ในบรรดาทุกสิ่งทุกอย่าง ที่สามารถล้มเงินดอลลาร์ลงได้ ซึ่งก็มีมากทีเดียวนั้น บอกได้เลยว่าตลาดน้ำมันที่เตหะราน ที่จะเปิดทำการซื้อ-ขายน้ำมัน และผลิตภัณฑ์จากน้ำมันอื่น ๆ ในเดือนนี้ โดยใช้เงินยูโรแทนเงินดอลลาร์สหรัฐ ไม่เกี่ยว แต่อันตรายสำหรับเงินดอลลาร์ที่ใหญ่หลวงกว่า ก็คือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด* ของสหรัฐนั่นเอง
(*บัญชีการชำระเงินระหว่างประเทศ ทั้งที่เป็นสินค้าและบริการ)
มีรายงานว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2005 สหรัฐขาดดุลบัญชีเงินสะพัด มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product -GDP) ถึง 7% รายงานชิ้นนี้ผลักให้เงินยูโร เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สูงขึ้นไปที่ 1.202 ขณะที่ผู้ค้าเริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับ ‘เงินที่รัฐบาลบังคับให้ประชาชนใช้ โดยไม่มีทุนสำรองใด ๆ’ สกุลนี้ (fiat currency)
ศาสตราจารย์คราสสิมีร์ เปตรอฟ แห่งมหาวิทยาลัยบุลการี เคยบอกว่าการเปิดตลาดกลางซื้อ-ขายน้ำมันในเตหะราน จะ “เป็นเหมือนหัวรบนิวเคลียร์ ที่จะเคลียร์ระบบการเงินที่ค้ำจุนอาณาจักรอเมริกาให้ย่อยยับลงไป” ทั้งเปตรอฟและวิลเลี่ยม คลาร์ก ที่เขียนลงในนิตยสาร Energy Bulletin ต่างเสนอว่า ที่ประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิลยู บุช ตัดสินใจบุกอิรัก เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2003 นั้น เป็นเพราะต้องการยับยั้งประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ไม่ให้ขายน้ำมันของอิรักในรูปเงินยูโร ผู้เขียนเหล่านี้ต่างเห็นพ้องกันว่า การที่อิหร่านจะทำเช่นนั้น ก็ยั่วให้เกิดอันตรายพอ ๆ กัน

แต่การพูดอย่างนั้น ดูเหมือนจะเหมามากไปหน่อย ประการแรกคือ มีคำถามว่าตลาดน้ำมันเตหะรานจะมีปริมาณน้ำมัน ออกมาขายสักกี่มากน้อย จากปากคำนักวิเคราะห์ทางพลังงานผู้หนึ่งที่ประจำอยู่ที่ฮ่องกง และทำการวิจัยให้ธนาคารเพื่อการลงทุนในสหรัฐ บอกกับเอเชียไทมส์ โดยไม่ประสงค์จะออกนามว่า ปัจจุบัน อิหร่านเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 4 ของโลก มีน้ำมันดิบอยู่ในมือราว 5% ของโลก และไม่น่าจะทำได้มากกว่านี้
เขากล่าวว่า ขณะนี้ บ่อน้ำมันในอิหร่านส่วนใหญ่ พัฒนาเต็มศักยภาพแล้ว และในศตวรรษหน้าการผลิตมีแต่จะลดลง นอกจากนี้ประเทศอื่นที่น่าจะเข้ามาขายน้ำมันในตลาดเตหะราน อาจจะมีเวเนซูเอล่าที่บริหารโดยประธานาธิบดีฮิวโก้ ชาเวซ ผู้ผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ซึ่งใคร่จะบิด ‘ฮูดัง’ สหรัฐอยู่แล้ว
