xs
xsm
sm
md
lg

ดุลการค้าปี 2548 : แนวโน้มขาดดุลเกือบ 5 หมื่นล้านบาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่รุมเร้าราคาน้ำมันตลาดโลกตั้งแต่ต้นปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงตะวันออกกลาง ความต้องการน้ำมันสูงขึ้นตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเก็งกำไรของกลุ่มกองทุนประกันความเสี่ยง (Hedge Funds) และภัยธรรมชาติ เป็นต้น

ส่งผลราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องช่วงที่ผ่านมา กอปรกับยังเป็นช่วงวัฎจักรขาขึ้นการลงทุนระบบเศรษฐกิจไทย ทำให้การนำเข้าช่วง 7 เดือนแรก ขยายตัวถึง 30% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

คาดว่าจะชะลอเหลือ 21.1% ช่วง 5 เดือนที่เหลือ ซึ่งทำให้อัตราการขยายตัวการนำเข้าตลอดทั้งปีนี้ 26% เป็นอัตราขยายตัวสูงกว่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ที่ขยาย 17.1% ยังเป็นอัตราสูงกว่า เมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวการส่งออกปีนี้ ที่คาดว่าจะขยายตัว 20% แนวโน้มการส่งออก นำเข้า และดุลการค้าของไทยปีนี้ สรุปได้ดังนี้:-

มูลค่านำเข้าน้ำมันดิบช่วง 7 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 41.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ตามการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยช่วง 7 เดือนแรกปรับเพิ่มขึ้น 19.5% จากระยะเวลาเดียวกันปีก่อน มีส่วนทำให้การนำเข้าน้ำมันดิบขยายตัว 41.7% ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงกว่า เมื่อเทียบกับปี 2546 ที่ขยาย 23.8%



ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่สูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี ยังส่งผลราคาสินค้า
นำเข้าอื่นๆ ปรับสูงขึ้นตาม โดยเฉพาะหมวดสินค้าวัตถุดิบ (Raw Materials) และสินค้าทุน (Capital Goods)

จะพบว่า ดัชนีราคาสินค้าหมวดวัตถุดิบเฉลี่ยช่วง 7 เดือนแรก เพิ่มขึ้นเป็น 18% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับเฉลี่ยทั้งปี 2546 ที่ 15.3% ดัชนีราคาสินค้าทุนปรับเพิ่มขึ้น 11.5% เฉลี่ยช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ จาก 2.9% เฉลี่ยตลอดปี 2546

ขณะที่การขยายตัวปริมาณนำเข้าได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวกิจกรรมการลงทุนในประเทศและส่งออก เห็นได้จากการปรับเพิ่มขึ้นดัชนีปริมาณนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเฉลี่ยช่วง 7 เดือนแรก อยู่ที่ 9.4% จากเฉลี่ยทั้งปี 2546 ที่ 1.8% ดัชนีปริมาณนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 13.7% เฉลี่ยช่วง 7 เดือนแรก จาก 11.5% เฉลี่ยปีก่อนหน้า

ตารางแสดงอัตราขยายตัวสินค้านำเข้าแยกตามหมวดสินค้าหลัก

หน่วย: อัตราเปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วง254525462547
เดียวกันปีก่อน (ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ)ไตรมาส 1ไตรมาส 2ก.ค.
มูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค 9%12.9%19.8%22.1%20.1%
ดัชนีราคา-1.5%3.2%1.2%2.6%6.8%
ดัชนีปริมาณ10.8%9.4%18.2%19.1%12.4%
มูลค่านำเข้าสินค้าวัตถุดิบ7.5%17.6%31.1%28.1%27.1%
ดัชนีราคา4.9%15.3%17.1%19.1%16.9%
ดัชนีปริมาณ2.7%1.8%11.9%7.5%8.7%
มูลค่านำเข้าสินค้าทุน 0.4%14.9%26%29.2%22.2%
ดัชนีราคา-8%2.9%11.7%12.4%8.5%
ดัชนีปริมาณ10.7%11.5%12.8%15.0%12.6%

