อินเดีย-ปากีสถานร่วมมือด้านต่างประเทศเร็วมาก มีการพบกันอย่างลับ ๆ ระหว่างที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของสองฝ่าย รัฐมนตรีต่างประเทศฝ่ายอินเดียออกมายอมรับว่า อาจจะมีการเปลี่ยนเขตแดนและหลักนิยมทางนิวเคลียร์กันใหม่เพื่อสันติภาพ ในเรื่องเขตแดนนั้น แคว้นแคชเมียร์ ซึ่งตั้งคร่อมเส้นควบคุม (แอลโอซี) ที่แบ่งแคชเมียร์ออกเป็นสองส่วนกำลังตกเป็นเป้า ชะตากรรมของแคว้นนี้พร้อมที่จะแปรเปลี่ยนได้เสมอ
ชาวแคชเมียร์ระดับสูง ทั้งในอินเดียและปากีสถานต่างบ่นกับเอเชียไทมส์ ว่าพวกเขาถูกเพิกเฉยไม่ให้ออกความเห็นใด ๆ ในเรื่องนี้ พวกเขากล่าวว่าพวกเขาล้วนสนับสนุนสันติภาพ และเชื่อว่าแคชเมียร์จะก้าวหน้าไปได้ ก็ต้องอาศัยว่ามีสันติภาพในอนุทวีป แต่ก็ต้องการแสดงความคิดเห็นด้วย
คนเหล่านี้กล่าวเป็นเสียงเดียวว่า พวกเขาอยากมีเสรีภาพในการพูด ขั้นแรก ในหมู่กันเองก่อนแล้วกับรัฐบาลท้องถิ่นของพวกเขา และในที่สุด ระหว่างสามฝ่าย คือพวกเขากับอีกสองประเทศ
ซาร์ดาร์ อัตติก อาหมัด ข่าน หัวหน้าสภามุสลิมที่ปกครองแคว้นแคชเมียร์ “เสรี” อันเป็นเขตที่ปากีสถานยึดครองได้โทรศัพท์จากเมืองน๊อตติ้งแฮมอังกฤษ มาที่สำนักงานเอเชียไทมส์ในนิวเดลีเรียกร้องให้มีนักการเมืองและนักวิชาการแคชเมียร์ทั้งสองฟาก ได้มีสิทธิหารือในหมู่กันเอง เพื่อที่จะวางแผนรับมือเหตุการณ์ในอนาคต
อัตติกกล่าวทางโทรศัพท์นานนับชั่วโมง เมื่อวันพุธที่ผ่านมานี้เสนอตัวเป็นผู้จัดประชุมครั้งนี้ อาจะเริ่มที่เดลีก่อน แล้วย้ายไปต่อที่อิสลามบัด แล้วมาจบลงที่ศรีนคร และมูซซาฟาราบัด (เมืองเอกของแคชเมียร์ในแต่ละฟากของเส้นแอลโอซี) เพื่อให้ชาวแคชเมียร์จากทั้งสองฟาก ได้มีโอกาสหารือกันเองได้อย่างเสรี
“ในการเจรจาอินเดีย-ปากีสถาน จำเป็นต้องมีแคชเมียร์เข้าไปนั่งร่วมด้วย“ อัตติกบอกเอเชียไทมส์ เขาเป็นประธานสภามุมลิม ที่บริหารรัฐบาลอาซาด แคชเมียร์ (เสรี) ด้วยที่นั่งในสภา 2 ใน 3 เขาเป็นบุตรของซาร์ดาร์ อับดุล ไควยูม ข่าน ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดีอาซาด แคชเมียร์มาหลายสมัย
ประธานาธิบดีเปอร์เวช มูชาร์ราฟ แห่งปากีสถาน เป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการแคชเมียร์ ที่ซาร์ดาร์ ไควยูมเป็นประธาน ในปี 2000 คณะกรรมการ ฯ มีหน้าที่ให้คำปรึกษา กับรัฐบาลปากีสถาน ในส่วนที่เกี่ยวกับแคชเมียร์ แต่หลังจากตั้งรัฐบาลใหม่ในปากีสถาน ที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปปี 2002 นำโดยนายก ฯ มีร์ ซาฟารูลลาห์ ข่าน จามาลี ก็ไม่มีการรื้อฟื้นคณะกรรมการ ฯ ชุดนี้ขึ้นมาอีก
