ธนาคารโลกเปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับประเทศที่น่าลงทุนในโลก ปี 2550 พบว่า สิงคโปร์ครองแชมป์ประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในโลก แซงหน้านิวซีแลนด์ ขณะที่ไทยดีขึ้น 1 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 18 แต่ยังมีปัญหากฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน รวมทั้งแรงงานขาดทักษะ และขาดสาธารณูปโภค พร้อมชี้ให้มีการปรับปรุงเรื่องการคุ้มครองนักลงทุนและความโปร่งใส
นาย Kazi M. Matin เศรษฐกรอาวุโส เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหัวหน้าหน่วยเศรษฐกิจของธนาคารโลก เปิดเผยรายงานฉบับที่ 4 ของปีนี้ ที่ธนาคารโลกจัดทำร่วมกับบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ เรื่องการจัดอันดับประเทศที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการลงทุนทำธุรกิจมากที่สุดในโลก ในปี 2550 ปรากฏว่า ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุด โดยสามารถแซงแชมป์เก่า คือ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 2 ขณะที่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดีขึ้นเล็กน้อย จากลำดับที่ 19 มาอยู่ที่ 18 ติดอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียน จากการจัดอันดับทั้งหมด 175 ประเทศ ส่วนอันดับที่ 3 ได้แก่ ประเทศสหรัฐ อันดับที่ 4 คือ แคนาดา และอันดับที่ 5 คือ ฮ่องกง
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวได้สำรวจความคิดเห็นของบริษัทเอกชนทั่วโลก 30,000 แห่ง เป็นเอกชนไทยจำนวน 1,385 แห่ง ถึงดัชนีชี้วัดทางธุรกิจ 10 ตัว เช่น ต้นทุนทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมการทำธุรกิจ ขั้นตอนพิธีการทางศุลกากรในการนำเข้า-ส่งออก รวมทั้งธรรมาภิบาล พบว่า ประเทศไทยยังต้องมีการปรับปรุงเรื่องระยะเวลาในการตั้งธุรกิจให้มีความรวดเร็ว ซึ่งประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่ 5 เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ แล้ว การตั้งธุรกิจในประเทศไทยต้องใช้เวลาถึง 33 วัน ขณะที่สิงคโปร์ใช้เวลาเพียง 6 วัน และฮ่องกงเพียง 11 วัน นอกจากนี้ขั้นตอนทางพิธีการศุลกากรที่ยุ่งยากของไทย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและนำเข้า โดยประเทศไทยใช้เวลาในการนำเข้าสินค้า 22 วัน และส่งออกสินค้าถึง 24 วัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ ใช้เวลานำเข้าเพียง 3 วัน และส่งออก 6 วันเท่านั้น
ในรายงานยังพบว่า ประเทศไทยจะต้องมีการปรับปรุงเรื่องธรรมาภิบาล โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย และความโปร่งใส โดยประเทศไทยได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 6 ยังต่ำกว่ามาเลเซีย ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยที่ได้คะแนน 8.7 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีจุดเด่นเรื่องการจดทะเบียนสินทรัพย์ที่เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศนอร์เวย์ โดยใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น
“เรายังเชื่อว่าประเทศไทยสามารถปรับปรุงเรื่องการนำเข้า-ส่งออกให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น และประเทศไทยยังมีความสามารถทางการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพและราคาสินค้าส่งออก แต่ปัญหาของไทยคือ การลงทุนภาคเอกชนค่อนข้างต่ำ ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์มากกว่าการผลิต” นาย Kazi M. Matin กล่าว
นาย Kazi ยังกล่าวถึงข้อจำกัดการลงทุนในไทยว่า มีกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุน การขาดแรงงานที่มีทักษะ ค่าแรงงานสูงขึ้น และการขาดระบบสาธารณูปโภคที่เพียงพอต่อการลงทุน เพราะนับตั้งแต่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ประเทศไทยไม่ได้มีการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นมากนัก และปัญหาการจราจรที่แออัด นอกจากนี้ยังเห็นว่า ในอนาคตประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงความรู้และนวัตกรรม
นาย Kazi M. Matin เศรษฐกรอาวุโส เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหัวหน้าหน่วยเศรษฐกิจของธนาคารโลก เปิดเผยรายงานฉบับที่ 4 ของปีนี้ ที่ธนาคารโลกจัดทำร่วมกับบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ เรื่องการจัดอันดับประเทศที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการลงทุนทำธุรกิจมากที่สุดในโลก ในปี 2550 ปรากฏว่า ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุด โดยสามารถแซงแชมป์เก่า คือ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 2 ขณะที่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดีขึ้นเล็กน้อย จากลำดับที่ 19 มาอยู่ที่ 18 ติดอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียน จากการจัดอันดับทั้งหมด 175 ประเทศ ส่วนอันดับที่ 3 ได้แก่ ประเทศสหรัฐ อันดับที่ 4 คือ แคนาดา และอันดับที่ 5 คือ ฮ่องกง
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวได้สำรวจความคิดเห็นของบริษัทเอกชนทั่วโลก 30,000 แห่ง เป็นเอกชนไทยจำนวน 1,385 แห่ง ถึงดัชนีชี้วัดทางธุรกิจ 10 ตัว เช่น ต้นทุนทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมการทำธุรกิจ ขั้นตอนพิธีการทางศุลกากรในการนำเข้า-ส่งออก รวมทั้งธรรมาภิบาล พบว่า ประเทศไทยยังต้องมีการปรับปรุงเรื่องระยะเวลาในการตั้งธุรกิจให้มีความรวดเร็ว ซึ่งประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่ 5 เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ แล้ว การตั้งธุรกิจในประเทศไทยต้องใช้เวลาถึง 33 วัน ขณะที่สิงคโปร์ใช้เวลาเพียง 6 วัน และฮ่องกงเพียง 11 วัน นอกจากนี้ขั้นตอนทางพิธีการศุลกากรที่ยุ่งยากของไทย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและนำเข้า โดยประเทศไทยใช้เวลาในการนำเข้าสินค้า 22 วัน และส่งออกสินค้าถึง 24 วัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ ใช้เวลานำเข้าเพียง 3 วัน และส่งออก 6 วันเท่านั้น
ในรายงานยังพบว่า ประเทศไทยจะต้องมีการปรับปรุงเรื่องธรรมาภิบาล โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย และความโปร่งใส โดยประเทศไทยได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 6 ยังต่ำกว่ามาเลเซีย ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยที่ได้คะแนน 8.7 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีจุดเด่นเรื่องการจดทะเบียนสินทรัพย์ที่เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศนอร์เวย์ โดยใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น
“เรายังเชื่อว่าประเทศไทยสามารถปรับปรุงเรื่องการนำเข้า-ส่งออกให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น และประเทศไทยยังมีความสามารถทางการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพและราคาสินค้าส่งออก แต่ปัญหาของไทยคือ การลงทุนภาคเอกชนค่อนข้างต่ำ ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์มากกว่าการผลิต” นาย Kazi M. Matin กล่าว
นาย Kazi ยังกล่าวถึงข้อจำกัดการลงทุนในไทยว่า มีกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุน การขาดแรงงานที่มีทักษะ ค่าแรงงานสูงขึ้น และการขาดระบบสาธารณูปโภคที่เพียงพอต่อการลงทุน เพราะนับตั้งแต่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ประเทศไทยไม่ได้มีการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นมากนัก และปัญหาการจราจรที่แออัด นอกจากนี้ยังเห็นว่า ในอนาคตประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงความรู้และนวัตกรรม