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการนำเข้าช่วง 5 เดือนที่เหลือ จะขยายตัวชะลอ ตาม
แนวโน้มชะลอตัวปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบ และการอ่อนค่าราคาน้ำมัน ล่าสุด ปริมาณนำเข้าน้ำมันเฉลี่ย พ.ค. หดตัว 4.7% ข้อมูลสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

ขณะที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก เริ่มมีสัญญาณอ่อนตัว ตั้งแต่ปลาย ส.ค.ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ย 2 สัปดาห์แรก ก.ย. ลดลงแตะราคาเฉลี่ย 41.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล จาก 43.8 ดอลลาร์/บาร์เรล เฉลี่ยทั้ง ส.ค. จึงเป็นไปได้ว่า มูลค่านำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศช่วง 5 เดือนที่เหลือปีนี้ น่าจะชะลอ ซึ่งทำให้อัตราขยายตัวขนำเข้ารวมช่วงดังกล่าว จะชะลอด้วย

นอกจากปัจจัยราคา และปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบ แนวโน้มปริมาณใช้จ่าย
ภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแรงลง ก็มีส่วนให้การนำเข้าชะลอช่วง 5 เดือนที่เหลือ

จากการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศเฉลี่ยช่วงครึ่งหลังปีนี้ คาดว่าสูงขึ้นประมาณ 29.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เมื่อเทียบกับที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 5.5% ช่วงครึ่งแรกของปี

ประกอบกับอเงินเฟ้อทั่วไปขยับขึ้นช่วงครึ่งหลังของปี ตามราคาสินค้าเกษตร และน้ำมัน มาที่เฉลี่ย 3.1% จาก 2.3% ช่วงครึ่งปีแรก ย่อมส่งผลกำลังซื้อผู้บริโภคน้อยลง ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังสูญเสียความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจ

สะท้อนได้ถึงการเพิ่มความระวังจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้แนวโน้มนำเข้าสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคช่วง 5 เดือนที่เหลือ น่าจะชะลอ

สำหรับการลงทุน โดยเฉพาะภาคเอกชน คาดว่าจะชะลอ จากผลกระทบความเชื่อมั่นถดถอยลงของภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบแนวโน้มนำเข้าสินค้าทุนช่วงที่เหลือของปี

ดุลการค้าปีนี้ คงเกินดุลน้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากการนำเข้า
สินค้าปีนี้ คงจะขยายตัวสูงกว่าการส่งออก คาดว่ามูลค่านำเข้าคงขยายตัวสูงถึง 26% ปีนี้ ขณะที่ส่งออกขยายตัวประมาณ 20% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

ส่งผลดุลการค้าทั้งปีนี้ เกินดุลประมาณ 590 ล้านดอลลาร์ น้อยลงเมื่อเทียบกับยอดเกินดุลปี 2546 ที่ 4,202 ล้านดอลลาร์ การลดลงของฐานะดุลการค้าดังกล่าว เป็นปัจจัยหนึ่ง ส่งผลกระทบการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ คาดว่าอัตราขยายตัว GDP ไทยปีนี้ ชะลอที่ 6% จาก 6.8% ปีก่อนหน้า

แนวโน้มปี 2548 คาดว่าการนำเข้าจะยังคงชะลอ จากปัญหาแนวโน้มเงินเฟ้อและดอกเบี้ยในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลการใช้จ่ายในประเทศจะอ่อนตัว โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ประกอบกับแนวโน้มการอ่อนตัวราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ตลอดจนแนวโน้มส่งออกปี 2548 คาดว่าจะชะลอตามแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจโลก 3.2% ปี 2548 จากที่คาดว่าจะขยายตัว 4% ปีนี้ (Consensus Forecasts)

โดยเฉพาะ 4 ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย คือ สหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัว 3.5% ปี 2548 ชะลอจาก 4.3% ปีนี้ ญี่ปุ่น (1.8% จาก 4.3%) สิงคโปร์ (4.7% จาก 8.2%) และจีน (7.7% จาก 8.9%) คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 44.1% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย แนวโน้มดุลการค้าและอัตราเติบโตเศรษฐกิจไทยปี 2548 สรุปได้ดังนี้ :-