อัตติกกล่าวว่าสถานการณ์ในอนุทวีป ต้องการให้มีการเจรจากันในหมู่ชาวแคชเมียร์ แม้เขาจะรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า การประชุมภายในครั้งแรกของชาวเคชเมียร์ในกรุงลอนดอน เมื่อต้นเดือนนี้ มีความสมานฉันท์ในหมู่ชาวแคชเมียร์จากสองฝั่งอย่างเต็มที่ ซาร์ดาร์ อัตติก ยินดีต้อนรับการแผนสันติภาพที่อินเดียยื่นให้ปากีสถาน และเสริมว่าข้อเสนอดังกล่าว ต้องนำไปสู่การที่กองทัพอินเดียในแคชเมียร์ เลิกกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ด้วย
“อันที่จริง กองทหารของทั้งสองฝ่ายของเส้นแอลโอซี ไม่ต้องการให้เกิดสันติภาพขึ้นจริง ๆ” อัตติกกล่าว โดยไม่ยอมพูดต่อ ครั้งหนึ่งอัตติกเป็นผู้สนับนุนบทบาทไกล่เกลี่ยของสหรัฐ ตอนนี้เขากล่าวว่า “ตอนนี้ ไม่จำเป็นต้องอาศัยฝ่ายที่สามมาไกล่เกลี่ย หากนิวเดลีกับอิสลามบัด นั่งลงหารือกันด้วยจิตใจเปิดกว้าง”
เมื่อถูกถามความเป็นไปได้ของทางออกในปัญหาแคชเมียร์ เขามั่นใจว่า หากชาวแคชเมียร์สองฝั่งได้นั่งลงร่วมกัน พวกเขาก็จะสามารถหาทางออก ที่ไม่ทำให้ทั้งอินเดียและปากีสถาน ต้องกระอักกระอ่วนใจ และต่อข้อถามที่ว่า ทั้ง ๆ ที่สองประเทศพยายามสร้างบรรยากาศสันติภาพ แต่ความรุนแรงในแคชเมียร์ก็ยังไม่บรรเทาเบาบางลง เขากล่าวว่า ”ถ้ากองทหารอินเดียถอนตัวออกไปจากชุมชนชาวแคชเมียร์ และยุติการปราบปรามประชาชน พวกผมก็จะร่วมกันขอร้องให้พวกอาสาสมัครยุติการสู้รบ และหันมาร่วมมือในกระบวนการสันติภาพแทน”
อัตตาแสดงทัศนะต่อการเมืองในปากีสถานที่ต่างออกไปจากเดิม เขากล่าวว่ามูชาร์ราฟไม่จำเป็นต้องลาออกจากกองทัพปากีสถาน เพราะเขาประกาศว่าจะลาออกในเดือนธันวาคมที่จะถึงอยู่นี้ เขากล่าวว่าความมีเสถียรภาพทางการเมืองในปากีสถาน เป็นสิ่งจำเป็นต่อสันติภาพ และการแก้ไขปัญหาแคชเมียร์เป็นอย่างยิ่ง
เมื่อมองดูความปั่นป่วนวุ่นวายในย่านนี้ และในโลก รวมทั้งการก่อการร้ายตามเมืองต่าง ๆ ในปากีสถาน สถานการณ์ในการาจีเลวลง และความพยายามลอบสังหารมูชาร์ราฟหลายครั้ง เขากล่าวว่า “มันไม่สำคัญว่าเขาจะถอดเครื่องแบบหรือไม่ เนื่องจากว่าเขาปวารณาตัวว่าจะลาออกมาหลายเดือนแล้ว”