แต่จะว่าไปแล้ว ตอนนี้ก็มีคนแบบนี้อยู่ไม่มากนัก อาทิเช่น ซาอุดิ อารเบีย ก็เหมือนคูเวต คือเกือบจะเป็นรัฐในอารักขาของสหรัฐอยู่แล้ว ส่วนเม็กซิโก แคนาคา และนอรเวย์ ไม่น่าจะซื้อขายในรูปเงินยูโร โดยเฉพาะในกรณีนอรเวย์และบริเตน พวกเขาไม่ใช้เงินยูโร ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เคยเกริ่นเรื่องขายน้ำมันรัสเซีย เป็นเงินยูโรเหมือนกันในปี 2003 แต่เพียงไม่กี่วัน นายก ฯ มิคาอิล กาซีอานอฟ ออกมาจัดการกับคำพูดดังกล่าว โดยแถลงว่า “ประเด็นอย่างนี้พูดกันไม่ได้ดอกครับ รัฐบาลคงไม่มีการตัดสินใจในเรื่องแบบนี้แน่ ๆ ตลาดตัดสินใจไปแล้ว .... สำหรับน้ำมันให้ซื้อ-ขายกันเป็นเงินดอลลาร์ ซึ่งก็หมายความว่ามันจะเหมาะต่อทั้งต่อผู้ซื้อ และผู้ขาย”
ส่วนนักวิเคราะห์-วิจัยอิสระอีกผู้หนึ่งในเซี่ยงไฮ้ ก็กล่าวกับเอเชียไทสม์ว่า นอกจากอิหร่านหรือเวเนซูเอล่าแล้ว ประเทศอื่นใดที่จะเข้าไปซื้อ-ขายน้ำมันในตลาดเตหะราน ด้วยเงินยูโร จะต้องตกลงใจบนพื้นฐานทางพาณิชย์ ไม่ใช่ทางการเมือง แต่ขณะนี้ การตัดสินใจในเชิงพาณิชย์น่าจะยังไม่มี ถึงแม้ว่าเวลานี้ จะมีประเทศในตะวันออกกลางจำนวนมาก ไม่พอใจการที่สหรัฐสั่งห้ามรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งของดูไบ ไม่ให้ซื้อและเข้าไปบริหารท่าเรือสหรัฐ 6 แห่ง ประเทศในตะวันออกกลางเหล่านั้นบอกแต่ว่า ขณะนี้ธนาคารกลางของตนยังพิจารณาย้ายจากเงินดอลลาร์มาเป็นยูโรอยู่
จากข่าวที่ปรากฏใน นสพ. The Independent of London วันที่ 14 มีนาคมนี้ว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรทส์ (UAE) ที่มีดูไบรวมอยู่ด้วย กล่าวว่าตนกำลังดำริที่จะเปลี่ยนเงินสำรอง ที่ตนถือเป็นดอลลาร์สหรัฐ ให้เป็นเงินยูโรราว 1 ใน 10 และผู้ว่าการธนาคารกลางซาอุ ฯ ก็ออกมาประณามว่า การที่สหรัฐสกัดกั้นดูไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าเรือของโลก ไม่ให้เข้าไปประมูลท่าเรือสหรัฐ ว่าเป็นการ “เลือกปฏิบัติ”
การตัดสินใจของ UAE ที่จะเปลี่ยนเงินสำรองไปเป็นเงินยูโร ไม่กระทบกระเทือนตลาดซื้อ-ขายเงินตราเลย ทั้ง ๆ ที่พ่อค้าในตลาดแห่งนี้ แค่ข่าวมีแมลงกินข้าวสาลีในคอเคซัส ก็เข้า-ออกตลาดไวปานฟ้าแลบอยู่แล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนจะมีข่าวธนาคารกลางในตะวันออกกลางออกมาขู่ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ $1.1945 เหรียญ เมื่อเทียบกับเงินยูโร และต่อมาก็อ่อนค่าลงเพียงเล็กน้อย

แล้วก็มาสู่คำถามที่ว่า ผู้นำเข้าประเทศไหนบ้าง ยินดีจะจ่ายเงินซื้อน้ำมันเป็นเงินยูโร แทนที่จะเป็นดอลลาร์ แม้การที่โลกถือเงินดอลลาร์ในฐานะ ‘เงินตราที่รัฐบาลบังคับให้ประชาชนใช้โดยไม่มีทุนสำรอง’ (เงินกระดาษ) จะเสื่อมลง แต่ทุกวันนี้ ราวร้อยละ 70 ของเงินสำรอง ที่ประเทศต่าง ๆ ถือเอาไว้เพื่อการค้าขายระหว่างประเทศ ก็เป็นเงินดอลลาร์ทั้งสิ้น เฉพาะญี่ปุ่นกับจีน ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และเงินดอลลาร์ในรูปอื่น ๆ ทั้งสิ้นถึง $2 ล้านล้านเหรียญ โดยเฉพาะจีนก็เคยปล่อยข่าวว่าจะเปลี่ยนเงินสำรอง ไปถือเงินสกุลอื่น ก็ถูกธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) สอยข่าวปล่อยนี้เสียร่วง แอ้งแม้ง ไม่ได้ผุดได้เกิดไปเลย
