xs
xsm
sm
md
lg

In Clips: อดีตทูตแคนาดาจี้ทรูโด “อย่าใช้สาวซาอุฯ” เป็นฟุตบอลทางการเมือง – ริยาดส่งเสียงครั้งแรกผ่านกลุ่มสิทธิฯที่ให้เงิน “ต่างชาติยุยงให้ผู้หญิงหนีออกนอกประเทศ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


รอยเตอร์/เอเจนซีส์ - กลายเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไปแล้ว ล่าสุดสมาคมแห่งชาติเพื่อสิทธิมนุษยชน NSHR (National Society for Human Rights)ของซาอุฯ ที่ถูกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯชี้ว่า รับทุนมาจากริยาด ออกแถลงการณ์ในวันอาทิตย์(13 ม.ค)ประณามชาติตะวันตก และองค์กรระหว่างประเทศที่ยุยงให้พลเมืองหญิงซาอุฯหลบหนีออกนอกประเทศ เกิดขึ้นหลังอดีตเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำซาอุฯเตือนรัฐบาลแคนาดา อย่าใช้สาวซาอุฯวัย 18 ราฮาฟ โมฮัมเหม็ด อัล-คูนุน ตอบโต้ทางการเมือง

รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้(14 ม.ค)ว่า ในแถลงการณ์ที่ออกมาในช่วงค่ำวันอาทิตย์(13) สมาคมแห่งชาติเพื่อสิทธิมนุษยชน NSHR (National Society for Human Rights)สัญชาติซาอุฯไม่ได้เอ่ยชื่อของ โมฮัมเหม็ด อัล-คูนุน ที่ตกเป็นข่าวไปทั่วโลกหลังเธอได้ขังตัวเองภายในห้องพักโรงแรมในกรุงเทพฯ แต่กลับชี้ไปว่า มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ยุยงให้เด็กสาวปฎิเสธครอบครัวของตัวเอง

รอยเตอร์ชี้ว่า นี่ถือเป็นการออกมาแสงดความเห็นครั้งแรกจากริยาดนับตั้งแต่อัล-คูนุนที่อ้างว่าถูกครอบครัวกดขี่ ได้รับการต้อนรับจากแคนาดาให้ที่สำหรับลี้ภัย

โดย มูเฟลห์ อัล-คาฮ์ตานี(Mufleh al-Qahtani) ผู้อำนวยการNSHประกาศผ่านแถลงการณ์ กล่าวโทษบางประเทศที่ไม่มีการเอ่ยชื่อถึง และองค์กรระหว่างประเทศ สำหรับการผลักดันวาระทางการเมือง และ “ผลักให้(ผู้หญิง) ต้องหลงทาง และบางทีอาจตกอยู่ในน้ำมือของนายหน้าคนกลางและกลุ่มลักลอบค้ามนุษย์”

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ทางNSHR ซึ่งเป็นกลุ่มด้านสิทธิมนุษยชนที่มีฐานในซาอุฯอ้างว่า ทางกลุ่มนั้นอิสระ แต่ทว่ากลับพบว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯในครั้งหนึ่งได้เคยออกมาระบุว่า องค์กรนี้ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลริยาด

ในแถลงการณ์ คาฮ์ตานีกล่าวต่อว่า “NSHR รู้สึกแปลกใจที่มีการยุยงออกมาจากบางประเทศที่ให้สตรีชาวซาอุฯประพฤติผิดทางอาญาขั้นต่ำด้วยการเป็นกบฎต่อคุณค่าของครอบครัวของคนเหล่านั้น และผลักดันให้พวกเธอเดินทางออกนอกประเทศ และตอบรับคนเหล่านั้นภายใต้ชื่อการให้ที่ลี้ภัย”

ทั้งนี้ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชนซาอุฯไม่ได้เอ่ยไปถึง “ออสเตรเลีย” และ “แคนาดา” ที่พิจารณาอนุญาตให้อัล-คูนุนลี้ภัยในประเทศเหล่านั้น หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ที่ยอมรับอัล-คูนุนในฐานะผู้ลี้ภัย

คาฮ์ตานียืนยันว่า กฎหมายซาอุฯห้ามการปฎิบัติไม่เหมาะสมต่อสตรี พร้อมทั้งยังอนุญาตให้สตรีที่ถูกกระทำสามารถเข้าร้องเรียนได้ แต่เขายอมรับว่า ในทางปฎิบัติมีผู้หญิงซาอุฯเป็นจำนวนมากที่เกรงว่า การเข้าแจ้งความต่อตำรวจยิ่งจะทำให้ชีวิตของพวกเธอได้รับอันตราย