“ผมไม่ได้พูดว่ามูชาร์ราฟควรอยู่ในเครื่องแบบ แต่ถ้าทำอย่างที่พูดไว้ มันก็เป็นการดี แต่ความมั่นคงในปากีสถานต้องมาก่อนอื่น สิ่งหนึ่งที่พรรคการเมืองจะช่วยทำให้เกิดความมั่นคง คือต้องให้ความความศักดิสิทธิแก่ตำแหน่งประธานาธิบดี เพื่อว่า แม้จะถอดเครื่องแบบออกไปแล้ว ยังมีอำนาจอยู่เหมือนเดิม เปอร์เวช มูชาร์ราฟควรได้รับสิทธิให้สานแผนสันติภาพของเขาไปให้จบ”
เกี่ยวกับการเจรจาในหมู่ชาวแคชเมียร์ เขากล่าวว่า “เรายื่นข้อเสนอไปยังรัฐบาลปากีสถานไปแล้ว ตอนนี้เราก็กล่าวเรื่องนี้ผ่านทางเอเชียไทมส์ อยากให้ไปถึงรัฐบาลและประชาชนอินเดีย เพื่อให้เราสามารถข้ามเส้นแอลโอซี โดยออกวีซ่าเดินทางให้พวกเราได้พบปะ และวางยุทธศาสตร์ร่วม เราเพียงแต่ต้องการช่วย และมีส่วนร่วมในความพยายามครั้งนี้ เราไม่มีความปรารถนาใด ๆ ที่จะทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียหน้า หรือรู้สึกว่าตัวเป็นฝ่ายแพ้ เพราะในท้ายที่สุด ชะตากรรมทั้งหมดจะตกอยู่ที่พวกเราเอง ที่สู้กันมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อสิ่งนี้แหละ”
อับดุล ราชิด ชาร์ฮีน จากสภาแห่งชาติ ผู้นำแคชเมียร์ในเขตอินเดีย ที่เพิ่งได้รับเลือกจากเขตบารามูลลา ที่เต็มไปด้วยฝ่ายขบถจัมมู&แคชเมียร์ ให้กลับเข้าไปนั่งในรัฐสภาอีกครั้ง กล่าวแสดความเห็นด้วย และกล่าวว่า “ชาวแคชเมียร์สู้รบกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิกำหนดชะตากรรมของตนเอง นับตั้งแต่ได้เอกราชจากอังกฤษในปี 1947”
ชาห์ฮีนเป็นรัฐมนตรีหนุ่มที่สุดในรัฐบาลของชี๊ค โมฮัมหมัด อับดุลลาห์ นักรบเพื่อเสรีภาพแคชเมียร์ ในช่วงทศวรรษที่ 1970s อับดุลลาห์เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งแค้วจัมมู&แคชเมียร์ หลังจากรวมเป็นภาคีกับอินเดียในปี 1947 และต่อมายอมรับตำแหน่งมุขมนตรีของแคว้นนี้ หลังจากบรรลุข้อตกลงกับอินเดีย ในสมัยนายก ฯ อินทิรา คานธี ที่ยืดเยื้อมาจนกลางทศวรรษที่ 1970s
เขายังไปร่วมประชุมที่ลอนดอนเมื่อเดือนที่แล้ว เขาชี้ว่าในชั่วโมงนี้ ต้องมีการเจรจาภายในของชาวแคชเมียร์ เขากล่าวว่าในปี 2002 จี เอ็ม ชาห์ ผู้นำคนหนึ่งของสภาแห่งชาติ เป็นผู้ริเริ่มโครงการแบบนี้ขึ้นในอินเดีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีปัญหาเรื่องวีซ่า
“ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ทั้งในอินเดียและปากีสถาน กลัวผู้นำแคชเมียร์จะพบกัน” อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า เขายินดีกับทุกอย่างที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อเสนของอัตติก
