xs
xsm
sm
md
lg

สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้หลัง “กรีซ” โหวตโน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ผู้คนต่อแถวรอกดเงินจากตู้เอทีเอ็มนอกธนาคารแห่งหนึ่งในเมืองเทสซาโลนิกี เมื่อวันจันทร์(6ก.ค.) หลังชาวกรีกมากกว่า 60% ทีเดียว ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ ขณะที่บีบีซีนิวส์ออกบทวิเคราะห์โดยวาดภาพสถานการณ์จำลองที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 แบบ ทว่าในสถานการณ์จำลองทุกๆ แบบ ปัจจัยชี้ขาดยังคงเป็น สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกธนาคารกรีซ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเงินอัดฉีดฉุกเฉินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
บีบีซีนิวส์ - ชาวกรีกมากกว่า 60% ทีเดียว ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ ถึงแม้นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส บอกว่านี่ไม่ใช่การลงคะแนนเพื่อแตกหักกับยุโรป ทว่าบรรดาผู้นำในยูโรโซนหลายๆ คนก็เรียงแถวออกมาเตือนตั้งแต่ก่อนหน้านี้ว่า การโหวต “โน” หมายถึงการตัดสินใจออกจากสกุลเงินยูโรของกรีซ หรือที่เรียกขานกันว่า “เกร็ตซิต” (Grexit)

สถานการณ์ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร กรีซจะยังคงอยู่ในยูโรโซน หรือว่าต้องออกจากการใช้สกุลเงินตราหนึ่งเดียวของยุโรปสกุลนี้ บีบีซีนิวส์ออกบทวิเคราะห์โดยวาดภาพสถานการณ์จำลองที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 แบบ ทว่าในสถานการณ์จำลองทุกๆ แบบ ปัจจัยชี้ขาดยังคงเป็น สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกธนาคารกรีซ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเงินอัดฉีดฉุกเฉินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
นักลงทุนในตลาดหุ้นแฟรงค์เฟิร์ต ของเยอรมนี เจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซ จับตาสถานการณ์ของเอเธนส์อย่างไม่กระพริบตา หลังชาวกรีกมากกว่า 60% ทีเดียว ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้
**สถานการณ์แรก: กรีซออกจากยูโรโซนหลังจากพยายามเจรจาแต่ล้มเหลว**

ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากบอกว่า นี่เป็นสถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด เนื่องจากถึงแม้ซีปราสยืนยันว่า การลงประชามติของชาวกรีกไม่ใช่การแตกหักกับยุโรป หากเพื่อทำให้เอเธนส์มีอำนาจต่อรองกับเจ้าหนี้มากขึ้น ทว่าผู้นำของยุโรปจำนวนมากกลับมองว่า นี่คือจุดจบของการเจรจาต่อรองอันยืดเยื้อเพื่อให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป และยุโรปจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างฉับไวในเรื่องยุติการให้ความช่วยเหลือพวกธนาคารของกรีซ

เหล่ารัฐมนตรีของเยอรมนี ตลอดจนถึงผู้นำอิตาลีและฝรั่งเศส ต่างแสดงความเห็นว่า การลงประชามติของกรีซเป็นการชี้ชะตาว่ากรีซจะอยู่กับยูโรโซนต่อหรือไม่ ซิกมาร์ เกเบรียล รองนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ออกปากวิจารณ์ในคืนวันอาทิตย์ (5) ว่า เมื่อผลประชามติออกมาเช่นนี้ ก็เท่ากับนายกรัฐมนตรีกรีซ “ได้รื้อทำลายสะพานสุดท้ายซึ่งยังเชื่อมระหว่างยุโรปกับกรีซ ให้มีช่องทางเคลื่อนไปสู่การประนีประนอมได้” ไปเรียบร้อยแล้ว

มีการนัดหมายพบปะหารือกันอย่างคึกคักในยุโรปตั้งแต่วันจันทร์ (6) เป็นต้นว่า การประชุมของคณะมนตรีบริหารของอีซีบี และการพบปะระหว่างนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี กับประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส ส่วนในวันอังคาร (7) มีการประชุมซัมมิตของผู้นำทั่วทั้งยูโรโซน และการหารือของกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) ทว่าแนวโน้มเต็มไปด้วยความมืดมน

เจอโรน ดิจเซลโบลม ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า เวลานี้ ขึ้นอยู่กับเอเธนส์ว่าจะยื่นเสนอมาตรการปฏิรูปที่ยากลำบากมาให้พิจารณาหรือไม่ ขณะที่นายกรัฐมนตรีอีวา โคแพกซ์ของโปแลนด์ ชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นขั้นตอนใหม่มุ่งไปสู่เกร็ตซิต

**สถานการณ์ที่สอง: แบงก์กรีซล้มครืน ซึ่งอาจนำไปสู่เกร็กซิต ... หรือก่อให้เกิดข้อตกลง**

ถึงแม้การทำข้อตกลงใดๆ ระหว่างกรีซกับพวกเจ้าหนี้โดยเฉพาะชาติสมาชิกอื่นๆ ของยูโรโซน อาจจะมีลักษณะเป็นข้อตกลงทางการเมือง ทว่าสิ่งซึ่งกำลังเป็นเงาทะมึนครอบอยู่เหนือการต่อรองทางการเมืองใดๆ กลับเป็นเรื่องสถานะของพวกธนาคารกรีซ ซึ่งได้ปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน หลังจากอีซีบีระงับไม่เพิ่มเพดานการอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉินให้

