xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯจดจ่อศึกเลือกตั้งไทย สงวนท่าทีขอดูก่อนแล้วค่อยคืนสัมพันธ์ปกติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เซาต์ไชนามอร์นิงโพสต์ - วอชิงตันจดจ่อเป็นอย่างยิ่งต่อศึกเลือกตั้งของไทยในวันอาทิตย์นี้(24มี.ค.) ที่จะนำพาประเทศกลับสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริการะบุในวันศุกร์(22มี.ค.) พร้อมแสดงความคาดหวังว่าการกลับคืนสู่การปกครองโดยพลเรือนจะเปิดทางให้สองพันธมิตรตามสนธิสัญญารื้อฟื้นความสัมพันธ์กลับสู่ปกติ

ดับเบิลยู.แพทริค เมอร์ฟีย์ รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่ดูแลกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับไทยนั้นยังคงทน แม้ต้องเผชิญอุปสรรคด้านการบริหารและสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

ไทยและสหรัฐฯมีสนธิสัญญากลาโหมทวิภาคี ทำให้ไทยและฟิลิปปินส์ เป็นพันธมิตรสนธิสัญญานอกนาโต้ของสหรัฐฯ เพียง 2 ชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมอร์ฟีย์ ไม้ได้อ้างถึงเหตุการณ์ต่างๆอย่างเจาะจง แต่ไม่นานหลังผู้นำรัฐประหารและนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจในเดือนพฤษภาคม 2014 ทางสหรัฐฯได้ใช้มาตรการต่างๆส่งสัญญาณของความไม่ชอบใจ ในนั้นรวมถึงลดระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงในบางแง่มุม

"เรากระตือรือร้นเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นไทยคืนสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง" เมอร์ฟีย์กล่าวกับผู้ส่อข่าวในวันศุกร์(22มี.ค.) หลังเดินทางเยือนกรุงเทพฯและจาการ์ตาอย่างเป็นทางการ "ประชาธิปไตยเคยทำหน้าที่ในไทยและรับใช้ประชาชนคนไทยในอดีต เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทลงเอยของกระบวนการในปัจจุบันจะก่อผลลัพธ์ในรูปแบบนั้น"

อย่างไรก็ตาม เมอร์ปีย์ ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เสนอชื่อให้เป็นเอกอัคราชทูตประจำกัมพูชา ไม่ได้ตอบคำถามโดยตรง ต่อคำถามว่าว่าความสัมพันธ์ด้านกลาโหมจะหวนคืนสู่ระดับปกติอย่างสมบูรณ์หรือไม่

ปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อุปทูตแห่งสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์ก เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาว่า วอชิงตันกำลังเตรียมการอย่างกระตือรือร้นในการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับไทยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการทหาร หากว่าไทยคืนสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม เมอร์ฟีย์ พูดเป็นนัยว่ารัฐบาลของทรัมป์จะใช้แนวทางรอดูสถานการณ์ก่อน "ความสัมพันธ์ต้องเผชิญความท้าทายมาหลายปี ทั้งด้านการบริหารและสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และเราสามารถก้าวผ่านอุปสรรคเหล่านั้นได้ เราจะรอดูว่าไทยจะเดินทางไปในกระบวนการนั้นอย่างไร"

ไทยและสหรัฐฯมีความสัมพันธ์ทวิภาคีกันมาหลายกว่า 2 ศตวรรษและมีความร่วมมือทางทหารที่แข็งแกร่งในอดีต โดยอเมริกาเคยใช้ไทยเป็นฐานจัดเตรียมกองกำลังระหว่างสงครามเวียดนาม และทหารจากทั้งสองชาติได้จัดการซ้อมรบร่วมประจำปี "คอบร้าโกลด์" ต่อเนื่องมานานเกือบ 4 ทศรรษ และเมื่อเร็วๆได้มีชาติอื่นๆเข้ามาเกี่ยวพัน ทั้งเข้าร่วมซ้อมรบด้วยหรือมาในฐานะผู้สังเกตการณ์

อย่างไรก็ตามการที่กองทัพเข้ายึดอำนาจโค่นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อ 5 ปีก่อน กระพือความสัมพันธ์อันตึงเครียดกับเหล่ารัฐบาลประชาธิปไตยในตะวันตก และทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นที่ไทยจะซื้ออาวุธจากประเทศเหล่านั้น ทำให้รัฐบาลของประยุทธ์ต้องหันไปขอแรงสนับสนุนด้านกลาโหมจากจีนเพิ่มขึ้น

เมื่อเดือนมกราคม รัฐบาลไทยแถลงว่ามีความตั้งใจซื้อรถถังที่ผลิตโดยจีนอีก 14 คัน เพิ่มเติมจากที่ซื้อไปแล้ว 11 คันและเรือลำดำน้ำ 3 ลำในปี 2017 ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อจากจีนรวมเป็นมูลค่ามากกว่า 43,000 ล้านบาท

ในทางกลับกัน สหรัฐฯขายอาวุธให้ไทยแค่ 437 ล้านดอลลาร์(ประมาณ 14,000ล้านบาท) ตลอดช่วง 5 ปีที่่ผ่านมา แต่ตัวเลขดังกล่าวยังไม่นับรวมการทำธุรกรรมของภาคเอกชน
กำลังโหลดความคิดเห็น