ชาห์ฮีนเพิ่งกลับจากการประชุมที่ลอนดอน พร้อมกับฟารูก อับดุลลาห์ หัวหน้าพรรคของเขาและอดีตมุขมนตรี เขาเห็นด้วยกับอดีตประธานาธิบดีเบนาซีร์ บุตโต ที่สนับสนุนแนวคิดที่จะแปรเอเชียใต้ ให้เป็นเขตค้าเสรี และให้ผลักดันให้เกิดสันติภาพในแคชเมียร์ แต่ก็ย้ำกับชาวแคชเมียร์ว่า พรรคประชาชนปากีสถานของนางเป็นสถาปนิกที่แท้จริงของนโยบาย ที่จะผ่อนปรนเส้นแอลโอซี ให้มีการเดินทางไปมาหาสู่กันได้ นางกล่าวว่าหากแคชเมียร์มีความรุนแรงน้อยลง ก็จะทำให้ทหารอินเดียในแคชเมียร์ลดจำนวนลง ทำให้เส้นแอลโอซีตึงเคียดน้อยลง
ชาห์ฮีนชี้ให้เห็นว่า ชาวอินเดียหลายคนเห็นด้วยกับการเจรจาภายในกลุ่มชาวแคชเมียร์ ทางฝั่งอินเดีย คณะกรรมการแคชเมียร์ (เคซี) ที่นำโดยราม เจธมาลานี อดีตรัฐมนตรีกฎหมายแรงงาน ก็ได้ริเริ่ม และส่งเสริมแนวคิดดังกล่าว ในระหว่างพบปะกับซับบีร์ ชาห์ หัวหน้าพรรคสภาฮูร์รียัตรวมพรรคและเสรีประชาธิปไตยนั้น คณะกรรมการเคซีตกลงที่จะสร้างเงื่อนไข อันจะนำไปสู่การเจรจาดังกล่าว โมฮัมหมัด ยาซิน มาลิก ผู้นำอาวุโสของฮูร์ริยัต และประธานแนวร่วมปลดปล่อยจัมมู&แคชเมียร์ (เจเคแอลเอฟ) ก็สนับสนุนแนวคิดนี้ การประชุมที่ลอนดอน ต้นเดือนนี้ ดำเนินการโดยดร ชาบีร์ โชดรี้ ประธานคณะกรรมการฝ่ายการทูต ของแนวร่วมเจเคแอลเอฟ
คณะกรรมการเคซีกำลังคิดจะเชิญคณะกรรมการฝ่ายปากีสถาน ที่นำโดยนายก ฯ ซาร์ดาร์ อับดุล ไควยูม ข่าน แห่งแคชเมียร์เสรี และขอร้องให้รัฐบาลอินเดียออกวีซ่าให้คนเหล่านี้ เจธมาลานีเห็นว่า การหารือครั้งนี้ “ควรมาจากผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน และผู้ที่ไม่ใช่ด้วย” ด้วยจุดยืน “ของความเป็นมิตร ปรารถนาจะเห็นการแก้ปัญหา และพร้อมที่จะโน้มน้าวพวกที่เห็นต่างออกไป”
เจธมาลานีและพรรคพวกของเขา ได้เข้าพบผู้อาวุโสฮูร์ริยัตหลายคน อาทิเช่น มีร์ไวซ์ อูมาร์ ฟารูก, อับดุล กานี ภัท, มูลวี อับบัส อันซานี, พีร์ ฮาฟีซูลลาห์ มักห์ดูมี, คาลิล โมฮัมหมัก คาลิล และอาลี โมฮัมหมัด ชี๊คห์ ส่วนคณะกรรมการแคชเมียร์ ฝ่ายอินเดียมีนักหนังสือพิมพ์มือเก่า และนักวิชาการ อย่างเช่น ดีลีป ปัดกาออนเกอร์, เอ็ม เจ อักบาร์, อโศก ภาน และชันติ ภูชาน เป็นต้น
การประชุมชาวแคชเมียร์ที่ลอนดอน สามารถดึงคนดัง ๆ มาร่วมประชุมจากทั้งฝั่งอินเดีย และปากีสถาน ก่อให้เกิดบรรยากาศสันติภาพ การประชุมที่ลอนดอนยังมีนางเบนาซีร์ บุตโต, ฟารูก อับดุลลาห์, และฮาซิล ไบเซนโจ หัวหน้าเขตจังหวัดชายแดนเหนือใต้ของปากีสถานไปร่วมด้วย