ตอนนี้ ญี่ปุ่นกับจีนอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้า คายไม่ออก พวกเขากับบรรดาเจ้าหนี้ต่าง ๆ ล้วนตกเป็นลูกหนี้ของสหรัฐเช่นกัน หากเหรียญดอลลาร์ร่วงลงกระทบพื้นแกร็กขึ้น เพราะมีข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนไปถือเงินยูโรเมื่อใด ค่าเงินดอลลาร์ที่ตนสำรองเอาไว้ ก็จะตกตามไปในทันทีนั้น
ไม่ว่าจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2005 เมื่อ People's Bank of China ประกาศเลิกตรึงค่าเงินหยวน ที่ 8.28 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ เปลี่ยนมาให้เงินหยวนลอยค่ากับตะกร้าเงินสกุลต่าง ๆ และยอมให้มีการซื้อ-ขายเงินหยวน ในช่วงที่กว้างขึ้น ราว 2% ที่ 8.11 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ เพียงไม่กี่ชั่วโมง เงินหยวนก็แข็งค่าขึ้นอย่างมาก ตอนนั้น จีนถือเงินสำรองเป็นดอลลาร์ ราว $600 พันล้านเหรียญ ทำให้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เงินสำรองของจีนหายไป 2% หรือเท่ากับ $30 พันล้านเหรียญ
ยิ่งตอนนี้ จีนกับญี่ปุ่น เป็น 2 ประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบมากที่สุดในโลก แม้ว่าทั้งสองจะถูกสหรัฐทำให้แกร็นไปเลย จากหนังสือสถิติ the CIA World Factbook สหรัฐผลิตน้ำมันดิบได้วันละ 7.61 ล้านบาเรล/วัน ใช้มากว่า 20 ล้านบาเรล/วัน
ต่อมาก็มีคำถามว่า แล้วคนที่ถือเงินยูโร จะเอาเงินไปทำอะไร เมื่อบริเตนกับนอรเวย์ (2 ผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่) ถูกกันอยู่นอกเงินสกุลยูโร ตลาดพันธบัตรยูโรเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรสหรัฐก็แคระไปเลย แคระชนิดที่ว่าไม่มีที่ไหนเลย ที่จะเอาเงินปิโตร-ยูโรปไปลงได้
กล่าวโดยรวมก็คือ ทันทีที่ซื้อขายน้ำมันเป็นเงินยูโร ก็จะต้องเอาเงินยูโรไปแลกเป็นดอลลาร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2000 ตอนที่ซัดดัมประกาศว่าเขาจะเปลี่ยนการค้าระหว่างประเทศของอิรัก ไปใช้เงินยูโร สหประชาชาติศึกษาและประเมินว่า อิรักจะต้องใช้เงินทุนขั้นต้น ถึง $270 ล้านเหรียญ เพื่อการนั้น
ผู้ที่ถือพันธบัตรสหรัฐก็กลืนไม่เข้า คายไม่ออกเช่นกัน ไม่พึงสงสัยเลยก็ได้ว่า พวกเขายิ่งกว่ายินดี ที่จะกระจายเงินสำรองออกจากเงินดอลลาร์สหรัฐเสียบ้าง ไม่ใช่แค่เผื่อในกรณีที่เงินดอลลาร์จะมีโอกาสล้มในอนาคต แต่เพราะการล้มมองได้เห็น ๆ จากการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ ที่มหาศาลขึ้นทุกวัน ๆ และการขาดดุลงบประมาณที่มหึมาอย่างไร้เหตุผลของรัฐบาลบุชทุกทีนั่นเอง
