม่เคยมีประวัติว่าก่อให้เกิดการแพร่เชื้อในฟาร์มกุ้งของประเทศผู้นำเข้า เนื่องจากกรมประมงเข้มงวดอยู่แล้ว
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า ไทยจะยกเรื่องนี้เข้าหารือกับออสเตรเลียอีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชภายใต้องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-1 มีนาคมนี้ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากมาตรการของออสเตรเลียถือเป็นการกีดกันการค้าที่ชัดเจน เพราะไม่มีข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนมาตรการดังกล่าว และกระทรวงพาณิชย์กำลังตรวจสอบความปลอดภัยภายใต้กฎเกณฑ์ดับเบิลยูทีโอ หากจำเป็นอาจนำเรื่องฟ้องดับเบิลยูทีโอในที่สุด
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวถึงการจัดตั้งกองทุนบรรเทาผลกระทบจากข้อตกลงเอฟทีเอ ว่า จะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอเงินงบประมาณปี 2551 จำนวน 500 ล้านบาท มาอุดหนุนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอ โดยอยู่ในกรอบความช่วยเหลือด้านงานวิจัย ฝึกอบรม สัมมนาดูงานแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ใช่รูปเงินสด