xs
xsm
sm
md
lg

“ทะไลลามะ” ตรัสจะเสด็จเยี่ยมว่า ปธน.สหรัฐฯ “โดนัลด์ ทรัมป์”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รอยเตอร์ - องค์ทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตตรัสในวันนี้ (23) ว่า พระองค์จะเสด็จเยี่ยมประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ การพบปะที่จะสร้างความไม่พอใจให้กับปักกิ่งซึ่งมองว่า พระผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพรายนี้เป็นนักแบ่งแยกดินแดนตัวอันตราย

ในการตรัสระหว่างการเยือนกรุงอูลานบาตอร์ เมืองหลวงของมองโกเลียและถูกถามเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ องค์ทะไลลามะ ตรัสว่า พระองค์ทรงมองว่าสหรัฐฯ “ผู้นำของโลกเสรี” อยู่เสมอ

“อาตมาคิดว่ามีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับสหรัฐฯ ดังนั้นอาตมาจะไปเยี่ยมประธานาธิบดีคนใหม่” พระองค์บอกกับผู้สื่อข่าว โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา พบกับองค์ทะไลลามะที่ทำเนียบขาวเมื่อเดือนมิถุนายนทั้งๆ ที่ถูกจีนเตือนว่ามันจะทำลายความสัมพันธ์ทางการทูต การพบปะกับองค์ทะไลลามะที่ทำเนียบขาวครั้งที่ 4 ของโอบามาในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา

องค์ทะไลลามะ ซึ่งตรัสเป็นภาษาอังกฤษไม่ให้ความสนพระทัยกับบางคำพูดในการหาเสียงเลือกตั้งสหรัฐฯ

“บางครั้งอาตมาคิดว่าในช่วงการเลือกตั้งผู้สมัครมีเสรีภาพในการแสดงออกมากกว่า แต่เมื่อได้รับเลือกตั้งและมีความรับผิดชอบ ถึงตอนนั้นพวกเขาต้องบอกกับท่านว่าทัศนวิสัยและงานของพวกเขาเป็นอย่างไรตามความเป็นจริง”

จีนมององค์ทะไลลามะว่าเป็นนักแบ่งแยกดินแดน ถึงแม้พระองค์จะตรัสว่าพระองค์เพียงต้องการอำนาจการปกครองตนเองอย่างแท้จริงให้กับทิเขต บ้านเกิดแถบเทือกเขาหิมาลัยของพระองค์ ซึ่งทหารคอมมิวนิสต์จีน “ปลดแอกอย่างสันติ” ในปี 1950

จีนไม่พอใจต่อการตัดสินใจของมองโกเลียที่ยอมให้พระองค์เสด็จเยือน ถึงแม้กระทรวงการต่างประเทศมองโกเลียจะระบุในถ้อยแถลงต่อสำนักข่าวมอนต์ซาเมว่า รัฐบาลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเยือนดังกล่าวซึ่งถูกจัดเตรียมโดยกลุ่มพระสงฆ์ชาวมองโกเลีย

หลังจากองค์ทะไลลามะเสด็จเยือนมองโกเลียในปี 2006 จีนยกเลิกเที่ยวบินระหว่างปักกิ่งและอูลานบาตอร์ชั่วระยะหนึ่ง

ปักกิ่งแสดงความไม่พอใจบ่อยครั้งกับประเทศที่ต้อนรับองค์ทะไลลามะ ซึ่งทรงลี้ภัยไปยังอินเดียในปี 1959 ภายหลังการลุกฮือต่อต้านจีนที่ล้มเหลว

กลุ่มสิทธิและผู้ลี้ภัยกล่าวหาว่าจีนเหยียบย่ำสิทธิทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวทิเบต ข้อกล่าวหาที่ปฏิเสธโดยจีนซึ่งระบุว่า การปกครองของพวกเขานำความเจริญมาสู่ภูมิภาคซึ่งครั้งหนึ่งเคยล้าหลังมาก่อน


กำลังโหลดความคิดเห็น