“เป็นครั้งแรก ที่คนอินเดีย ปากีสถาน และแคชเมียร์ ได้มานั่งปรึกษาหารือกันและเห็นตามหลักสัจธรรมว่า ความขัดแย้งในแคชเมียร์ไม่อาจแก้ได้ด้วยกำลังทหาร” ชับบีร์ โชดรี้ ผู้จัดการประชุมครั้งนี้กล่าว
ชาวแคชเมียร์ระดับสูง ทั้งในอินเดียและปากีสถานต่างบ่นกับเอเชียไทมส์ ว่าพวกเขาถูกเพิกเฉยไม่ให้ออกความเห็นใด ๆ ในเรื่องนี้ พวกเขากล่าวว่าพวกเขาล้วนสนับสนุนสันติภาพ และเชื่อว่าแคชเมียร์จะก้าวหน้าไปได้ ก็ต้องอาศัยว่ามีสันติภาพในอนุทวีป แต่ก็ต้องการแสดงความคิดเห็นด้วย
คนเหล่านี้กล่าวเป็นเสียงเดียวว่า พวกเขาอยากมีเสรีภาพในการพูด ขั้นแรก ในหมู่กันเองก่อนแล้วกับรัฐบาลท้องถิ่นของพวกเขา และในที่สุด ระหว่างสามฝ่าย คือพวกเขากับอีกสองประเทศ
ซาร์ดาร์ อัตติก อาหมัด ข่าน หัวหน้าสภามุสลิมที่ปกครองแคว้นแคชเมียร์ “เสรี” อันเป็นเขตที่ปากีสถานยึดครองได้โทรศัพท์จากเมืองน๊อตติ้งแฮมอังกฤษ มาที่สำนักงานเอเชียไทมส์ในนิวเดลีเรียกร้องให้มีนักการเมืองและนักวิชาการแคชเมียร์ทั้งสองฟาก ได้มีสิทธิหารือในหมู่กันเอง เพื่อที่จะวางแผนรับมือเหตุการณ์ในอนาคต
อัตติกกล่าวทางโทรศัพท์นานนับชั่วโมง เมื่อวันพุธที่ผ่านมานี้เสนอตัวเป็นผู้จัดประชุมครั้งนี้ อาจะเริ่มที่เดลีก่อน แล้วย้ายไปต่อที่อิสลามบัด แล้วมาจบลงที่ศรีนคร และมูซซาฟาราบัด (เมืองเอกของแคชเมียร์ในแต่ละฟากของเส้นแอลโอซี) เพื่อให้ชาวแคชเมียร์จากทั้งสองฟาก ได้มีโอกาสหารือกันเองได้อย่างเสรี
“ในการเจรจาอินเดีย-ปากีสถาน จำเป็นต้องมีแคชเมียร์เข้าไปนั่งร่วมด้วย“ อัตติกบอกเอเชียไทมส์ เขาเป็นประธานสภามุมลิม ที่บริหารรัฐบาลอาซาด แคชเมียร์ (เสรี) ด้วยที่นั่งในสภา 2 ใน 3 เขาเป็นบุตรของซาร์ดาร์ อับดุล ไควยูม ข่าน ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดีอาซาด แคชเมียร์มาหลายสมัย
ประธานาธิบดีเปอร์เวช มูชาร์ราฟ แห่งปากีสถาน เป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการแคชเมียร์ ที่ซาร์ดาร์ ไควยูมเป็นประธาน ในปี 2000 คณะกรรมการ ฯ มีหน้าที่ให้คำปรึกษา กับรัฐบาลปากีสถาน ในส่วนที่เกี่ยวกับแคชเมียร์ แต่หลังจากตั้งรัฐบาลใหม่ในปากีสถาน ที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปปี 2002 นำโดยนายก ฯ มีร์ ซาฟารูลลาห์ ข่าน จามาลี ก็ไม่มีการรื้อฟื้นคณะกรรมการ ฯ ชุดนี้ขึ้นมาอีก