การออกมาแสดงความเห็นของทางกลุ่มเกิดขึ้น 1 วันหลังจากที่อดีตเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำซาอุฯที่ถูกริยาดสั่งขับในหน้าร้อนปีที่แล้วได้ออกมาเตือนแคนาดาว่า อย่าใช้สาวซาอุฯวัย 18 ปีเป็นฟุตบอลทางการเมืองเพื่อตอบโต้ริยาดสำหรับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน

เดนนิส โฮรัค(Dennis Horak) อดีตเอกอัครราชทูตแคนาดาได้แสดงความเห็นผ่านการรายงานของสื่อ CBC แคนาดาในวันเสาร์(12)ว่า หากรัฐบาลแคนาดาตัดสินใจที่จะหาประโยชน์จากการเดินทางมาที่แคนาดาของ ราฮาฟ โมฮัมเหม็ด อัล-คูนุน เพื่อประโยชน์ทางการเมือง มันอาจเสี่ยงที่จะทำให้อัล-คูนุนต้องตกอยู่ในอันตราย

CBC ชี้ว่าการให้สัมภาษณ์ของโฮรัคในรายการ “อย่างที่เกิดขึ้น” (As It Happens) ที่มีผู้ดำเนินรายการคือ แคโรล ออฟ(อ Carol Off) เกิดขึ้นก่อนที่สาวซาอุฯจะเดินทางมาถึงเมืองโตรอนโต

โดยโฮรัคกล่าวว่า การที่แคนาดาออกหน้าให้ที่ลี้ภัยเป็นเพราะ เป็นสิ่งที่สมควรกระทำ แต่ชี้ว่าอาจกลายเป็นดาบ 2 คม เพราะทางริยาดอาจประกาศตัดความสัมพันธ์ได้ยิ่งในสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชาติไม่สู้ดี แต่อย่างไรก็ตาม อดีตเอกอัครราชทูตแคนาดาชี้ว่า แต่คิดว่า การกระทำของแคนาดายืนยันในจุดยืนเดิมมาตลอด สอดคล้องกับท่าทีของรัฐบาลในด้านสตรีและสิทธิมนุษยชน

และเมื่อโฮรัคถูกถามถึงออสเตรเลียว่า เป็นไปได้ไหมที่ทางออสเตรเลียไม่ต้องการให้ที่ลี้ภัยแก่อัล-คูนุน ทำให้เขาตอบกลับมาว่า

“ผมไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะไม่รับหรือพยายามที่จะเตะถ่วง แต่ที่แน่ๆคือพวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกว่า มากกว่าของเรา และบางทีพวกเขาอาจจะวิตกว่าอาจเป็นผลร้ายกลับมา”

และเมื่อโฮรัคถูกถามว่า ทางแคนาดาจะหาประโยชน์อะไรได้จากสถานการณ์การให้ที่ลี้ภัยแก่อัล-คูนุน เขาได้ตอบกลับมาว่า

“มีสิ่งที่ชัดเจนคือ...การสนใจจากสื่อเมื่อเธอเดินทางมาถึง และคำถามคือ เราจะข้องเกี่ยวทางการเมืองกับสิ่งนี้มากน้อยเท่าใด เธอจะกลายเป็นฟุตบอลทางการเมืองมากเท่าใด...หากว่าเรามีนายกรัฐมนตรีที่ให้การต้อนรับเธอ มีรัฐมนตรีที่ทักทายเธอ รวมไปถึงงานแถลงข่าวและทั้งหมด

และเสริมต่อว่า “หากว่า ต่อไปข้างหน้า เธอตัดสินใจแล้วว่า ...เธอต้องการเป็นตัวโฆษณาสำหรับกฎหมายผู้ปกครองชายในซาอุฯ และความจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิทธิมนุษยชน นั่นต้องขึ้นอยู่กับเธอเอง” โฮรัคกล่าวย้ำว่า “แต่ผมไม่คิดว่าจะอยู่ในความสนใจของเธอสำหรับเราในการจัดการเล่นเกมส์กับเธอในเวลานี้”

และเมื่อเขาได้ถูกถามถึงความกังวลจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่อตัวสาวซาอุฯ ที่ไม่แต่พ่อและพี่ชายเดินทางจากซาอุฯเพื่อมาตามตัวเธอถึงไทย แต่ยังรวมไปถึงจากการที่อัล-คูนุนกล่าวปฎิเสธศาสนาอิสลาม ในประเด็นนี้อดีตทูตแคนาดากล่าวอย่างชัดเจนว่า

“ดังนั้น เธอตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภูมิหลังเช่นนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมได้ชี้ว่า ทำไมถือเป็นเรื่องสำคัญเป็น 2 เท่าที่เราต้องไม่ใช้เธอสำหรับการโฆษณา พยายามที่จะไม่หาประโยชน์ทางการเมืองจากตัวเธอในจากฐานะรัฐบาลหรือองค์กรของแคนาดา”







กำลังโหลดความคิดเห็น