รัฐบาลกรีซให้สัญญาต่อประชาชนว่า การโหวต “โน” จะทำให้แบงก์กลับมาเปิดทำการในวันอังคาร (7) แต่ไม่มีแนวโน้มใดๆ เลยว่า อีซีบีจะเพิ่มการสนับสนุนเงินสดฉุกเฉิน (ที่เรียกกันว่า “ความช่วยเหลือสภาพคล่องฉุกเฉิน” หรือ ELA) จากระดับ 89,000 ล้านยูโร (98,000 ล้านดอลลาร์) ที่ได้อนุมัติไปแล้ว นั่นหมายความว่าบรรดาธนาคารของกรีซมีโอกาสอยู่รอดต่อไปอีกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ตัวเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือ แบงก์กรีซเปิดทำการอีกครั้งพร้อมสกุลเงินคู่ขนานก่อนฟื้นเงินสกุล “แดร็กมา” กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลกรีซต้องเตรียมการผละจากสกุลเงินยูโรนั่นเอง
 หลังชาวกรีกมากกว่า 60%  ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ บีบีซีนิวส์ออกบทวิเคราะห์โดยวาดภาพสถานการณ์จำลองที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 แบบ ทว่าในสถานการณ์จำลองทุกๆ แบบ ปัจจัยชี้ขาดยังคงเป็น สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกธนาคารกรีซ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเงินอัดฉีดฉุกเฉินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่แบงก์กรีซล้มกันระนาวเช่นนี้จะถึงขนาดส่งผลให้ยุโรปต้องหันกลับมาร่วมแรงร่วมใจกันได้หรือไม่

ภัยคุกคามจากการที่เศรษฐกิจกรีซอาจล่มจมเละเทะเช่นนี้ อาจจะโน้มน้าวให้สหภาพยุโรป (อียู) ยอมเพิ่มทุนให้แก่ระบบการธนาคารกรีซก็เป็นได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบทางการเมืองต่อสมาชิกยูโรโซนชาติอื่นๆ เช่น สเปน ที่พรรคการเมืองกระแสหลักกำลังถูกท้าทายจากพรรคที่ต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด

ปีเตอร์ คาซิมีร์ รัฐมนตรีคลังสโลวาเกีย พยายามพูดตัดไฟแต่ต้นลมในเรื่องนี้ โดยบอกว่า การปฏิเสธมาตรการปฏิรูปของชาวกรีก ไม่ควรหมายความว่าเอเธนส์จะได้เงินกู้ง่ายขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าหนี้ใหญ่สุดของกรีซคือ กองทุนฟื้นฟูของยูโรโซน (อีเอฟเอสเอฟ) ยังขู่จะเรียกหนี้ 130,900 ล้านยูโรคืนจากรัฐบาลกรีซ หลังจากเอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา

**สถานการณ์ที่สาม: ผู้นำอียูตกลงช่วยและป้องกันการล่มสลายของแบงก์กรีซ**

สถานการณ์นี้ดูไม่น่าเป็นไปได้เลย กระนั้น นายกรัฐมนตรีกรีซก็ได้จัดเตรียมกรอบโครงข้อตกลงและมาตรการปฏิรูปต่างๆ ซึ่งเขาได้ยินยอมตกลงไปก่อนการทำประชามติแล้ว สิ่งที่ซีปราสยินยอมเหล่านี้ ไม่แตกต่างมากนักจากสิ่งที่ยูโรโซนและไอเอ็มเอฟเรียกร้อง

ทว่าส่วนซึ่งแตกต่างกันและต้องถือเป็นปัญหาใหญ่มาก ก็คือ ซีปราสยังต้องการได้เงินกู้แพกเกจที่ 3 เป็นมูลค่า 29,100 ล้านยูโร ซึ่งมากกว่าเงินกู้งวดสุดท้ายจากแพ็คเกจที่สองที่ได้เจรจาต่อรองกันมาห้าเดือนแล้วถึง 4 เท่าตัว

แถมมีความเป็นไปได้ว่า ถ้าหากหวนกลับมาเจรจาต่อรองกันใหม่ ซีปราสไม่ใช่ต้องการได้เงินกู้เพิ่มเติมเพียงเท่านี้ด้วย โดยที่ตามรายงานของไอเอ็มเอฟซึ่งเผยแพร่ออกมา 3 วันก่อนทำประชามตินั้นระบุว่า กรีซจำเป็นต้องได้รับการลดหนี้จำนวนเกือบ 50,000 ล้านยูโรภายในระยะเวลา 3 ปี

สำหรับการเพิ่มทุนให้แก่แบงก์กรีซนั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อเอเธนส์ต้องสามารถเข้าถึงกองทุนช่วยเหลือถาวรของยูโรโซน นั่นคือ กลไกเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอสเอ็ม) ทว่าในขณะนี้ เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่า กรีซจะได้รับสิทธิดังกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น