อัตติกกล่าวว่าสถานการณ์ในอนุทวีป ต้องการให้มีการเจรจากันในหมู่ชาวแคชเมียร์ แม้เขาจะรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า การประชุมภายในครั้งแรกของชาวเคชเมียร์ในกรุงลอนดอน เมื่อต้นเดือนนี้ มีความสมานฉันท์ในหมู่ชาวแคชเมียร์จากสองฝั่งอย่างเต็มที่ ซาร์ดาร์ อัตติก ยินดีต้อนรับการแผนสันติภาพที่อินเดียยื่นให้ปากีสถาน และเสริมว่าข้อเสนอดังกล่าว ต้องนำไปสู่การที่กองทัพอินเดียในแคชเมียร์ เลิกกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ด้วย
“อันที่จริง กองทหารของทั้งสองฝ่ายของเส้นแอลโอซี ไม่ต้องการให้เกิดสันติภาพขึ้นจริง ๆ” อัตติกกล่าว โดยไม่ยอมพูดต่อ ครั้งหนึ่งอัตติกเป็นผู้สนับนุนบทบาทไกล่เกลี่ยของสหรัฐ ตอนนี้เขากล่าวว่า “ตอนนี้ ไม่จำเป็นต้องอาศัยฝ่ายที่สามมาไกล่เกลี่ย หากนิวเดลีกับอิสลามบัด นั่งลงหารือกันด้วยจิตใจเปิดกว้าง”
เมื่อถูกถามความเป็นไปได้ของทางออกในปัญหาแคชเมียร์ เขามั่นใจว่า หากชาวแคชเมียร์สองฝั่งได้นั่งลงร่วมกัน พวกเขาก็จะสามารถหาทางออก ที่ไม่ทำให้ทั้งอินเดียและปากีสถาน ต้องกระอักกระอ่วนใจ และต่อข้อถามที่ว่า ทั้ง ๆ ที่สองประเทศพยายามสร้างบรรยากาศสันติภาพ แต่ความรุนแรงในแคชเมียร์ก็ยังไม่บรรเทาเบาบางลง เขากล่าวว่า ”ถ้ากองทหารอินเดียถอนตัวออกไปจากชุมชนชาวแคชเมียร์ และยุติการปราบปรามประชาชน พวกผมก็จะร่วมกันขอร้องให้พวกอาสาสมัครยุติการสู้รบ และหันมาร่วมมือในกระบวนการสันติภาพแทน”
อัตตาแสดงทัศนะต่อการเมืองในปากีสถานที่ต่างออกไปจากเดิม เขากล่าวว่ามูชาร์ราฟไม่จำเป็นต้องลาออกจากกองทัพปากีสถาน เพราะเขาประกาศว่าจะลาออกในเดือนธันวาคมที่จะถึงอยู่นี้ เขากล่าวว่าความมีเสถียรภาพทางการเมืองในปากีสถาน เป็นสิ่งจำเป็นต่อสันติภาพ และการแก้ไขปัญหาแคชเมียร์เป็นอย่างยิ่ง
เมื่อมองดูความปั่นป่วนวุ่นวายในย่านนี้ และในโลก รวมทั้งการก่อการร้ายตามเมืองต่าง ๆ ในปากีสถาน สถานการณ์ในการาจีเลวลง และความพยายามลอบสังหารมูชาร์ราฟหลายครั้ง เขากล่าวว่า “มันไม่สำคัญว่าเขาจะถอดเครื่องแบบหรือไม่ เนื่องจากว่าเขาปวารณาตัวว่าจะลาออกมาหลายเดือนแล้ว”
“ผมไม่ได้พูดว่ามูชาร์ราฟควรอยู่ในเครื่องแบบ แต่ถ้าทำอย่างที่พูดไว้ มันก็เป็นการดี แต่ความมั่นคงในปากีสถานต้องมาก่อนอื่น สิ่งหนึ่งที่พรรคการเมืองจะช่วยทำให้เกิดความมั่นคง คือต้องให้ความความศักดิสิทธิแก่ตำแหน่งประธานาธิบดี เพื่อว่า แม้จะถอดเครื่องแบบออกไปแล้ว ยังมีอำนาจอยู่เหมือนเดิม เปอร์เวช มูชาร์ราฟควรได้รับสิทธิให้สานแผนสันติภาพของเขาไปให้จบ”