(*บัญชีการชำระเงินระหว่างประเทศ ทั้งที่เป็นสินค้าและบริการ)
มีรายงานว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2005 สหรัฐขาดดุลบัญชีเงินสะพัด มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product -GDP) ถึง 7% รายงานชิ้นนี้ผลักให้เงินยูโร เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สูงขึ้นไปที่ 1.202 ขณะที่ผู้ค้าเริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับ ‘เงินที่รัฐบาลบังคับให้ประชาชนใช้ โดยไม่มีทุนสำรองใด ๆ’ สกุลนี้ (fiat currency)
ศาสตราจารย์คราสสิมีร์ เปตรอฟ แห่งมหาวิทยาลัยบุลการี เคยบอกว่าการเปิดตลาดกลางซื้อ-ขายน้ำมันในเตหะราน จะ “เป็นเหมือนหัวรบนิวเคลียร์ ที่จะเคลียร์ระบบการเงินที่ค้ำจุนอาณาจักรอเมริกาให้ย่อยยับลงไป” ทั้งเปตรอฟและวิลเลี่ยม คลาร์ก ที่เขียนลงในนิตยสาร Energy Bulletin ต่างเสนอว่า ที่ประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิลยู บุช ตัดสินใจบุกอิรัก เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2003 นั้น เป็นเพราะต้องการยับยั้งประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ไม่ให้ขายน้ำมันของอิรักในรูปเงินยูโร ผู้เขียนเหล่านี้ต่างเห็นพ้องกันว่า การที่อิหร่านจะทำเช่นนั้น ก็ยั่วให้เกิดอันตรายพอ ๆ กัน
แต่การพูดอย่างนั้น ดูเหมือนจะเหมามากไปหน่อย ประการแรกคือ มีคำถามว่าตลาดน้ำมันเตหะรานจะมีปริมาณน้ำมัน ออกมาขายสักกี่มากน้อย จากปากคำนักวิเคราะห์ทางพลังงานผู้หนึ่งที่ประจำอยู่ที่ฮ่องกง และทำการวิจัยให้ธนาคารเพื่อการลงทุนในสหรัฐ บอกกับเอเชียไทมส์ โดยไม่ประสงค์จะออกนามว่า ปัจจุบัน อิหร่านเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 4 ของโลก มีน้ำมันดิบอยู่ในมือราว 5% ของโลก และไม่น่าจะทำได้มากกว่านี้
เขากล่าวว่า ขณะนี้ บ่อน้ำมันในอิหร่านส่วนใหญ่ พัฒนาเต็มศักยภาพแล้ว และในศตวรรษหน้าการผลิตมีแต่จะลดลง นอกจากนี้ประเทศอื่นที่น่าจะเข้ามาขายน้ำมันในตลาดเตหะราน อาจจะมีเวเนซูเอล่าที่บริหารโดยประธานาธิบดีฮิวโก้ ชาเวซ ผู้ผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ซึ่งใคร่จะบิด ‘ฮูดัง’ สหรัฐอยู่แล้ว