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า แนวโน้มอ่อนตัวราคาน้ำมันดิบตลาดโลกจะส่งผล
มูลค่านำเข้าน้ำมันของไทยชะลอปี 2548 หากราคาน้ำมันดิบอ่อนลง 1 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้มูลค่านำเข้าน้ำมันดิบลดประมาณ 0.75-0.80 ล้านดอลลาร์/วัน หรือกว่า 22.5-24.8 ล้านดอลลาร์/เดือน

จะส่งผลมูลค่านำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศของไทยปี 2548 ลดประมาณ 800-850 ล้านดอลลาร์ จากปีนี้ เป็นผลดีฐานะดุลการค้า หรือเสถียรภาพภาคต่างประเทศของไทยปี 2548

แม้มูลค่านำเข้าปี 2548 จะชะลอต่อเนื่องจากช่วงที่เหลือปีนี้ แต่คาดว่าจะ
ยังคงเป็นอัตราที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับการขยายตัวการส่งออก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า อัตราขยายตัวการนำเข้า ชะลอเหลือ 10% ปี 2548 จาก 26% ปีก่อน

จากการชะลอการบริโภคในประเทศ รวมทั้งอัตราขยายตัวส่งออก ที่คงจะชะลอเหลือ 8% ปี 2548 จาก 20% ปีนี้ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบต่างๆ อาทิ แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น นโยบายชะลอการเติบโตค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจจีน เป็นต้น

ซึ่งบ่งชี้ความต้องการสินค้าตลาดโลกที่ชะลอตาม โดยเฉพาะเศรษฐกิจ 4 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ 15.8% ของมูลค่าส่งออกรวม 7 เดือนแรก ญี่ปุ่น (14.1%) สิงคโปร์ (7.2%) และจีน (7%) คิดเป็นสัดส่วนรวม 44.1% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย

แม้การส่งออกของไทยปี 2548 จะยังได้รับผลดีจากแนวโน้มขยายตัวขนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของสหภาพยุโรป ตามอัตราขยายตัวเศรษฐกิจ ที่จะเพิ่มขึ้น 2.4% ปี 2548 จากที่คาดว่าจะขยายตัว 2% ปีนี้ ประมาณการโดย IMF

แต่เนื่องจากน้ำหนักส่งออกสินค้าไทยไปประเทศสหภาพยุโรป คิดเป็นสัดส่วนเพียง 14.8% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ 4 ประเทศคู่ค้าหลักดังกล่าว คาดว่าอัตราขยายตัวการส่งออกของไทย จะอ่อนตัวลงหลีกเลี่ยงไม่ได้

ตารางแสดงตัวเลขคาดการณ์ขยายตัว
การนำเข้า 5 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย

หน่วย: อัตราเปลี่ยนแปลงเทียบกับ25462547*2548*
ช่วงเดียวกันปีก่อน
สหรัฐฯ 4.7%10.8%6.5%
ญี่ปุ่น 3.0%8.9%2.2%
สหภาพยุโรป **1.6%5.2%5.8%
จีน 39.9%33.6%17.2%
สิงคโปร์ 9.5%16.0%10.9%

หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ (Consensus Forecasts) ยกเว้น ญี่ปุ่น
ที่เป็นตัวเลขประมาณการจาก Mitsubishi Research Institute, Inc.
** เป็นอัตราการขยายตัวปริมาณนำเข้าสินค้า ซึ่งประมาณการโดย IMF

อัตราขยายตัวการนำเข้า ที่คาดว่าจะสูงกว่าส่งออก ย่อมมีผลกดดันฐานะ
ดุลการค้าไทย ที่อาจขาดดุลปี 2548 คาดว่าดุลการค้าปี 2548 ขาดดุลทั้งสิ้นประมาณ 1.2 พันล้านดอลลาร์ (กว่า 5 หมื่นล้านบาท)

จากที่คาดว่าจะเกินดุลประมาณ 590 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท) ปีนี้ เป็นการขาดดุลการค้าครั้งแรก นับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งไม่น่าจะเป็นสัญญาณดีต่อเสถียรภาพภาคต่างประเทศ และระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม

น่าสังเกตว่า ดุลการค้าไทยปี 2548 แนวโน้มขาดดุล ท่ามกลางการชะลอตัว
เศรษฐกิจ แนวโน้มขาดดุลดังกล่าว เป็นผลจากการนำเข้ายังคงขยายตัวตามการลงทุน ขณะที่รายจ่ายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคที่อ่อนตัวลง ตลอดจนแนวโน้มชะลอตัวการส่งออก

การที่บัญชีดุลการค้าเป็นองค์ประกอบหนึ่ง คิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทำให้ภาวะขาดดุลการค้าดังกล่าว อาจซ้ำเติมแนวโน้มชะลอของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับแนวโน้มอ่อนค่าลงของเงินบาทปี 2548 ทำให้การขาดดุลการค้าอาจส่งผลกระทบทางลบต่อ GDP มากขึ้น ซึ่งคาดว่า GDP ไทยจะขยาย 5.5% ปี 2548 ชะลอจากที่คาดว่าจะขยาย 6% ปีนี้

สรุป สถานการณ์ราคาน้ำมันแพงตั้งแต่ต้นปีนี้ สร้างแรงกดดันเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะเสถียรภาพต่างประเทศของระบบเศรษฐกิจ จากต้นทุนนำเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับยังเป็นช่วงวัฏจักรขาขึ้นการลงทุนในระบบเศรษฐกิจไทย

ส่งผลให้คาดว่า อัตราขยายตัวนำเข้าปีนี้ จะขยายตัวเป็น 26% จาก 17.1% ปี 2546 ขณะที่คาดว่าการส่งออกขยาย 20% ปีนี้ จากที่ขยายตัว 18.6% ปีก่อนหน้า แต่ยังคงเป็นอัตราขยายตัวน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นการนำเข้า

รวมทั้งส่งผลกดดันฐานะดุลการค้าปีนี้ ให้เกินดุลน้อย เหลือประมาณ 590 ล้านดอลลาร์ จากที่เกินดุลถึง 4,202 ล้านดอลลาร์ปี 2546 การปรับลดลงของดุลการค้าดังกล่าว เป็นปัจจัยหนึ่ง ส่งผลกระทบการขยายตัวเศรษฐกิจไทย คาดว่าอัตราเติบโตเศรษฐกิจปีนี้ ชะลอเหลือ 6% จาก 6.8% ปี 2546

นอกจากนั้น คาดการณ์อัตราเติบโตเศรษฐกิจโลก ที่คงจะชะลอเหลือ 3.2% ปี 2548 จาก 4% ปีนี้ คาดว่าอัตราขยายตัวการส่งออกไทย จะอ่อนตัวตาม เหลือ 8% ปี 2548 ขณะที่การนำเข้ายังคงจะขยายตัว 10% ตามการขยายตัวการลงทุน

ภาวะการณ์ดังกล่าว ส่งผลดุลการค้าปี 2548 อาจขาดดุลประมาณ 1.2 พันล้านดอลลาร์ จากที่คาดว่าจะเกินดุล 590 ล้านดอลลาร์ ซึ่งขาดดุลการค้าครั้งแรก นับแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ ดุลการค้าเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง คำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การขาดดุลการค้า จึงอาจส่งผลซ้ำเติมแนวโน้มชะลอตัวเศรษฐกิจไทยปี 2548 ขณะเดียวกัน แนวโน้มการอ่อนค่าเงินบาทปี 2548 อาจทำให้การขาดดุลดังกล่าว ส่งผลกระทบการเติบโตเศรษฐกิจมากขึ้น

โดยเฉพาะเมื่อต้องแปลงยอดขาดดุลดังกล่าว จากหน่วยดอลลาร์ อยู่ในรูปเงินบาท ในการคำนวณตามบัญชีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ คิดเป็นขาดดุลกว่า 5 หมื่นล้านบาท คาดว่า GDP ไทยอาจขยายตัว 5.5% ปีหน้า ชะลอจากที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 6% ปีนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น