เกี่ยวกับการเจรจาในหมู่ชาวแคชเมียร์ เขากล่าวว่า “เรายื่นข้อเสนอไปยังรัฐบาลปากีสถานไปแล้ว ตอนนี้เราก็กล่าวเรื่องนี้ผ่านทางเอเชียไทมส์ อยากให้ไปถึงรัฐบาลและประชาชนอินเดีย เพื่อให้เราสามารถข้ามเส้นแอลโอซี โดยออกวีซ่าเดินทางให้พวกเราได้พบปะ และวางยุทธศาสตร์ร่วม เราเพียงแต่ต้องการช่วย และมีส่วนร่วมในความพยายามครั้งนี้ เราไม่มีความปรารถนาใด ๆ ที่จะทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียหน้า หรือรู้สึกว่าตัวเป็นฝ่ายแพ้ เพราะในท้ายที่สุด ชะตากรรมทั้งหมดจะตกอยู่ที่พวกเราเอง ที่สู้กันมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อสิ่งนี้แหละ”
อับดุล ราชิด ชาร์ฮีน จากสภาแห่งชาติ ผู้นำแคชเมียร์ในเขตอินเดีย ที่เพิ่งได้รับเลือกจากเขตบารามูลลา ที่เต็มไปด้วยฝ่ายขบถจัมมู&แคชเมียร์ ให้กลับเข้าไปนั่งในรัฐสภาอีกครั้ง กล่าวแสดความเห็นด้วย และกล่าวว่า “ชาวแคชเมียร์สู้รบกันเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิกำหนดชะตากรรมของตนเอง นับตั้งแต่ได้เอกราชจากอังกฤษในปี 1947”
ชาห์ฮีนเป็นรัฐมนตรีหนุ่มที่สุดในรัฐบาลของชี๊ค โมฮัมหมัด อับดุลลาห์ นักรบเพื่อเสรีภาพแคชเมียร์ ในช่วงทศวรรษที่ 1970s อับดุลลาห์เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งแค้วจัมมู&แคชเมียร์ หลังจากรวมเป็นภาคีกับอินเดียในปี 1947 และต่อมายอมรับตำแหน่งมุขมนตรีของแคว้นนี้ หลังจากบรรลุข้อตกลงกับอินเดีย ในสมัยนายก ฯ อินทิรา คานธี ที่ยืดเยื้อมาจนกลางทศวรรษที่ 1970s
เขายังไปร่วมประชุมที่ลอนดอนเมื่อเดือนที่แล้ว เขาชี้ว่าในชั่วโมงนี้ ต้องมีการเจรจาภายในของชาวแคชเมียร์ เขากล่าวว่าในปี 2002 จี เอ็ม ชาห์ ผู้นำคนหนึ่งของสภาแห่งชาติ เป็นผู้ริเริ่มโครงการแบบนี้ขึ้นในอินเดีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีปัญหาเรื่องวีซ่า
“ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ทั้งในอินเดียและปากีสถาน กลัวผู้นำแคชเมียร์จะพบกัน” อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า เขายินดีกับทุกอย่างที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อเสนของอัตติก