แต่จะว่าไปแล้ว ตอนนี้ก็มีคนแบบนี้อยู่ไม่มากนัก อาทิเช่น ซาอุดิ อารเบีย ก็เหมือนคูเวต คือเกือบจะเป็นรัฐในอารักขาของสหรัฐอยู่แล้ว ส่วนเม็กซิโก แคนาคา และนอรเวย์ ไม่น่าจะซื้อขายในรูปเงินยูโร โดยเฉพาะในกรณีนอรเวย์และบริเตน พวกเขาไม่ใช้เงินยูโร ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เคยเกริ่นเรื่องขายน้ำมันรัสเซีย เป็นเงินยูโรเหมือนกันในปี 2003 แต่เพียงไม่กี่วัน นายก ฯ มิคาอิล กาซีอานอฟ ออกมาจัดการกับคำพูดดังกล่าว โดยแถลงว่า “ประเด็นอย่างนี้พูดกันไม่ได้ดอกครับ รัฐบาลคงไม่มีการตัดสินใจในเรื่องแบบนี้แน่ ๆ ตลาดตัดสินใจไปแล้ว .... สำหรับน้ำมันให้ซื้อ-ขายกันเป็นเงินดอลลาร์ ซึ่งก็หมายความว่ามันจะเหมาะต่อทั้งต่อผู้ซื้อ และผู้ขาย”
ส่วนนักวิเคราะห์-วิจัยอิสระอีกผู้หนึ่งในเซี่ยงไฮ้ ก็กล่าวกับเอเชียไทสม์ว่า นอกจากอิหร่านหรือเวเนซูเอล่าแล้ว ประเทศอื่นใดที่จะเข้าไปซื้อ-ขายน้ำมันในตลาดเตหะราน ด้วยเงินยูโร จะต้องตกลงใจบนพื้นฐานทางพาณิชย์ ไม่ใช่ทางการเมือง แต่ขณะนี้ การตัดสินใจในเชิงพาณิชย์น่าจะยังไม่มี ถึงแม้ว่าเวลานี้ จะมีประเทศในตะวันออกกลางจำนวนมาก ไม่พอใจการที่สหรัฐสั่งห้ามรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งของดูไบ ไม่ให้ซื้อและเข้าไปบริหารท่าเรือสหรัฐ 6 แห่ง ประเทศในตะวันออกกลางเหล่านั้นบอกแต่ว่า ขณะนี้ธนาคารกลางของตนยังพิจารณาย้ายจากเงินดอลลาร์มาเป็นยูโรอยู่
จากข่าวที่ปรากฏใน นสพ. The Independent of London วันที่ 14 มีนาคมนี้ว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรทส์ (UAE) ที่มีดูไบรวมอยู่ด้วย กล่าวว่าตนกำลังดำริที่จะเปลี่ยนเงินสำรอง ที่ตนถือเป็นดอลลาร์สหรัฐ ให้เป็นเงินยูโรราว 1 ใน 10 และผู้ว่าการธนาคารกลางซาอุ ฯ ก็ออกมาประณามว่า การที่สหรัฐสกัดกั้นดูไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าเรือของโลก ไม่ให้เข้าไปประมูลท่าเรือสหรัฐ ว่าเป็นการ “เลือกปฏิบัติ”
การตัดสินใจของ UAE ที่จะเปลี่ยนเงินสำรองไปเป็นเงินยูโร ไม่กระทบกระเทือนตลาดซื้อ-ขายเงินตราเลย ทั้ง ๆ ที่พ่อค้าในตลาดแห่งนี้ แค่ข่าวมีแมลงกินข้าวสาลีในคอเคซัส ก็เข้า-ออกตลาดไวปานฟ้าแลบอยู่แล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนจะมีข่าวธนาคารกลางในตะวันออกกลางออกมาขู่ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ $1.1945 เหรียญ เมื่อเทียบกับเงินยูโร และต่อมาก็อ่อนค่าลงเพียงเล็กน้อย
แล้วก็มาสู่คำถามที่ว่า ผู้นำเข้าประเทศไหนบ้าง ยินดีจะจ่ายเงินซื้อน้ำมันเป็นเงินยูโร แทนที่จะเป็นดอลลาร์ แม้การที่โลกถือเงินดอลลาร์ในฐานะ ‘เงินตราที่รัฐบาลบังคับให้ประชาชนใช้โดยไม่มีทุนสำรอง’ (เงินกระดาษ) จะเสื่อมลง แต่ทุกวันนี้ ราวร้อยละ 70 ของเงินสำรอง ที่ประเทศต่าง ๆ ถือเอาไว้เพื่อการค้าขายระหว่างประเทศ ก็เป็นเงินดอลลาร์ทั้งสิ้น เฉพาะญี่ปุ่นกับจีน ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และเงินดอลลาร์ในรูปอื่น ๆ ทั้งสิ้นถึง $2 ล้านล้านเหรียญ โดยเฉพาะจีนก็เคยปล่อยข่าวว่าจะเปลี่ยนเงินสำรอง ไปถือเงินสกุลอื่น ก็ถูกธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) สอยข่าวปล่อยนี้เสียร่วง แอ้งแม้ง ไม่ได้ผุดได้เกิดไปเลย