ชาห์ฮีนเพิ่งกลับจากการประชุมที่ลอนดอน พร้อมกับฟารูก อับดุลลาห์ หัวหน้าพรรคของเขาและอดีตมุขมนตรี เขาเห็นด้วยกับอดีตประธานาธิบดีเบนาซีร์ บุตโต ที่สนับสนุนแนวคิดที่จะแปรเอเชียใต้ ให้เป็นเขตค้าเสรี และให้ผลักดันให้เกิดสันติภาพในแคชเมียร์ แต่ก็ย้ำกับชาวแคชเมียร์ว่า พรรคประชาชนปากีสถานของนางเป็นสถาปนิกที่แท้จริงของนโยบาย ที่จะผ่อนปรนเส้นแอลโอซี ให้มีการเดินทางไปมาหาสู่กันได้ นางกล่าวว่าหากแคชเมียร์มีความรุนแรงน้อยลง ก็จะทำให้ทหารอินเดียในแคชเมียร์ลดจำนวนลง ทำให้เส้นแอลโอซีตึงเคียดน้อยลง
ชาห์ฮีนชี้ให้เห็นว่า ชาวอินเดียหลายคนเห็นด้วยกับการเจรจาภายในกลุ่มชาวแคชเมียร์ ทางฝั่งอินเดีย คณะกรรมการแคชเมียร์ (เคซี) ที่นำโดยราม เจธมาลานี อดีตรัฐมนตรีกฎหมายแรงงาน ก็ได้ริเริ่ม และส่งเสริมแนวคิดดังกล่าว ในระหว่างพบปะกับซับบีร์ ชาห์ หัวหน้าพรรคสภาฮูร์รียัตรวมพรรคและเสรีประชาธิปไตยนั้น คณะกรรมการเคซีตกลงที่จะสร้างเงื่อนไข อันจะนำไปสู่การเจรจาดังกล่าว โมฮัมหมัด ยาซิน มาลิก ผู้นำอาวุโสของฮูร์ริยัต และประธานแนวร่วมปลดปล่อยจัมมู&แคชเมียร์ (เจเคแอลเอฟ) ก็สนับสนุนแนวคิดนี้ การประชุมที่ลอนดอน ต้นเดือนนี้ ดำเนินการโดยดร ชาบีร์ โชดรี้ ประธานคณะกรรมการฝ่ายการทูต ของแนวร่วมเจเคแอลเอฟ
คณะกรรมการเคซีกำลังคิดจะเชิญคณะกรรมการฝ่ายปากีสถาน ที่นำโดยนายก ฯ ซาร์ดาร์ อับดุล ไควยูม ข่าน แห่งแคชเมียร์เสรี และขอร้องให้รัฐบาลอินเดียออกวีซ่าให้คนเหล่านี้ เจธมาลานีเห็นว่า การหารือครั้งนี้ “ควรมาจากผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน และผู้ที่ไม่ใช่ด้วย” ด้วยจุดยืน “ของความเป็นมิตร ปรารถนาจะเห็นการแก้ปัญหา และพร้อมที่จะโน้มน้าวพวกที่เห็นต่างออกไป”
เจธมาลานีและพรรคพวกของเขา ได้เข้าพบผู้อาวุโสฮูร์ริยัตหลายคน อาทิเช่น มีร์ไวซ์ อูมาร์ ฟารูก, อับดุล กานี ภัท, มูลวี อับบัส อันซานี, พีร์ ฮาฟีซูลลาห์ มักห์ดูมี, คาลิล โมฮัมหมัก คาลิล และอาลี โมฮัมหมัด ชี๊คห์ ส่วนคณะกรรมการแคชเมียร์ ฝ่ายอินเดียมีนักหนังสือพิมพ์มือเก่า และนักวิชาการ อย่างเช่น ดีลีป ปัดกาออนเกอร์, เอ็ม เจ อักบาร์, อโศก ภาน และชันติ ภูชาน เป็นต้น
การประชุมชาวแคชเมียร์ที่ลอนดอน สามารถดึงคนดัง ๆ มาร่วมประชุมจากทั้งฝั่งอินเดีย และปากีสถาน ก่อให้เกิดบรรยากาศสันติภาพ การประชุมที่ลอนดอนยังมีนางเบนาซีร์ บุตโต, ฟารูก อับดุลลาห์, และฮาซิล ไบเซนโจ หัวหน้าเขตจังหวัดชายแดนเหนือใต้ของปากีสถานไปร่วมด้วย
“เป็นครั้งแรก ที่คนอินเดีย ปากีสถาน และแคชเมียร์ ได้มานั่งปรึกษาหารือกันและเห็นตามหลักสัจธรรมว่า ความขัดแย้งในแคชเมียร์ไม่อาจแก้ได้ด้วยกำลังทหาร” ชับบีร์ โชดรี้ ผู้จัดการประชุมครั้งนี้กล่าว