ตอนนี้ ญี่ปุ่นกับจีนอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้า คายไม่ออก พวกเขากับบรรดาเจ้าหนี้ต่าง ๆ ล้วนตกเป็นลูกหนี้ของสหรัฐเช่นกัน หากเหรียญดอลลาร์ร่วงลงกระทบพื้นแกร็กขึ้น เพราะมีข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนไปถือเงินยูโรเมื่อใด ค่าเงินดอลลาร์ที่ตนสำรองเอาไว้ ก็จะตกตามไปในทันทีนั้น
ไม่ว่าจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2005 เมื่อ People's Bank of China ประกาศเลิกตรึงค่าเงินหยวน ที่ 8.28 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ เปลี่ยนมาให้เงินหยวนลอยค่ากับตะกร้าเงินสกุลต่าง ๆ และยอมให้มีการซื้อ-ขายเงินหยวน ในช่วงที่กว้างขึ้น ราว 2% ที่ 8.11 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ เพียงไม่กี่ชั่วโมง เงินหยวนก็แข็งค่าขึ้นอย่างมาก ตอนนั้น จีนถือเงินสำรองเป็นดอลลาร์ ราว $600 พันล้านเหรียญ ทำให้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เงินสำรองของจีนหายไป 2% หรือเท่ากับ $30 พันล้านเหรียญ
ยิ่งตอนนี้ จีนกับญี่ปุ่น เป็น 2 ประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบมากที่สุดในโลก แม้ว่าทั้งสองจะถูกสหรัฐทำให้แกร็นไปเลย จากหนังสือสถิติ the CIA World Factbook สหรัฐผลิตน้ำมันดิบได้วันละ 7.61 ล้านบาเรล/วัน ใช้มากว่า 20 ล้านบาเรล/วัน
ต่อมาก็มีคำถามว่า แล้วคนที่ถือเงินยูโร จะเอาเงินไปทำอะไร เมื่อบริเตนกับนอรเวย์ (2 ผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่) ถูกกันอยู่นอกเงินสกุลยูโร ตลาดพันธบัตรยูโรเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรสหรัฐก็แคระไปเลย แคระชนิดที่ว่าไม่มีที่ไหนเลย ที่จะเอาเงินปิโตร-ยูโรปไปลงได้
กล่าวโดยรวมก็คือ ทันทีที่ซื้อขายน้ำมันเป็นเงินยูโร ก็จะต้องเอาเงินยูโรไปแลกเป็นดอลลาร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2000 ตอนที่ซัดดัมประกาศว่าเขาจะเปลี่ยนการค้าระหว่างประเทศของอิรัก ไปใช้เงินยูโร สหประชาชาติศึกษาและประเมินว่า อิรักจะต้องใช้เงินทุนขั้นต้น ถึง $270 ล้านเหรียญ เพื่อการนั้น
ผู้ที่ถือพันธบัตรสหรัฐก็กลืนไม่เข้า คายไม่ออกเช่นกัน ไม่พึงสงสัยเลยก็ได้ว่า พวกเขายิ่งกว่ายินดี ที่จะกระจายเงินสำรองออกจากเงินดอลลาร์สหรัฐเสียบ้าง ไม่ใช่แค่เผื่อในกรณีที่เงินดอลลาร์จะมีโอกาสล้มในอนาคต แต่เพราะการล้มมองได้เห็น ๆ จากการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ ที่มหาศาลขึ้นทุกวัน ๆ และการขาดดุลงบประมาณที่มหึมาอย่างไร้เหตุผลของรัฐบาลบุชทุกทีนั่นเอง